5 ก.ค. 2023 เวลา 23:00 • สุขภาพ

เตือน!เสริมแคลเซียมเสี่ยงสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น เพราะอะไร เช็คที่นี่

เตือน!เสริมแคลเซียมเสี่ยงสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น เพราะอะไร เช็คที่นี่ หมอธีระวัฒน์เผยประกาศของสหรัฐอเมริกาผ่านทางวิทยาลัยอายุรแพทย์ กุมภาพันธ์ 2013 ไม่สนับสนุนให้เสริมแคลเซียม ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีวิตามินดี
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโพสเฟซบุก๊ส่วนตัว (ธีระวัฒน์เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha)โดยมีข้อความเกี่ยวกับแคมเซียม และอาการสมองเสื่อม ว่า
เสริมแคลเซียม สมองเสื่อมเพิ่มขึ้น (ถ้ามีเส้นเลือดผิดปกติในสมอง ทั้งที่มีหริอไม่มีอาการอยู่แล้ว)
หมอธีระวัฒน์ บอกว่า เมื่อฮอร์โมนเพศหญิงเริ่มลดลง กระดูกจะเริ่มพรุนบางขึ้น ประกาศของสหรัฐอเมริกาผ่านทางวิทยาลัยอายุรแพทย์ กุมภาพันธ์ 2013 (US Preventive Service Task Force : วารสาร Annals of Internal Medicine) ไม่สนับสนุนให้เสริมแคลเซียม ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีวิตามินดีด้วยก็ตาม
เนื่องจากเมื่อทำการติดตามสตรีวัยทองจำนวน 36,282 ราย อายุระหว่าง 50 ถึง 79 ปี อัตราหักไม่ว่าจะเป็นกระดูกสะโพกหรือกระดูกส่วนอื่นๆก็ตาม
ไม่ต่างกันระหว่างกลุ่มที่ได้หรือไม่ได้รับแคลเซียม-วิตามินดี คนที่อาจสมควรได้เสริมจะเริ่มตั้งแต่สตรีอายุ 65 ปีขึ้นไป โดยที่ควรมีความเสี่ยงของการหกล้มลุกคลุกคลานมาก
การได้รับแคลเซียม-วิตามินดี จะมีความเสี่ยงของการเกิดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะในอัตรา 1 ต่อ 273 ราย เมื่อเสริมต่อเนื่องไปนาน 7 ปี
3
สำหรับการตรวจความหนาแน่นของกระดูกซึ่งทำกันเป็นประจำ ในรายงานเดียวกันระบุให้ทำในสตรีตั้งแต่อายุ 65 และในผู้ชายอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป ไม่จำเป็นต้องทำในอายุน้อยกว่านั้น ยกเว้นแต่ว่าเคยมีกระดูกหักง่าย แม้ถูกกระแทกเบาะๆ เช่น โรคข้อรูมาตอยด์ หรือมีบิดามารดาที่มีกระดูกสะโพกหัก ดื่มจัด สูบหนัก หรือใช้ยาสเตียรอยด์ ทั้งนี้ไม่เกี่ยวกับกาแฟนะครับที่เชื่อกันนักกันหนาว่าทำให้กระดูกพรุน
หมอธีระวัฒน์ ระบุอีกว่า คนที่กระดูกบางเล็กน้อยแล้วเริ่มโหมกระหน่ำแคลเซียม วิตามินดี จากที่หมอให้ หรือซื้ออาหารเสริมกินเติมกระหน่ำเพิ่มอีกด้วย มีโอกาสเกิดแคลเซียมสูงในเลือด และอาจมีผลต่อหัวใจเต้นผิดปกติ
รายงานที่สำคัญล่าสุด 2 ชิ้น ในวารสารสมาคมแพทย์ของอังกฤษ (British Medical Journal 2015) ไม่พบหลักฐานว่าการเสริมแคลเซียมเพิ่มเติมจากที่ควร ซึ่งอยู่ในปริมาณ 700-800 มก./วัน ไม่ว่าจากในอาหารหรือการกินเป็นยา อาหารเสริมทั้งร่วมหรือไม่ร่วมกับวิตามินดี ทำให้กระดูกหนาขึ้นหรือป้องกันกระดูกหัก
2
รายงานแรกวิเคราะห์ทั้งผู้ชายและผู้หญิงตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไปจำนวน 1,533 คนที่ได้แคลเซียมเพิ่มเติมจากอาหาร (จากการศึกษา 15 ชิ้น) และจำนวน 12,257 คนที่ได้รับเพิ่มจากยาหรืออาหารเสริม (จากการศึกษา 51 ชิ้น) การวัดความหนาแน่นของกระดูกที่สะโพกและทั้งตัว 1 ปีหลังได้แคลเซียมจากอาหารมีการเพิ่มขึ้น 0.6-1%
และเมื่อผ่านไป 2 ปี เพิ่มขึ้นจากเริ่มแรก 0.7-1.8% ที่สะโพก และทั้งตัว ที่กระดูกสันหลังระดับเอวและกระดูกโคนขาส่วนคอ แต่ไม่มีผลที่กระดูกแขน
กรณีที่ได้แคลเซียมเป็นยา หรืออาหารเสริม อัตราการเพิ่มความหนาแน่นยังอยู่ที่ 0.7–1.8% ไม่ว่าจะวัดทีตำแหน่งใดก็ตาม หลังจากใช้ไป 1 ปี หรือมากกว่า 2 ปีครึ่งก็ตาม โดยสรุปความหนาแน่นไม่เพิ่มขึ้น หรือเพิ่มน้อยมาก และไม่ขึ้นกับระยะเวลาที่กิน
2
นอกจากนั้นผลที่ได้ไม่ต่างกัน ไม่ว่าจะกินอาหารที่มีแคลเซียมเพิ่มในระดับสูงมาก หรือระดับต่ำลงมาบ้าง ผลที่ได้ก็ยังไม่ต่างกัน เมื่อกินแคลเซียมที่เป็นในรูปของยาในขนาดต่ำ หรือสูงมีหรือไม่มีวิตามินดีก็ตาม
รายงานถัดมาประเมินว่าแคลเซียมที่ได้เพิ่มขึ้นจากอาหาร นม หรือเป็นยาทั้งที่มีหรือไม่มีวิตามินดีจะมีผลต่อการหักของกระดูกหรือไม่ พบว่าไม่สามารถป้องกันกระดูกหักได้ในกลุ่มที่ศึกษา คือในคนอายุมากกว่า 50 ปี จำนวน 44,505 ราย
รายงานใหญ่ทั้ง 2 ชิ้นที่ได้นี้ ผลตรงกันกับที่ทางสหรัฐฯรายงานมาก่อน ทั้งนี้การได้แคลเซียมจากอาหารตามปกติ ตามธรรมชาติ ในขนาดวันละ 700-800 มิลลิกรัม ที่เป็นมาตรฐานในประเทศอังกฤษและในประเทศนอร์ดิก (เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน) น่าจะเพียงพอโดยไม่ต้องเพิ่มปริมาณไปจนถึง 1200 มก.
1
และยังต้องเสริมด้วยวิตามินดีอีกในขนาด 800-1000 หน่วยในผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปี ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่แคลเซียมปริมาณมากกว่า 800 มก. นี้ จะได้จากอาหารอย่างเดียว
ล่าสุด งานเข้า ถึงขั้น ซวยมาก แคลเซียมเสริม ที่ไม่ใช่ธรรมชาติ โดยจะพยายามให้ได้ถึงวันละ 900-1,200 มก. ต่อวัน ตอนนี้ กลับเพิ่มภาวะสมองเสื่อม ในสตรีเริ่มมีอายุ ที่เคยมีอัมพฤกษ์ หรือมีรอยผิดปกติอยู่แล้วในสมองสีขาว ใต้เปลือกสมอง กลไกไม่ทราบชัด ทั้งนี้ได้จากธรรมชาติ รอดไป
หมอธีระวัฒน์ บอกอีกว่า รายงานในวารสาร ประสาทวิทยา neurology ของอเมริกา 2016 เป็นการศึกษาจากสวีเดน โดยตามติดสตรีที่ไม่มีอาการใดๆ ส่อให้เห็นถึงภาวะสมองเสื่อม เป็นเวลา 5 ปี จำนวน 700 ราย อายุระหว่าง 70-92 ปี
การตรวจมีวิธีการประเมินพุทธิปัญญา (cognitive test) หลายอย่าง ซึ่งแน่นอนมีเกี่ยวกับระบบความจำ และความเชี่ยวชาญในกระบวนการคิด มีการทำคอมพิวเตอร์สมองจำนวน 447 ราย
1
เมื่อจบการศึกษา สรุปรวม มีผู้ใช้แคลเซี่ยมเสริมแต่ต้น 98 ราย และ 54 ราย มีโรคอัมพฤกษ์ ที่เกี่ยวกับเส้นเลือดในสมองตีบอยู่แล้ว
และในช่วงเวลา 5 ปีต่อมา มีอัมพฤกษ์เพิ่มอีก 54 ราย และ อีก 59 รายเกิดอาการสมองเสื่อม ในรายที่มีการทำคอมพิวเตอร์สมอง มี 71% ที่พบความผิดปกติในสมองส่วนสีขาว ที่อยู่ใต้ผิวสมองทางด้านนอก และเป็นหลักฐานของการที่มีโรคเส้นเลือดในสมอง
สตรีที่ได้แคลเซี่ยมเสริม จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น 2 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้เสริม (14/98 หรือ 14% เทียบกับ 45/602 หรือ 8%)
เมื่อวิเคราะห์เจาะลึกลงละเอียด พบว่า การที่มีโรคประจำอัมพฤกษ์อยู่แล้ว และได้แคลเซี่ยมเพิ่มจะเพิ่มความเสี่ยงสมองเสื่อมสูงกว่ากลุ่มที่มีอัมพฤกษ์อยู่แล้วแต่ไม่มีเสริม ถึง 7 เท่า (6/15 เทียบกับ 12/93) และสตรีที่มีความผิดปกติในสมองสีขาวจากในคอมพิวเตอร์สมอง ถ้า เสริมแคลเซี่ยม จะเสี่ยงสูงกว่ากลุ่มที่มีความผิดปกติแบบเดียวกันแต่ไม่เสริม 3 เท่า
อย่างไรก็ดี สตรีที่ปลอดจากอัมพฤกษ์ และไม่มีคอมพิวเตอร์สมองผิดปกติดังกล่าว การเสริมแคลเซี่ยมจะไม่มีความเสี่ยงเพิ่มของสมองเสื่อม เทียบกับกลุ่มไม่เสริม (18/83 เทียบกับ 33/509)
ถึงแม้จำนวนของผู้ที่อยู่ในการศึกษาจะน้อย แต่วิธีการรัดกุม รวมทั้งผลควรนำมาซึ่งการตระหนักชองการเสริมแคลเซี่ยม ซึ่งไม่ได้จากอาหารตามธรรมชาติ อาจเกิดผลร้าย โดยเฉพาะผู้ที่มีหรือมีแนวโน้มว่ามีความผิดปกติของเส้นเลือดสมองอยู่แล้ว
โฆษณา