Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
6 ก.ค. 2023 เวลา 12:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ส่องแนวโน้มโรงกลั่นน้ำมันแถบเอเชียแปซิฟิกในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
ในครึ่งหลังของปีนี้ โรงกลั่นน้ำมันแถบเอเชีย อาจเผชิญกับความแกว่งตัวของส่วนต่างค่าการกลั่นน้ำมัน (Gross Refining Margin) ที่มากขึ้นในอนาคต ซึ่งทำให้กำไรมีความผันผวนสูงขึ้น ในขณะที่การเติบโตอย่างตะกุกตะกักของจีน
และภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ ก่อให้เกิดความเสี่ยงว่าอุปทานน้ำมันอาจล้นเหลือเกินไป จนไปกดดันราคาน้ำมันให้ต้องปรับตัวตาม
OPEC+ อาจจะปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันลงเพื่อให้ราคายังคงอยู่ในช่วง 70-80 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับโรงกลั่นเอเชียคือ ส่วนต่างค่าการกลั่นน้ำมัน ซึ่งสะท้อนถึงกำไรขั้นต้นของโรงกลั่นน้ำมัน จะลดลงในปี 2023
📌 อุปสรรคใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อความต้องการน้ำมันในเอเชีย
โรงกลั่นน้ำมันในเอเชีย อาจต้องเผชิญกับอุปสรรคเนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ทำให้กำไรอาจจะค่อนข้างผันผวนเนื่องจากการฟื้นตัวอย่างสะดุดของเศรษฐกิจจีน และจากการที่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในหลายแห่ง ก็ส่งผลกระทบต่อภาพคาดการณ์ความต้องการน้ำมัน
เพราะแม้ว่าอุปสงค์ในน้ำมันจะเพิ่มขึ้นในระยะสั้นๆ จากความต้องการท่องเที่ยวในฤดูร้อนซึ่งอัดอั้นมาจากช่วงก่อนหน้า แต่การที่เศรษฐกิจในเอเชียถดถอย เห็นได้จากยอดค้าปลีกของจีนที่ชะลอตัวลง และการส่งออกของเกาหลีใต้ที่ถดถอยลง
อีกทั้งอุปทานน้ำมันที่มากเกิน ก็อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการปรับตัวของอุปสงค์และอุปทานน้ำมันในช่วงครึ่งหลังของปี
📌 จีนส่งสัญญาณว่าเอเชียอาจมีอุปทานน้ำมันเยอะเกินความจำเป็น
ถ้ามองดูที่ประเทศใหญ่อย่างจีน โควต้าส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำมันของจีนที่เพิ่มขึ้น ชี้ให้เห็นว่าผู้วางนโยบายมองว่าความต้องการใช้น้ำมันอาจจะอ่อนแอลงในช่วงครึ่งหลังของปี
ในระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม จีนกำหนดโควต้าส่งออก 27.9 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 60% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (โควต้าของปี 2022 อยู่ที่ 37.3 ล้านตัน) และตอนนี้กว่าครึ่งของโควต้าถูกใช้ไปกว่า 54% แล้ว
ในช่วงเดือนเมษายน การส่งออกดีเซลเพิ่มขึ้น 17% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ส่งสัญญาณว่าอุปสงค์ในประเทศค่อนข้างสะดุด ประกอบกับการที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ถดถอย และกิจกรรมในภาคอุตสาหกรรมหดตัว
ทางด้านการส่งออกน้ำมันเบนซิน ก็อาจเพิ่มขึ้นจากการที่โรงกลั่นน้ำมันพยายามคว้าโอกาสทำกำไรในช่วงฤดูร้อนซึ่งคนนิยมขับรถ ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มว่าอุปทานน้ำมันอาจจะมากเกินไปในช่วงฤดูร้อนนี้
ทั้งนี้ทาง Bloomberg ได้ทำการคำนวณโดยอ้างอิงจากข้อมูลการนำเข้านำมันดิบในวันที่ 10 มิ.ย. แสดงให้เห็นว่าการนำเข้าน้ำมันดิบของจีนลดลงไป 10% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า จนอยู่ที่ 14.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน จึงอาจจะพอให้เห็นภาพลางๆ ว่า
ความต้องการใช้น้ำมันในอีกไม่กี่เดือนต่อจากนี้น่าจะน้อยกว่าที่ตลาดเคยคาดการณ์ไว้จริงๆ
📌 เมื่อต้นทุนน้ำมันดิบลดลงท่ามกลางเศรษฐกิจถดถอย
ผู้กลั่นน้ำมันปิโตรเลียมทางฝั่งเอเชีย อาจเผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ความล่าช้าในการปรับราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันดิบ อาจทำให้มีส่วนต่างกำไรเพิ่มขึ้นในระยะสั้น แต่การที่เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวอย่างสะดุดๆ เช่นนี้
อีกทั้งยังมีการแข่งขันในภาคการส่งออกที่มากขึ้น อาจไปฉุดความต้องการเชื้อเพลิง และทำให้ค่าการตลาด (marketing margin) ลดลงได้
ทางฝั่งของจีน ที่มีการกำหนดราคาพลังงาน ก็อาจะส่งผลให้ส่วนต่างกำไรของผู้ค้าปลีกน้อยลง เนื่องจากการแข่งขันทวีความรุนแรงมากขึ้น
ในขณะที่ทางฝั่งผู้ค้าน้ำมันรายปลีกในอินเดีย ก็อาจจะเผชิญกับกำไรที่หดตัว เนื่องจากมีแนวโน้มที่โรงกลั่นน้ำมันของรัฐ อาจจะต้องปรับลดราคาหน้าปั๊มลงอย่างมาก เพื่อตอบสนองต่อราคาต้นทุนน้ำมันดิบที่ลดลง
จากการคำนวณของ Bloomberg พบว่า ส่วนต่างกำไรขายปลีกของโรงกลั่นภายในประเทศอินเดีย โดยเฉลี่ยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงวันที่ 12 มิถุนายน อยู่ที่ 13.05 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งมากกว่าปกติที่อยู่เพียง 5-6 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรลเท่านั้น เนื่องจากราคาหน้าปั๊มในประเทศยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล
ถึงอย่างนั้น การที่ต้นทุนน้ำมันดิบลดลงท่ามกลางเศรษฐกิจถดถอย ก็อาจกระทบค่าการตลาดของผู้ค้าน้ำมันรายปลีกในอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ภาพเศรษฐกิจโลกมืดมน และความเสี่ยงด้านการส่งออกเพิ่มขึ้น
นอกจากแรงกดดันทางด้านเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์และอุปทานน้ำมันในเอเชียแล้ว ความท้าทายอีกอย่างต่อจากนี้คือ การที่กรุงปักกิ่งยังพยายามมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ และมุ่งเน้นเศรษฐกิจภาคบริการมากยิ่งขึ้น
ซึ่งส่งผลให้ปริมาณการบริโภคน้ำมันระหว่างช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ลดลงไปด้วย สะท้อนให้เห็นจากการที่ความจำเป็นที่จะพึ่งพาเชื้อเพลิงน้ำมันและฟอสซิล
เพื่อใช้ในการกระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโตนั้นลดลง เริ่มมีการเปลี่ยนจากเชื้อเพลิงแบบเดิมๆ เป็นพลังงานหมุนเวียนมากยิ่งขึ้น
ทั้งหมดนี้ก็อาจทำให้ OPEC+ ต้องคิดถึงกลยุทธ์ระยะยาวในการลงทุนไปกับสินทรัพย์ถาวรของบริษัท (Capex investment) และส่วนแบ่งการตลาดในอนาคตต่อไป
ผู้เขียน: ชนาภา มานะเพ็ญศิริ Economist, Bnomics
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference: Bloomberg Intelligence
เศรษฐกิจโลก
ธุรกิจ
น้ำมัน
2 บันทึก
7
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
B-Industry
2
7
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย