5 ก.ค. 2023 เวลา 13:55

Ep.6 Part.1 : “แปดสิ่งที่คนเก่งมากๆ มีร่วมกัน”

สำหรับผมแล้วหนังสือเล่มนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่การที่จะทำให้คนธรรมดาเป็นคนเก่งต้องอ่านเท่านั้น แต่สำหรับคนที่อยากพัฒนาตนเองควรอ่าน เพราะเป็นแง่มุมจากผู้มีประสบการณ์รวมถึงเป็นคนไทยด้วยซึ่งมีแง่มุมในแบบของคนไทยโดยเฉพาะ จึงยิ่งมีความน่าสนใจมากครับ แถมอ่านสนุก อ่านง่าย ได้แง่คิดดีๆ
ทั้งในส่วนของผู้ประกอบการ พนักงานกินเงินเดือน รวมถึงคนที่ทำงานอิสระ (ฟรีแลนซ์) ทั้งที่มีประสบการณ์มากและน้อยก็มีประโยชน์อย่างย่ิงครับ ผมขอเลือกจากหัวข้อที่ชอบเป็นการส่วนตัว รวมถึงบางหัวข้อที่มีประโยชน์โดยรวมสำหรับทั้งสามส่วนมาเล่าสู่กันฟังครับ
สำหรับบทแรกแนะนำอย่างยิ่งครับ เป็นบทสรุปรวมถึงความสามารถของคนเก่งๆ ที่มีกันจากที่ผู้เขียนได้รวมรวบรวมมาครับ เรียกว่าต้องเก่งทั้งในเรื่องความสามารถ และการบริหารจัดการเรื่องคน สำหรับคนเก่งๆ จะมีมุ่งมั่นปรารถนาที่จะทำให้สำเร็จมากกว่าคนทั่วไป มีพลังในการการทำให้งานนั้นสำเร็จ รวมถึงมีความพยายามอย่างบ้าคลั่งไม่ยอมแพ้ จนกว่างานนั้นจะสำเร็จครับ และมีความเข้าใจในสิ่งที่ตนเองต้องทำ และรู้ว่าตนเองต้องการหรือไม่ต้องการอะไร
นอกจากแล้วความเข้าใจเรื่องคนก็มีส่วนสำคัญยิ่งทั้งการฟังให้เข้าใจ และเข้าใจถึงสิ่งที่ต้องการสื่อ แม้ว่าจะไม่ได้พูดออกมาก็มา และอีกความความสามารถที่ผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการต้องมี ที่สำคัญสำหรับโลกยุคปัจจุบันคือ การมองเห็นภาพในอนาคต รวมถึงเห็นอดีตจากภาพปัจจุบันด้วย ซึ่งทำให้องค์กรสามารถมีความสามารถในการแข่งขันในโลกปัจจุบัน และยังสามารถปรับตัวเข้าการความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้
ในโลกยุคปัจจุบันหรือในยุคดิจิทัล การหารายได้นั้นแตกต่างไปจากยุคก่อนหน้าอย่างมากและหารายได้ได้อย่างมากมายเช่นกัน ดังนั้นความรู้ในเชิงดิจิทัลจะมีส่วนสำคัญย่ิงไม่ว่าจะกับเด็กหรือผู้ใหญ่ และคนในวงการใดๆ ก็ตาม เพราะในโลกดิจิทัล คู่แข่งของคุณไม่ใช่แค่คนในประเทศเพียงอย่างเดียว และลูกค้าของคุณก็ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในประเทศ แต่คือทั้งโลกเช่นกัน
อีกบทคือบทที่ 5 “ศิลปะสำหรับการติติง” ที่มีความน่าสนใจคือเรื่องของการติติง (บทนี้ชอบเป็นการส่วนตัวครับ) การติติงก็มีหลายรูปแบบ แต่ถ้าเราสามารถที่จะติเพื่อให้ผู้ที่ถูกติทำสิ่งใดๆ ได้ดีขึ้น เข้าใจมากขึ้น หรืออย่างน้อยแค่รับฟังก็ยังดีครับ หรือที่เรียกว่า “ติเพื่อก่อ” ครับ
เราไม่จำเป็นต่อใช้คำพูดรุนแรงหรือไม่ดี เราอาจจะสรรหาคำพูด ที่ไม่ใช่เชิงลบ ใส่คำพูดที่มีความหมายเชิงบวกเข้าไปแทน ซึ่งผมว่าถ้าเราฝึกทำบ่อยๆ นอกจากจะเป็นผลดีกับผู้อื่นแล้ว ยังเป็นผลดีกับตัวเองด้วยครับ เพราะเราก็จะปรับความคิดเราให้เป็นเชิงบวกมากขึ้นด้วยครับ
ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจใดๆ ก็แล้วแต่ส่ิงที่สำคัญคือการขาย หรือการหารายได้ให้กับธุรกิจครับ ถ้าสินค้าหรือบริการดีเพี่ยงไรแต่ไม่สามารถขายได้ หรือในยุคปัจจุบันที่มีคนทำงานฟรีแลนซ์กันมากมาย แต่ไม่สามารถหาลูกค้าได้ ก็น่าจะไปต่อได้อยากเช่นกัน ในบทที่ 11 “เซลล์โปรโมชั่น มหานิยม 5 แบบ” จะบอกเล่าถึงรูปแบบ การลดราคา การแถม การให้ผลประโยชน์เพิ่มเติม การสะสมคะแนน และการลุ้นโชคจากการซื้อสินค้า ซึ่งเป็นการช่วยส่งเสริมยอดขายและรายได้ให้กับธุรกิจนั้นๆ ครับ
