Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ประเทศไทยวันนี้
•
ติดตาม
4 ก.ค. 2023 เวลา 14:57 • ข่าวรอบโลก
ประเทศไทย
ย้อนรอยที่มาของ พลายศักดิ์สุรินทร์ กับ 22 ปีผ่านจากช้างทูตสันถวไมตรี
สู่การกลับบ้านเกิดเพื่อรักษาตัว
ช้างเป็นสัตว์ใหญ่ที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองประเทศไทยของเรามาแต่ช้านาน ไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัย ช้างเป็นสัตว์ที่ฉลาดแสนรู้และทำได้เกือบจะทุกอย่างไม่ว่าจะถูกฝึกสอนให้ทำทางด้านไหน ทั้งลากจูงแบกสิ่งของที่มีน้ำหนักและจำนวนมากให้กับชาวบ้านสมัยก่อน และที่สำคัญช้างได้ออกรบหรือที่เรียกว่าทํายุทธหัตถีกับพระมหากษัตริย์ไทยของเราหลายๆ พระองค์มาตั้งแต่สมัยโบราณกาล โดยช้างนั้นมีความสำคัญหลายๆ ด้านอย่างมากมายในประเทศไทยอย่างที่เรารู้ๆกัน
แต่สำหรับข่าวที่กำลังดังอยู่ขณะนี้เกี่ยวกับ พลายศักดิ์สุรินทร์ ช้างเพศผู้ที่ทางด้านประเทศไทยโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ทำเรื่องไปรับกลับคืนมาดูแลภายหลังจากถูกส่งไปเป็นทูตสันถวไมตรีที่ประเทศ ศรีลังกานานกว่า 22 ปี แล้ว สำหรับกรณีนี้ขอย้อนเล่าประวัติความเป็นไปมาอย่างไรพ่อช้างพลายศักดิ์สุรินทร์ ถึงได้ไปอยู่ที่ประเทศศรีลังกา โดยย้อนอดีตไปเมื่อปี พ.ศ. 2544 ประเทศศรีลังกา ได้ขอลูกช้างจากไทย
เพื่อหวังนำไปฝึกใช้ในการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในงานแห่พระธาตุเขี้ยวแก้ว ซึ่งเป็นงานใหญ่ประจำปีของศรีลังกา มีจัดอย่างต่อเนื่องกว่า 270 ปี ทางด้านรัฐบาลไทยจึงส่งลูกช้าง 2 เชือกไปเป็นทูตสันถวไมตรี ได้แก่ พลายศรีณรงค์ และพลายศักดิ์สุรินทร์ ทั้งที่ก่อนหน้านั้นปี 2523 ประเทศไทยได้ส่งช้างเชือกแรกไปเป็นทูตสันถวไมตรีให้ศรีลังกา คือ “พลายประตูผา” ปัจจุบันอายุ 49 ปี
แต่สำหรับพลายศักดิ์สุรินทร์นั้น เป็นช้างเลี้ยงที่มีคชลักษณ์โดดเด่นตรงตามความต้องการของศรีลังกาที่ต้องการช้าง ที่มีงาที่โค้งยาว หรือเรียกว่างาอุ้มบาตร เพื่อใช้ในงานแห่พระธาตุเขี้ยวแก้ว พลายศักดิ์สุรินทร์ มีงายาว ทั้งสองข้าง ถือเป็นช้างที่มีงายาวที่สุดในศรีลังกา ถือเป็นช้างที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งหลังจากเดินทางไปศรีลังกาได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “มธุราชา” (Muthu Raja) ปัจจุบันมีอายุประมาณ 30 ปี
แต่สภาพร่างกายทรุดโทรมกว่าวัยเพราะด้วยการเลี้ยงดูที่อาจจะไม่ได้ดีมากนักและถูกลามโซ่ตลอดเวลา ทำให้ขาของช้างมีการบาดเจ็บอย่างมาก รวมถึงอาหารการกินที่ไม่ได้ถูกต้องตามความต้องการของช้าง เพราะถูกเลี้ยงอยู่ในสวนมะพร้าว ซึ่งหลังจากถูกส่งไปอยู่ศรีลังกา รัฐบาลศรีลังกาได้โอนกรรมสิทธิ์ช้างเชือกนี้ให้กับ “วัดคันเดวิหาร” (Kande Vihara)
เป็นผู้รับช่วงดูแลต่อ เพื่อให้ทำหน้าที่ในขบวนอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุในงานแห่พระธาตุประจำปีของศรีลังกา ซึ่งมีเฉลี่ย 30 ครั้งต่อปี ซึ่งถือว่าเป็นการออกงานที่หนักมาก สำหรับช้างที่มีอายุมากขนาดนี้ และยังมีความบาดเจ็บที่เท้าทั้ง สี่ข้างอีกด้วย
ซึ่งต่อมาเรื่องราวของ พลายศักดิ์สุรินทร์ ได้หายเงียบไปจนกระทั่งเมื่อ ปี 2565 ทางด้านองค์กร “Rally for Animal Rights & Environment” (RARE) ซึ่งเป็นองค์การด้านการพิทักษ์สิทธิสัตว์ในศรีลังกา ร้องเรียนเกี่ยวกับการใช้แรงงานพลายศักดิ์สุรินทร์ที่ค่อนข้างหนัก ถูกล่ามโซ่ มีสภาพผอมโซ มีบาดแผลฝีที่สะโพก และขาบาดเจ็บ ควรได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเร่งด่วนทางประเทศไทยถึงได้ทราบเรื่องและไม่ได้นิ่งนอนใจแต่อย่างไรพลายศักดิ์สุรินทร์ เรื่องเป็นที่รับรู้ไปถึงกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.)
โดยมีทางด้านนายวราวุธ ศิลปอาชา เป็นผู้ดำเนินการในเรื่องนี้ และมอบหมายให้ ทางด้านคุณกัญจนาศิลปอาชา พร้อมเจ้าหน้าทีบางส่วนได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมความเป็นอยู่ของ พลายศักดิ์สุรินทร์ และมีการส่งทีมสัตวแพทย์ไปตรวจสอบสุขภาพของพลายศักดิ์สุรินทร์ ผลจากการตรวจสอบพบว่า พลายศักดิ์สุรินทร์ มีปัญหาด้านสุขภาพจริง ควรให้ช้างหยุดการทำงานและส่งตัวกลับมารักษาอาการป่วยที่ประเทศไทย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมาแล้วนั้นและเมื่อมาถึงจะต้องถูกส่งตัวไปดูอาการบาดเจ็บอย่างเร่งด่วนที่สถาบันคชบาลแห่งชาติ ที่จังหวัดลำปางก่อน 30 วัน เพื่อกักตรวจโรคและ เพื่อให้ช้างได้ทำความคุ้นชินกับสภาพพื้นที่ดินฟ้าอากาศและอาหารการกินรวมถึงคนดูแลเลี้ยงช้างรวมถึงช้างเชือกอื่นๆ เพื่ออนาคตที่วันข้างหน้า อาจจะมีการเปิดให้ประชาชนคนไทยทั้วไปได้เข้าไปเยี่ยมชมความงดงามให้หายคิดถึงช้างพลายศักดิ์สุรินทร์กันอีกครั้งก็เป็นได้
เพราะขนาดแค่ประชาชนคนไทยได้แค่ทราบข่าวว่าจะมีการนำช้างพลายศักดิ์สุรินทร์กลับคืนประเทศไทย ต่างก็มีความซาบซึ่งและเฝ้ารอเฝ้าคอยติดตามภารกิจนี้ตั้งแต่วันแรก จนวันที่ ช้างพลายศักดิ์สุรินทร์ เหยียบแผ่นดินประเทศไทยกันอย่างล้นหลามมากมายเลยที่เดียว สร้างความปลาบปลื่มใจยิ่งนัก
ข่าวรอบโลก
ข่าว
สิ่งแวดล้อม
บันทึก
4
1
4
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย