6 ก.ค. 2023 เวลา 00:28 • ประวัติศาสตร์

เจดีย์จุฬามณี วัดละมุด

คติความเชื่อ
ตามความเชื่อของพุทธศาสนิกชนเถรวาท จุฬามณีเจดีย์ (บาลี: จุฬามณิเจติย) เป็นเจดีย์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ที่บรรจุพระจุฬาพระโมลีและพระเขี้ยวแก้วของพระโคตมพุทธเจ้าซึ่งพระพุทธเจ้าในกาลปัจจุบัน
ข้อมูลทางตำนาน
ชาตกัฏฐกถา อรรถกถาอปัณณกชาดก,
วิสุทธชนวิลาสินี อรรถกถาพุทธาปทาน,
และมธุรัตถวิลาสินี อรรถกถาโคตมพุทธวงศ์
ระบุตรงกันว่า
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะออกผนวช เสด็จถึงหาดทราย
ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา ทรงพระดำริว่าพระเกศา
ไม่เหมาะแก่สมณะ จึงทรงจับพระขรรค์ด้วยพระหัตถ์ขวา
รวบพระจุฬา (จุก) กับพระเมาลี (มวยผม) ด้วยพระหัตถ์ซ้าย
แล้วตัดออกเหลือพระเกศายาวสององคุลีเวียนขวาติด
พระเศียร แล้วทรงรวบพระจุฬาพร้อมด้วยพระเมาลี
อธิษฐานว่า ถ้าจะเป็นพระพุทธเจ้า
ขอให้ผมนี้ตั้งอยู่ในอากาศ ถ้าไม่เป็น ก็ให้ตกลงเหนือพื้นดิน
แล้วเหวี่ยงไปในอากาศ กำพระจุฬามณีนั้นลอยไประยะประมาณโยชน์หนึ่งแล้วก็ตั้งอยู่ในอากาศ ลำดับนั้น
ท้าวสักกะเห็นด้วยจักษุทิพย์ ก็เอาผอบแก้วขนาดโยชน์หนึ่งทูนพระเศียรรับกำพระจุฬามณีนั้น แล้วทรงสถาปนาเป็น
พระจุฬามณีเจดีย์สำเร็จด้วยรัตนะ 7 ประการ
ขนาด 3 โยชน์ไว้ในภพดาวดึงส์
ในคัมภีร์สุมังคลวิลาสินียังระบุอีกว่า ระหว่างที่โทณพราหมณ์
แบ่งพระบรมสารีริกธาตุถวายแก่เจ้าจากแคว้นต่าง ๆ
ได้ลักพระเขี้ยวแก้วเบื้องขวาซ่อนไว้ในผ้าโพกศีรษะของตน
ท้าวสักกะทรงพระดำริว่าพระเขี้ยวแก้วเบื้องขวานั้นเป็น
ปัจจัยแห่งการตรัสสอนอริยสัจ 4 เพื่อตัดความสงสัยของ
บรรดาสัตวโลก ไม่คู่ควรที่พราหมณ์จะทำสักการะได้
จึงทรงถือเอาจากผ้าโพก บรรจุไว้ในผอบทองคำ
นำไปประดิษฐาน ณ พระจุฬามณีเจดีย์ด้วย
ปรมัตถทีปนีกล่าวว่า ท้าวสักกะศรัทธาพระเจดีย์นี้อย่างมาก
ท่านจึงมักจะเสด็จมาบูชาเป็นเนืองๆ
เจดีย์จุฬามณี วัดละมุด
สร้างขึ้นในสมัยหลวงพ่อทอง อินทสุวณโณ สันนิษฐาน
ว่าท่านน่าจะเริ่มสร้างพร้อมกับวิหารหลวงพ่อศิลา
ช่วงปีพศ.2458 เจดีย์จุฬามณี เป็นลักษณะเจดีย์
แบบย่อมุมไม้สิบสองขนาดกว้าง 3ศอกสูง 6ศอก
สร้างด้วยทองสัมฤทธิ์ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
ไว้ให้บุคคลทั้งหลายได้สักการะบูชาปิดทองเป็นประจำทุกปี
แต่เดิมประดิษฐานภายในพระวิหารหลวงพ่อศิลา
เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พศ.2512
ได้มีเจ้าภาพสร้างขอจัดสร้างฐานรองรับเจดีย์จุฬามณีเป็นลักษณะฐานแบบลานประทักษิณ จำลองมีการทำทางขึ้นบริเวณด้านหน้าเจดีย์
เจ้าภาพในการสร้างครั้งนั้นโดยร่วมกันบริจาคทรัพย์
เป็นจำนวนเงิน 73,000 บาท โดยมีทั้งคหบดี ข้าราชการ
และประชาชนในละแวกวัดละมุดร่วมเป็นเจ้าภาพในการสร้าง
ทางวัดได้มงคลฤกษ์ในการยกพระจุฬามณีขึ้นประทับบน
ฐานพระเจดีย์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พศ.2513
การย้ายเจดีย์ออกจากวิหารหลวงพ่อศิลาครั้งที่1
ในช่วงปีพศ.2536-พศ.2540 ทางวัดได้ทำการ
บูรณะปฎิสังขรวิหารหลวงพ่อศิลา มีการปรับพื้นที่
ภายในวิหารจากเดิมหลวงพ่อศิลาไม่มีแท่นสูงอย่างใน
ปัจจุบันเป็นการวางราบกับพื้นโดยมีเพียงแท่นเตี้ยๆเท่านั้น
ในการปฎิสังขรวิหารในช่วงนั้น อาจารย์ น.ณ.ปากนํ้า
เข้ามาช่วยให้คำแนะนำต่างๆในการบูรณะทั้งวิหารและ
พระพุทธรูปต่างๆภายในวิหาร ด้วย
ท่านพระครูสุพจน์วราภรณ์(หลวงพ่อหยุด)
ท่านมีความเชียวชาญในงานโบราณต่างๆท่านทั้งสองจึง
ทำงานร่วมกันจนพระวิหารออกมางดงามอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
ในช่วงนั้นพระครูสุพจน์วราภรณ์(หลวงพ่อหยุด)
มีดำริว่าควรย้ายเจดีย์จุฬามณีออกจากวิหารเนื่องจาก
เจดีย์มีขนาดใหญ่ทำให้บดบังหลวงพ่อศิลาซึ่งเป็น
พระประธานภายในพระวิหาร
ในช่วงเวลานั้นเอง
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
พระสังฆราชองค์ที่19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
สถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
ได้มอบพระบรมสารีริกธาตุ มาให้วัดละมุดจำนวนหนึ่ง
เพื่อประดิษฐานภายในเจดีย์จุฬามณี
ในวันที่ทำการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้รับมอบจาก
ทางการหลวงพ่อหยุดได้บรรจุพระพุทธรูปและพระเครื่อง
ต่างๆของวัดเข้าไปในเจดีย์นั้นด้วย ก่อนที่ช่างจะทำการ
ปิดกรุได้เกิดเหตุอัศจรรย์เมื่อนายช่างนำไฟแก๊สเพื่อเชื่อม
ทองแผ่นทองให้ติดกันต้องใช้เวลาอย่างมากเพราะเนื้อทอง
ที่องค์เจดีย์จุฬามณีไม่ละลาย กว่าจะทำการปิดกรุได้
ต้องใช้เวลาเนินนานมากกว่าจะแล้วเสร็จ
ทางวัดได้ทำการย้ายเจดีย์จุฬามณีไปไว้บริเวณ
ช่องว่างระหว่างพระอุโบสถเก่ากับพระวิหารหลวงพ่อศิลา
โดยทางวัดสร้างเป็นลานประทักษิณก่ออิฐถือปูนมีทางขึ้น
สู่เจดีย์ทั้ง 4 ด้าน เพื่อให้ผู้ที่มากราบพระเจดีย์ได้โดย
ไม่ต้องเปิดวิหารเพราะเป็นพื้นที่กลางแจ้ง
(ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพพระสีวลี)
การย้ายเจดีย์จุฬามณีครั้งที่ 2 ช่วงปีพศ.2555
การย้ายครั้งนี้จากข้อมูลพี่หนุ่มบารมีได้กรุณาเล่าให้ฟังว่าเนื่องจากญาติโยมที่ฝากอัฐิผู้วายชนไว้รอบบริเวณ
เจดีย์จุฬามณีมีความยากลำบาก
ในการขึ้นไปเพื่อทำบุญการย้ายครั้งนี้เป็นการย้ายหลังจากพระครูสุพจน์วราภรณ์(หลวงพ่อหยุด)ได้มรณภาพแล้ว
โดยมีเจ้าภาพร่วมกันสร้างมณฑปกลางนํ้าเพื่อประดิษฐานเจดีย์จุฬามณีและฝากอัฐิผู้วายชนเพราะภายในมณฑปมีขนาดกว้างและเดินได้ง่ายกว่าแท่นที่วางเจดีย์จุฬามณีเดิม(ปัจจุบันประดิษฐานรูปเคารพพระสีวลีอย่างที่ปรากฎให้เห็นในปัจจุบัน)
ภายในมณฑปประดิษฐานรูปเหมือน
พระครูสุพจน์วราภรณ์(หลวงพ่อหยุด)
หล่อด้วยโลหะประดิษฐานบริเวณด้านหน้าเจดีย์จุฬามณี
และที่บริเวณฐานเจดีย์มีการก่ออิฐถือปูนย่อมุมไม้สิบสอง
ยกองค์ฐานพระเจดีย์จุฬามณีประดับลวดลายปูนปั้นวิจิตรงดงามแบบศิลปะไทยร่วมสมัย
เครดิตข้อมูล
หนังสือพระราชทานเพลิงศพ
พระครูสุพจน์วราภรณ์(หลวงพ่อหยุด)
คุณหนุ่ม บารมี หลานหลวงพ่อหยุด
คณะศิษย์วัดละมุด
โฆษณา