ต่อกันเลยในเรื่องของธุรกิจครับ อีกบทที่น่าสนใจคือ บทที่ 13 ครับ “เปลือกกับแก่นอะไรสำคัญกว่ากัน” แน่นอนครับว่าความเข้าใจของผมก่อนหน้านี้ แน่นอนว่าแก่นยอมมีความสำคัญกว่าแน่นอนครับ แต่พอได้ลองอ่านเนื้อหาในบทนี้จะเห็นได้ครับว่า
ในยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนไป เปลือกก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าแก่นสักเท่าไรเลยครับ หรือในบางกรณีอาจสำคัญกว่าด้วยซำ้ไปครับ ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างเรื่องการขายกาแฟครับ แน่นอนว่าแก่นคือการที่ผู้บริโภคได้ดื่มกาแฟ แต่องค์ประกอบอื่นก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เช่นทำเล บรรยากาศ การบริการ เป็นต้น ลองนึกภาพตามครับ แล้วคุณล่ะ ดื่มกาแฟเพราะอะไร
อีกบทที่ผมชอบคือ บทที่ 26 ครับ เป็นเรื่องของการเริ่มทำธุรกิจใหม่ของผู้เขียนซึ่งถ้ามีเวลาแนะนำให้อ่านครับ เนื้อหา 11 หน้า อ่านแล้วก็คิดว่าน่าจะมีผู้กำกับหรือเขียนบทสักคนนำไปทำภาพยนตร์แนวสตาร์ทอัพจริงๆ ครับ ตามที่สรุปแนะนำโดยเฉพาะเจ้าของกิจการควรอ่านแต่จริงๆ แล้วสำหรับพนักงานประจำหรือฟรีแลนซ์ ก็ควรอ่านเช่นกันครับ
เป็นเรื่องเกี๋ยวกับการเห็นช่องทางและลงมือทำทันที แม้ว่าอุปสรรคในการที่จะทำให้ “Paper Partition” ผลิตและออกขายได้ จะมากมายเพียงไร ในบทที่ 15 “26 บทเรียน ออกสินค้าใหม่ “Paper Partition” ใน 6 สัปดาห์”
บทถัดไป บทนี้ตรงตามชื่อบทเลยครับ บทที่ 18 “ไม่ต้องรอให้เพอร์เฟ็กมากแค่ถากให้เสร็จก็พอ” เพิ่มเติมแนะนำอีกสองเล่มที่เคยนำเสนอไปนะครับ คือ EP.1 “ เลิกขี้เกียจซะที! ” มีสามตอนครับ และ EP.3 “ คนชนะทำแล้วแก้ คนแพ้มัวแต่คิดไม่ได้ทำ ” อีกสองตอนครับ (งานโฆษณาก็มาครับ)
โลกยุคปัจจุบันที่ใช้เทคโนโลยีในการผลักดันเศรษฐกิจและขับเคลื่อนโลกนั่น ทำให้ปัจจุบันเป็นโลกที่ไร้พรมแดน มีเทคโนโลยีพัฒนาขึ้นใหม่ตลอดเวลา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความยั่งยืนทางของแต่ละองค์กรจะลดลง และดังที่ผู้เขียนกล่าวไว้คือ “ไม่ต้องห่วงว่ายักษ์ใหญ่จะโดนโค่นนะครับ ห่วงตัวเองดีกว่า” ดังนั้นแล้วเราจะอยู่รอดได้ ซึ่งทักษะที่พึงมีอย่างน้อยที่คาดว่า AI จะยังตามเราไม่ทันคือ
1. ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ (Critical thinking skill)
2. จิตนาการ (Imagination) และการหยั่งรู้ (Intuition)
3. ทักษะการสื่อสาร (Communication skill)
รวมถึงความรู้ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อรองรับงานต่างๆ (คือไม่ต้องรู้ลึกมาก อย่างน้อยให้ใช้เป็นก็ยังดี : keyman) และที่สำคัญคือ ความมีวินัยและการตรงต่อเวลา ซึ่งเนื้อหานี้อยู่ในบทที่ 22 “Work life integration 2/2” และต่อจากหัวข้อที่ 3 ทักษะการสื่อสาร เมื่อครู่นี้คือเรื่องของภาษาครับ
ผุ้เขียนกล่าวถึงความสำคัญด้านภาษาคือ ภาษาอังกฤษ ในบทที่ 23 “ “Racing” ด้วยอายุ 25 ทักษะด้านภาษาผมแย่กว่าคุณแน่นอน ” (ส่วนตัวผมแล้วภาษาอังกฤษเหมือนบังคับว่าคุณต้องพอสื่อสารได้ในโลกยุคปัจจุบัน ไม่เช่นนั้นโอกาสการเอาตัวรอดได้จะน้อยลงอย่างมาก และถ้าเป็นไปได้ควรจะต้องมีภาษาที่สามเพื่อที่มีโอกาสมากขึ้น หรือเป็นข้อได้เปรียบที่จะสามารถแข่งขันในตลาดได้ครับ : keyman)
ผมขออนุญาตจบตอนนี้เท่านี้ก่อนครับ เดี๋ยวจะยาวจนเกินไปครับ
ขอให้มีความสุขกับการอ่านหนังสือ “ แปดสิ่งที่คนเก่งมากๆ มีร่วมกัน” นะครับ
แล้วมาพัฒนาทักษะเพิ่มเติมอย่างน้อยทางใดทางหนึ่งไปด้วยกันครับ แล้วคุณจะเป็นคนที่เก่งขึ้นแน่นอนครับ วันนี้ต้องเก่งกว่าเมื่อวานครับ (จำไม่ได้ครับว่าลอกใครมา ขออภัยด้วยครับ)
ขอบคุณท่านผู้อ่านที่ติดตามอ่านครับ พบกันใหม่ตอนหน้าครับ
KeY_MaN
โฆษณา