Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เปิดหนังสือ เปิดโลกทัศน์ (Open book open mind)
•
ติดตาม
5 ก.ค. 2023 เวลา 03:49 • ครอบครัว & เด็ก
“สำรวจใจเรา เข้าถึงใจลูก” โดย Lee Chung Chien
นักเขียนชั้นนำของไต้หวัน แนะนำวิธีการประยุกต์ทฤษฎีภูเขาน้ำแข็งของซาเทียร์ มาใช้ในชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่างสนทนาที่ผู้เขียน พูดคุยกับเด็ก และ ผปค โดยใช้การซักถามตามโมเดลภูเขาน้ำแข็งมีคำอธิบายทิศทางการถามชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางฝึกฝนให้แก่ผู้สนใจได้ บางตอนคำตอบที่ได้รับกลับมา สะเทือนใจจนแอดมินน้ำตาไหลเลยค่ะ 🥲 โดนใจมากค่ะ
ภูเขาน้ำแข็ง ของเวอร์จินียร์ ซาเทียร์ นักจิตวิทยาครอบครัว เป็นวิธีการสื่อสารรูปแบบนึง ใช้ได้ทั้งกับตนเองและผู้อื่น เป็นการสื่อสารเพื่อสำรวจตนเอง ให้เข้าใจตนเอง และเพื่อเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น ซาเทียร์เคยกล่าวว่า
“ตัวปัญหานั้นไม่ใช่ปัญหาแต่วิธีเผชิญปัญหาต่างหากที่เป็นปัญหา”
เปรียบเทียบคนเรากับภูเขาน้ำแข็ง ส่วนที่เห็นภายนอกเป็นเพียงยอดเขาเล็กๆ 1 ใน 7 ส่วน ตัวตนที่แท้จริงอีก 6 ส่วนและยิ่งใหญ่ซ่อนอยู่ใต้น้ำ ต้องใช้วิธีสำรวจที่ถูกต้องมาใช้เพื่อความเข้าใจตัวตนโดยมีแก่นแท้ที่การให้เกียรติและเชื่อในการเติบโตของทุกชีวิต
โครงสร้างชั้นต่างๆ ของภูเขาน้ำแข็ง
1. พฤติกรรม รายละเอียดเหตุการณ์ ชั้นบนสุดของภูเขาน้ำแข็ง
2. ท่าทีในการรับมือ ผ่านถ้อยคำ น้ำเสียงและท่าทาง ที่ไม่แสดงตัวตนออกมา แบ่งได้ 4 แบบ คือ
2.1 กล่าวโทษ🤬
✔️เอาตัวรอดและปกป้องตนเอง จะใส่ใจตนเอง ใส่ใจสถานการณ์ แต่มองข้ามคนอื่น
✔️สื่อสารด้วยการ ปฏิเสธและออกคำสั่ง โดยไม่แสดงตัวตนออกมา
2.2 เอาใจ
✔️มองข้ามตนเอง ใส่ใจสถานการณ์แวดล้อม ใส่ใจคนอื่น
✔️เพื่อให้ได้รับความรัก สื่อสารด้วยการเออออ ชอบใช้คำว่า ดีสิ ได้สิ ไม่แสดงความต้องการของตนเอง เพราะกลัวไม่ได้รับความรัก ความสำคัญ
2.3 เจ้าเหตุผล🤷♀️
✔️มองข้ามตนเอง มองข้ามคนอื่น ใส่ใจสถานการณ์
✔️เพื่อให้คนอื่นยอมรับ สื่อสารด้วยการโต้แย้ง ให้เหตุผลว่าตนเองเป็นฝ่ายถูก แต่ไม่ได้แสดงตัวตนออกมา
2.4 เบี่ยงประเด็น
✔️มองข้ามตัวเอง มองข้ามสถานการณ์ ใส่ใจคนอื่น
✔️เพื่อรับมือแรงกดดันไม่แสดงตัวตนออกมาแต่จะสื่อสารด้วยวิธีไม่สื่อสาร
👉🏻ท่าทีรับมือแบบเอกภาพ ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีสุดตามทฤษฎีของซาเทียร์ คือ
✔️ภาวะจิตใจสงบมั่นคง ภายนอกจดจ่อแต่ผ่อนคลาย
✔️ใส่ใจตัวเอง ใส่ใจสถานการณ์ ใส่ใจคนอื่น
✔️ขณะสื่อสาร รู้ว่าต้องแสดงตัวตนอย่างไร
3. ความรู้สึก ทางกาย ทางใจ
บางครั้งคำสอน หรือเสียงของพ่อแม่ที่ก้องในใจตั้งแต่เด็ก ได้แทนที่ "ความรู้สึก" จนไม่รู้ หรือไม่ยอมรับความรู้สึกนั้น
