Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Chai
•
ติดตาม
3 ก.ค. 2023 เวลา 10:57 • การศึกษา
เมือง "มหาสารคาม" (Maha Sarakham)
ภาพบรรยากาศเมื่อครั้งอดีตของชาวบ้าน ที่กำลังช่วยกัน "กองโค้นมัดปอ" ("ปอแก้วที่ฟอกแล้ว" ก่อนนำไปขาย) เมื่อราว ๕๙ ปีที่ผ่านมา
จังหวัดมหาสารคาม (Maha Sarakham)
พุทธศักราช ๒๕๐๗ (1964's)
"การปลูกปอ" เป็นผลมาจาก "แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ ๑" พ.ศ. ๒๕๐๔ - ๒๕๐๙ (ในยุครัฐบาล "จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์") กล่าวคือ..
เมื่อมี "แผนงานสร้างรายได้จากภาคเกษตร" จึงมีการมองหาช่องทางว่าจะ "นำพืชชนิดใด" มาให้เกษตรกรปลูก แล้วนำผลผลิตไปสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่มอย่างไร
"ปอ" จึงถือเป็นพืชเศรษฐกิจอีกอย่างหนึ่ง ที่ชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ในราวปีพุทธศักราช ๒๕๑๒ - ๒๕๑๘) นิยมปลูกกันมาก
"..ปอแก้ว.."
ปลูกแพร่กระจายทั่วไปในประเทศไทย เพื่อใช้ผลิต "กระสอบป่าน" (บรรจุธัญพืช และน้ำตาลทราย) มี ๒ ชนิด คือ
- "ชนิดที่ใช้กลีบรองดอก" เป็นอาหารที่เรียกว่า กระเจี๊ยบ
- "ชนิดที่ใช้เปลือก" ทำเส้นใยสำหรับใช้งาน
"ปอแก้ว" ถูกเลือกให้เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญตัวหนึ่งที่นิยมปลูกใน "ภาคอีสาน"
เพราะ "ปอ" เป็นพืชที่ปลูกไม่ยาก เพียงแต่หาพื้นที่ป่าละเมาะที่น้ำท่วมไม่ถึง (นาโคก) มาถางให้โล่ง เตียน ไถพรวนสักหน่อย
พอเข้าเดือนเมษายนก็นำ "เมล็ดปอ" ไปหยอดในหลุม (ที่ขุดด้วยจอบ เสียม หรือไม้ปลายแหลม) หลุมละ ๓ - ๔ เมล็ด แล้วเกลี่ยดินกลบ เหยียบให้แน่น
พอสิ้นสงกรานต์ เริ่มมีฝนโปรยลงมาบ้าง "ปอ" ก็เริ่มงอก ได้แดดดีๆ และความชื้น (จากละอองฝน) "ปอ" ก็จะงดงามได้โดยไม่ต้องพึ่งปุ๋ยใดๆ มากนัก พอถึง "ฤดูลงทำนา" ก็จะทิ้งป่าปอไว้ (ไปจัดการเรื่องปักดำนาให้เสร็จสิ้น)
พอสิ้นฝนประมาณต้นตุลาคม - พฤศจิกายน ก็ได้เวลาของการ "ตัดปอ" (ต้นปอที่แก่แล้วจะมีลำต้นขนาดสูง ๒.๕ - ๓ เมตร) เปลือกหุ้มต้นจะหนา
การตัดก็เพียงใช้มีดอีโต้คมๆ ฟันฉับเฉียงๆ ที่โคนต้น แล้วรวบรวมมามัดรวมกัน
(มัดหนึ่งๆ จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๐ - ๑๒ นิ้ว) นำมากองรวมกันไว้
(ปกติ "การตัดปอ" จะไม่นิยมการลงแขก แต่จะเป็นการจ้างแรงงานเพื่อกระจายรายได้ในหมู่บ้าน ครัวเรือนใดมีแรงคนมากก็ไม่ต้องจ้าง)
ทุกวันนี้ "การปลูกปอ" ค่อยๆ เลือนหายไป (โดยมีการปลูกน้อยลงในบางพื้นที่) เดินทางผ่านไปในหลายๆ ที่ตามถนนหนทาง ก็ไม่ค่อยจะเห็นการแช่ปอ ลอกปออีกแล้ว
("ความรู้เรื่องการปลูกปอ" สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนไทย โดยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙)
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย