หลังจากนั้น จึงกลับมาปรึกษากับผู้บังคับบัญชาว่าเราควรจะรอให้คนอื่นผลิตขึ้นมาหรือเราจะลองคิดค้นและลงมือทำกันเองสักตั้ง จนเป็นจุดเริ่มต้นก่อตั้ง ARV ในปี 2018 และเริ่มหาพันธมิตรจากภาคการศึกษาอย่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มีความสนใจและเนื่องจาก ปตท.สผ. ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญในการบริการเชิงพาณิชย์ทางด้านนี้ จึงเกิดเป็นการร่วมมือเป็นพันธมิตรกันทางด้าน Service Company
ปัจจุบันอุตสาหกรรม Health Care เช่น กลุ่มโรงพยาบาล หรือ Food Tech เริ่มหาแหล่งเงินทุนเพิ่ม เพราะ Startup ทำเองไม่ได้ โดยเฉพาะสายหุ่นยนต์ ต้องหาคนที่มี Passion ร่วมกันได้ จำเป็นต้องมี Sand Box และ Corporate เข้ามาช่วยด้วย ดังนั้น Partnership ค่อนข้างมีส่วนสำคัญในการสร้าง Business Model ให้เกิดธุรกิจร่วมกัน
เทคโนโลยีของ ARV เน้นเรื่อง AI และ หุ่นยนต์ ที่จะนิยามแต่ละธุรกิจว่าเป็น Startup ภายใต้ ARV และเน้นเติบโตอย่างรวดเร็วโดยมี ARV ที่สนับสนุนในฐานะ Deep Tech Center โดยมีทั้งหมด 6 ธุรกิจ ได้แก่
6. Bedrock ธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นเพื่อตอบโจทย์เรื่อง Smart City ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ทุกหน่วยงานและทุกประเทศต้องทำ
จะเห็นได้ว่า AI เป็นสิ่งที่พูดถึงกันมานาน เป็นเรื่องที่ใกล้หรือไกลตัวนั้นขึ้นอยู่กับการนำไปใช้มากกว่า ซึ่งถือเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่สำหรับการนำเอาเทคโนโลยีหุ่นยนต์เข้ามาแก้ปัญหาได้ในหลายอุตสาหกรรมอย่าง ARV ที่ทำให้สามารถทำงาน Cross Industry ได้ เพราะ Startup ไทย มีความท้าทายไม่ว่าจะเป็นการเริ่มทำ Case Study ใดก็ต้องเริ่มจาก Pain point ก่อน ยิ่งถ้ามีผู้ประกอบการที่อยู่ในองค์กรและมี Mindset ที่ต้องการ Spin-Off ก็จะยิ่งเห็นโอกาสที่เข้ามาเยอะมาก