ทางใจ - เมื่อถูกสั่งสอนตั้งแต่เล็กว่าโกรธไม่ได้ ทำให้เค้าไม่รู้ตัว หรือรับไม่ได้ที่เค้ากำลังโกรธ เวลาโมโห ก็จะบอกว่าไม่ได้โมโห
ทางกาย - เมื่อหกล้ม เด็กเจ็บ ถ้าพ่อแม่ปฏิเสธความ "เจ็บปวด"ของลูกเห็นว่า ลูกไม่ควรจะเจ็บปวด พูดในทำนองว่า "แผลแค่นี้" หรือ "ไม่รู้จักอดทน" เมื่อโตขึ้นเด็กบางคนไม่รู้ว่าจะแสดงความเจ็บปวด ออกมาอย่างไร ความจริงตนเองเจ็บแต่กลับบอกว่า "ไม่เจ็บ"
4. ความรู้สึกที่มีต่อความรู้สึก
คือ "การตัดสินคุณค่า" ความรู้สึกทางกาย ใจ ที่เกิดขึ้นกับตนเอง ถ้าเราสังเกตเห็นความรู้สึกในชั้นนี้ จะเห็นวิธีที่เราปฏิบัติกับตนเองมาเป็นเวลานาน เช่น หลังจากโมโห ก็รู้สึกผิด รู้สึกเศร้าตามมา
5. ทัศนคติ ความคิดเห็น ความเชื่อ กฏเกณฑ์ภายในครอบครัว
กฏเกณฑ์ที่ครอบครัวกำหนดไว้ตั้งแต่ยังเล็ก เมื่อโตขึ้นก็มักจะยังทำตามอยู่ หรือไม่ก็ฝ่าฝืนเพราะจงใจขัดพ่อแม่ หรือความสำเร็จล้มเหลวในอดีต ก็มักนำมาสรุปผลจนกลายเป็นทัศนคติตายตัวของแต่ละคน เช่น ไม่ชอบคนหน้าตาแบบนี้ สีผิวแบบนี้ เป็นต้น ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อตัวเราไม่น้อย อาจทำให้ใจเราไม่สงบ หรืออาจจำกัดโอากาสเราก็ได้
📍เมื่อสำรวจทัศนคติแล้ว เราก็จะตัดสินใจเลือกยืดถือทัศนคติที่เหมาะแก่ตัวเราได้ เราจะมีความคิดต่างไปจากเดิม ส่งผลให้มีอิสระและมีทางเลือกใหม่เพิ่มขึ้น
6. ความคาดหวัง
✔️ความคาดหวังต่อตนเอง หรือผู้อื่น เช่น อนาคตที่ใฝ่ฝันไว้ อยากเป็นลูกที่ดี เป็นต้น
✔️เราอาจเผชิญกับความคาดหวังจากผู้อื่น
✔️เมื่อต้องพบเจอกับความคาดหวังที่ไม่เป็นไปตามที่หวังย่อมเกิดความผิดหวัง เศร้าเสียใจ โกรธ หมดหนทาง
✔️ความคาดหวัง ที่ยังไม่สำเร็จอาจจะซ่อนอยู่ในใจส่งผลกระทบต่อเราโดยไม่รู้ตัว ซึ่งรู้สึกว่ามันค้างคารบกวนจิตใจ บิดเบือนและส่งผลกระทบต่อความคิด ความรู้สึก หรือแม้กระทั่งความปราถนาต่อสิ่งต่างๆ ของเราได้ ทำให้เรารู้สึกเจ็บปวด แต่เรามักไม่สังเกตเห็น หรือไม่ก็เลี่ยงไม่เผชิญหน้า
👉🏻ถ้าความคาดหวังไหนไม่สมเหตุสมผล หรือเกินจริง เราจะตัดสินใจเลือกใหม่ได้ไหม
7. ความปราถนา
✔️ คนเราปราถนา ความรัก ความยอมรับ ความมีคุณค่า มีความหมาย มีอิสระ ซึ่งเป็นปัจจัยหล่อเลี้ยงชีวิต คำพูดของพ่อแม่บางครั้ง ทำให้ลูก รู้สึกว่า ชีวิตเค้าไม่มีความหมาย ไม่ได้รับความรัก ความไว้วางใจ เมื่อลูกทำตามความคาดหวังของพ่อแม่ไม่ได้ พ่อแม่ก็มักแสดงท่าทีที่ซ่อนอยู่ในใจออกมา เช่น ฉันเป็นพ่อแม่ไม่เอาไหน ไม่ได้เรื่อง
✔️เมื่อพ่อแม่ เชื่อมโยงความปราถนาของตนไม่ได้ คำพูดที่พูดกับลูก ก็ไม่อาจเชื่อมโยงความปราถนาของลูกเช่นกัน
✔️ คนที่มองข้ามความปราถนาของตนเองบ่อยๆ นานวันเข้าก็จะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า ไม่มีอิสระ ไม่มีความหมาย ไม่ได้รับการยอมรับจากตัวเองและคนอื่น
👉🏻ถ้าเราสัมผัสความปราถนาได้ ก็จะสัมผัสพลังชีวิตได้ ทั้งยังเชื่อมโยงและเข้าใจตนเองอย่างลึกซึ้ง
8. ตัวตน ส่วนที่อยู่ชั้นใต้สุดของภูเขาน้ำแข็ง
✔️ เรียกอีกอย่างว่า พลังชีวิต , จิตวิญญาณ หรือ ความสามารถในการรับรู้
✔️ เราจะรู้สึกว่าเราเป็นคนสมบูรณ์ได้จากรากฐานส่วนนี้
✍️แนวทาง 3 อย่างก่อนเริ่มสำรวจภูเขาน้ำแข็ง
1. ไม่แก้ปัญหาแต่ให้ความสนใจ สำรวจไปที่ตัวบุคคล ไม่ตัดสิน “ถูกผิด”
2. ย้อนเวลากลับไปเพื่อสำรวจสาเหตุของปัญหา อย่างรอบด้าน ไม่มองเหตุการณ์เพียงผิวเผิน
3. ถามรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ในเหตุการณ์ ผลกระทบที่มีต่อตัวบุคคล
💕“การหยุดนิ่งเป็นพลังงานแฝงเร้นอย่างหนึ่งช่วยให้ทั้ง2 ฝ่าย ตระหนักรู้ และช่วยให้สัมผัสของเราลึกซึ้งยิ่งขึ้น” สำหรับเด็ก จังหวะเค้าหยุดนิ่งซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของกระบวนการรับรู้ เมื่อเด็กเข้าใจปัญหา แล้วตระหนักได้ด้วยตนเองว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร
เด็กเกิดมาพร้อมกับความ กระหายใคร่รู้ การเติบโตทำให้การสงสัยใคร่รู้ลดลง อาจเพราะ เวลาเด็กถาม ผู้ใหญ่มักตอบตรงๆ หรือให้เด็กเชื่อฟังทำให้ความสงสัยค่อยๆลดลง มองปัญหาต่างๆเป็นรูปแบบตายตัว และคิดแก้โดยไม่สงสัยว่าสาเหตุเกิดจากอะไร
👉🏻แก้ไขด้วยการฝึกให้พ่อแม่มี ความสงสัย ใคร่รู้
แนวทาง Dr. แบนเมน ซึ่งเป็นผู้กำหนดโครงสร้างภูเขาน้ำแข็งโดยใช้เค้าโครงพื้นฐานของ เวอร์จิเนีย ซาเทียร์
🧐ความสงสัยใคร่รู้ที่มีต่อปัญหาเบื้องหลังเหตุการณ์ ทำให้เรามองเห็นตัวตนของคน คนหนึ่งได้ชัดเจนขึ้น ถ้าคนคนหนึ่งไม่ได้ตั้งใจก่อเรื่อง แต่ยังลงมือทำลงไป แสดงว่าเค้าต้องลำบากใจบางอย่างอยู่
เน้นซักถามความรู้สึก ด้วยท่าทีที่นิ่งสงบและเป็นมิตร มุ่งประเด็นไปที่ความเสียใจของเด็ก วิเคราะห์หาสาเหตุความเสียใจในระดับต่างๆ เช่น เสียใจที่ไม่มีสมาธิทำการบ้าน เสียใจที่ไม่ได้เล่น จากนั้นจึงสรุปไปว่า เด็กจะรับผิดชอบต่อตัวเองอย่างไร
ถามตามแนวแกนภูเขาน้ำแข็ง เช่น ไล่ถามจากเหตุการณ์ไปยังความรู้สึก ➡️ ทัศนคติ ➡️ ความคาดหวัง ความปรารถนา เพื่อให้สังเกตเห็นตัวตน และสภาพที่แท้จริงของตัวเอง เกิดการยอมรับตัวตน และปลดปล่อยตัวเองจากกรอบความคิดเดิมๆ ตัดสินใจเลือกครั้งใหม่เพื่อตัวเอง สังเกตเห็นและรับผิดชอบต่อตนเอง
💕เมื่อรอเรารู้สึกว่าปลอดภัย และรู้สึกว่าได้รับความรัก สมองก็จะถูกกระตุ้นให้ชอบสำรวจ ชอบทดลองและให้ความร่วมมือ แต่ถ้าเรารู้สึกหวาดกลัวและไม่ได้รับความสำคัญสมองก็จะถูกกระตุ้นให้มุ่งจัดการกับความหวาดกลัว และความรู้สึกทอดทิ้ง
เป็นหนังสืออีกเล่มที่แนะนำให้ลองอ่านกันดูนะคะ ดีมากๆ 👍👍
คะแนน 10\10 ไปเลย
จิตวิทยา
พัฒนาตัวเอง
แนวคิด
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย