6 ก.ค. 2023 เวลา 05:26 • ความคิดเห็น
ผมเข้าสู่วัยชราแล้ว ย่าผมมักบ่นว่า ความแก่ช่างไร้ประโยชน์เสียจริงๆ ความคิดนี้ได้ตอกย้ำเข้ามาในหัวผมโดยไม่รู้ตัว และผมก็ไม่ชอบความแก่ตั้งแต่ยังเป็นเด็กชาย
ในรูปเขาบอกว่า ให้ใช้ความอดทนรอ เพราะของดีนั้นมันต้องใช้เวลา คนเราจะเห็นสัจธรรมในชีวิตมากขึ้น ก็ต้องใช้เวลาใช่หรือไม่ ถ้าใช่ นี่คือส่วนที่ดีที่สุดของ "ความแก่" ยิ่งเวลาผ่านไป คนแก่ควรที่จะมีคุณค่ามากขึ้นสิจริงไหม
แต่เหรียญมันมีสองด้านเสมอ ด้านหนึ่งคือ "แก่แบบคุณภาพ" อีกด้านหนึ่งคือ "แก่แต่อายุ" ตามโลกไม่ทัน ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง มองคนรุ่นใหม่ด้วยสายตาสงสัย จนถึงรังเกียจความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ที่ยึดถือคุณค่าที่แตกต่างจากคนรุ่นก่อน
1
ผมพยายามแก่แบบมีคุณภาพ คุณภาพในที่นี้หมายถึง การทบทวนคุณค่าต่างๆที่เราถูกปลูกฝัง และคนรุ่นใหม่ไม่เห็นความสำคัญ เช่นการเปิดเพลงชาติเช้าเย็น หรือการไม่สวมเครื่องแบบนักเรียน เป็นต้น
1
สิ่งเหล่นนี้มันเป็นค่านิยม เอาเหตุผลสารพัดมาคุยกัน มันก็ช่วยอะไรไม่ได้ แต่ผมไม่ใช่แม่พลอยในนิยายสี่แผ่นดินของท่านคึกฤทธิ์ ที่ทอดถอนลมหายใจ เสียดายความสุขสบายที่ตนคุ้นเคยในอดีต และเสียดายสิ่งเหล่านี้กำลังจะหายไป นี่คืออาการยึดติดกับอดีตที่ตนเคยชิน
1
ยุคนี้คือยุคที่เปิดกว้างทางความคิด คนรุ่นใหม่พร้อมที่จะถกเถียงและตั้งคำถามกับค่านิยมในสังคม ซึ่งไม่ใช่ค่านิยมในสังคมไทยเท่านั้น ผมรวมไปถึงค่านิยมสากลของโลก
1
คนแก่แบบแม่พลอยเป็นคนแก่ที่ไม่เปิดกรงที่ขังความคิดของตนเอง ยึดติดกับกรอบความคิดเดิมๆโดยไม่ตั้งคำถาม อยู่กับกรงขังค่านิยมที่มันเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตในสังคมโลกยุคใหม่ ที่ถือว่าการตั้งคำถาม การถกเถียง ไม่ใช่เป็นเรื่องความขัดแย้ง แต่เป็นเรื่องการแสดงออกที่ทำได้
ความแก่ที่สังคมต้องการ คือแก่แบบปรับตัวและยอมรับความเปลี่ยนแปลง คนรุ่นแก่คือรุ่นที่เคยได้โอกาสเลือกชีวิตของตนเอง ในตอนที่ยังเป็นหนุ่มสาว
จะอ้างเหตุผลอะไรที่จะบอกคนรุ่นใหม่ ที่เขาต้องการเลือกชีวิตของตัวเองเช่นเดียวกับเรา ตอนที่เรายังเป็นคนหนุ่มสาวอยู่นั้น เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
1
นอกเสียจากอยากแก่แบบกะโหลกกะลาไปวันๆ
1
โฆษณา