9 ก.ค. 2023 เวลา 05:24

ดอกเบี้ยหมดน้ำยา แบงค์ชาติคาถาเสื่อมปราบเงินเฟ้อไม่ได้ วอนเพิ่มภาษีช่วยกันปราบ

ในช่วงที่ผ่านมา เราก็เห็นกันแล้วว่าแบงค์ชาติแต่ละที่ ต่างก็ขึ้นดอกเบี้ยกันอย่างเมามันมาก แต่กระนั้นก็เหอะ นางๆทั้งหลายก็ยังคุมเงินเฟ้อไม่ได้
1
โดยทั้งลุง Jay Powell แห่งธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา และป้า Chirstine Lagarde แห่งธนาคารกลางยุโรป ต่างเห็นพ้องว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงไม่กลับมาสู่อัตราปกติที่ 2% ได้ก่อนปี 2025แน่ๆ😱
2
เพราะตัวเงินเฟ้อเอง ที่เงินเฟ้อทั่วไปที่รวมพวกราคาสินค้าพลังงานด้วยเนี่ย มันจะลดลง แต่ตัวเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่มีราคาสินค้าพลังงานเนี่ย กลับยังมีความมั่นดึงดัน ไม่ค่อยลงสักที
ตอกย้ำด้วยตัวเลขตลาดแรงงานที่ยังขยายการจ้างงานอยู่ โดยเฉพาะภาคบริการ(พวกร้านอาหารและท่องเที่ยว) ซึ่งความปังในตลาดแรงงานเนี่ยแหละจะเป็นสิ่งยืนยันว่าราคาสินค้าต่างๆ จะยังอยู่ในระดับสูงอยู่อีกระยะหนึ่ง
เพราะงั้น คำถามที่มันขึ้นมาในหัวอิฉันก็คือ ในเมื่อแบงค์ชาติแต่ละที่ขึ้นดอกเบี้ยกันเป็นบ้าเป็นหลังขนาดนี้ ขึ้นจนแบงค์เจ๊งไปแล้วหลายอันอ่ะ ทำม้ายยยยยยยยมันยังไม่ชะลอราคาสินค้าสักที
1
เหตุผลแรกที่พอคิดได้คือ ก่อนหน้านี้ การขึ้นดอกเบี้ยมันช้าไปไหม เพราะตอนแรกแบงค์ชาติทั้งหลายบอกว่าเงินเฟ้อจะเกิดขึ้นแค่แปปๆ ใสๆ วัยรุ่น เด่วมันก็ผ่านไป.....ปรากฎ........
2
คือนางชะล้าใจและประเมินผิด และทั้งๆที่ก็รู้กันอยู่นะว่า การขึ้นดอกเบี้ยในแต่ละครั้ง กว่ามันจะเริ่มมีผลเนี่ยคลอดลูกได้2คนเลยนะคะ (18 เดือน)
1
และก็ใช่ว่าจะไม่มีคนเตือนนะ เพราะหลายคนก็ออกมาบอกแล้วว่าการขึ้นดอกเบี้ยที่ช้าไป สุดท้ายจะทำให้เงินเฟ้อไปตั้งฐานใหม่ที่ระดับสูง และเวลาจะเอามันลงเนี่ย อาจจะต้องขึ้นดอกเบี้ยไปสูงๆๆๆๆๆ สูงจนไปกระทบเศรษฐกิจในมุมอื่นเลยอ่ะถึงจะเอาลงได้ และผลกระทบพังๆก็ที่ก่อนหน้านี้แบงค์ต่างๆที่เจ๊งกันไปไง
2
เหตุผลที่2ที่ทำไมดอกเบี้ยยังเอาเงินเฟ้อไม่ค่อยลงก็เป็นเพราะดอกเบี้ยมันไม่ได้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเท่าไหร่แล้วแหละ เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจมันไม่เหมือนเดิมแล้วไง เพราะมันไม่ได้มีภาคการผลิตมากเหมือนแต่ก่อน ในขณะที่เรามีเศรษฐกิจจากภาคบริการสูงขึ้น
3
ภาคการบริการซึ่งไม่ได้ต้องการเงินทุนมาก เมื่อเทียบกับภาคการผลิตที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงเมื่อต้องลงทุนซื้อเครื่องจักรนั้นโน้นนี้ ซึ่งการที่ภาคบริการไม่ได้ต้องการเงินทุนมากนัก ทำให้การขึ้นดอกเบี้ยของแบงค์ชาติ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมช้าลง หรืออีกคำพูดนึงก็คือเศรษฐกิจโลกสามารถดูดซับรับมือตบตีกับดอกเบี้ยที่พุ่งสูงมากได้อย่างดี
เหตุผลที่ 3คือ การเปลี่ยนแปลงในตลาดบ้าน เพราะสัดส่วนการซื้อบ้านโดยการกู้น้อยลงอย่างมาก มันทำให้ตลาดบ้านเองได้รับผลกระทบน้อยลงจากการขึ้นลงของดอกเบี้ยตลาด อย่างในUKสัดส่วนการซื้อบ้านด้วยการกู้ลดลงจาก 40% ในช่วงปี1990s มาเป็นไม่ถึง30% และสัดส่วนการกู้บ้านด้วยอัตราลอยตัว ก็ลดลงจาก 70% ในปี 2011 มาอยู่ที่ 10%ในปีนี้ ซึ่งสัดส่วนเรื่องการกู้บ้านที่เปลี่ยนไปนี้แหละที่ทำให้นโยบายทางการเงิน(การขึ้นดอกเบี้ยของแบงค์ชาติต่างๆ)เห็นผลได้ช้าลง
2
เหตุผลที่4คือในตลาดแรงงานที่ยังขาดแคลนอยู่ โดยเฉพาะภาคบริการ ทำให้ค่าจ้างสูงขึ้น ซึ่งก็ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นตามกัน
1
ซึ่งเหตุผลทั้งหลายทั้งปวงที่อิฉันเล่าไปมันก็คงพอจะเห็นภาพได้ว่า ดอกเบี้ยซึ่งเป็นเครื่องมือหลักของแบงค์ชาติทั่วโลกเริ่มไม่ได้ปังอย่างที่เคยมาก่อน เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกใจว่าช่วง2-3เดือนที่ผ่านมา เราจะเห็นทั้ง IMF, OECD, BIS องค์กรนานาชาติต่างก็ออกมาประสานเสียงให้แต่ละประเทศช่วยแบงค์ชาติปราบเงินเฟ้อด้วยการเพิ่มภาษี และลดการใช้จ่ายภาครัฐ
4
โดยหวังว่าการเพิ่มภาษีจะช่วยปรามๆการใช้จ่ายของคน และภาคเอกชนได้ แถมยังกระจายความซวยให้ตกไปตามกันทั้งประเทศ ดีกว่าปล่อยให้แบงค์ชาติเพิ่มภาษีที่กระทืบซ้ำเฉพาะคนที่มีภาระหนี้อยู่ในระดับสูงเท่านั้น
3
ส่วนของไทยที่ World Bank เองก็เพิ่งออกมาแนะนำให้เก็บ VAT เพิ่ม สอดคล้องกับ นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง ดร.ศุภแวท สายเชื้อ เอ้ย ดร.ศุภวุฒิที่ก็ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลเก็บ VAT เพิ่มสักทีเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้จ่ายของรัฐบาลในอนาคต และเพื่อรักษาวินัยทางการคลัง
3
สิ่งที่เราคงต้องจับตามองต่อไปก็คือการเข้ามาของรัฐมนตรีคลัง สรุปแล้วจะเป็นใครกันแน่จะเป็นก้าวไกล หรือเพื่อไทย หรือจะพลิกไปพลังประชารัฐเลยหรือป่าวก็ไม่รู้ หลักการของแต่ละพรรคก็จะเน้นต่างการ เน้นความเสมอภาค ทุนนิยม หรือทุนผูกขาด ยากเกินจะเดาผลการเมืองไทย คิดมากกว่านี้เด่วเป็นบ้า ใจร่มๆแล้วจับตาดูวันที่ 13กันค่ะ
3
Why are interest rate rises not taming inflation?
Ministers, your central bank needs you!
Everyday inflation clues for investors
โฆษณา