6 ก.ค. 2023 เวลา 11:02 • ธุรกิจ

สรุป Threads ต่างจาก Twitter ยังไง ? ในโพสต์เดียว

เปิดตัวได้ร้อนแรงไม่เบาสำหรับ “Threads” แพลตฟอร์มใหม่ของ Meta ที่มีฟีเชอร์หลัก ๆ คล้ายกับ Twitter
3
โดยล่าสุด มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก CEO ของ Meta ก็ได้ออกมาบอกว่าตอนนี้ Threads กลายเป็นแพลตฟอร์ม ที่มีผู้ใช้งานมากถึง 10 ล้านบัญชีเข้าไปแล้ว ทั้ง ๆ ที่เพิ่งเปิดตัวไปได้เพียง 7 ชั่วโมงเท่านั้น..
1
ทีนี้แม้ทั้งคู่จะเหมือนกันอย่างกับแกะ แต่ถ้าดูดี ๆ แล้ว 2 แพลตฟอร์มนี้ ก็มีข้อแตกต่าง ที่อาจทำให้แนวทางการทำตลาดบนแพลตฟอร์มนั้น แตกต่างกันออกไปได้หมือนกัน
โดยบทความนี้ MarketThink จะขออาสามาสรุปความแตกต่างของทั้งคู่ให้ฟังเป็นข้อ ๆ แบบง่าย ๆ
1) Threads พิมพ์จำนวนคำต่อโพสต์ ได้มากกว่า Twitter
ตอนนี้ Twitter จำกัดคำต่อโพสต์อยู่ที่ 250 คำต่อโพสต์
แต่ถ้าอยากพิมพ์ให้ได้ยาวขึ้นเป็น 280 - 25,000 คำ ก็ต้องจ่ายเงินราว ๆ 280 บาท/เดือน เพื่อเป็นสมาชิก Twitter Blue ซะก่อน
1
ในขณะที่ Threads มีจำกัดคำต่อโพสต์อยู่ที่ 500 คำ และยังไม่มีบริการเสริมในตอนนี้
2) Threads ยังไม่มีฟีดแยก เป็น For You และ Following เหมือน Twitter
การใช้ AI มาแนะนำคอนเทนต์ให้ผู้ใช้นั้น เป็นท่าที่หลายแพลตฟอร์มนิยมใช้เป็นอย่างมาก
แต่ดูเหมือนว่าตอนนี้ทางฝั่ง Threads จะเน้นแสดงผลไปที่โพสต์ของคนที่ตัวเองติดตามเอาไว้ ผสมไปกับโพสต์ของคนที่ไม่ได้ติดตาม
ผิดกับ Twitter ที่จะให้ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่า จะดูฟีด “For You” ซึ่งเน้นนำเสนอคอนเทนต์ที่ AI แนะนำมาให้ กับฟีด “Following” ที่จะเป็นคอนเทนต์จากบัญชีที่ผู้ใช้ติดตามเอาไว้เท่านั้น
1
3) Threads ยังไม่สามารถ Edit หรือแก้ไขโพสต์ได้ ส่วน Twitter ทำได้ แต่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม
ณ ตอนนี้ Threads จะยังไม่สามารถแก้ไขโพสต์ได้ เหมือนกับผู้ใช้ Twitter ที่ไม่ได้สมัครสมาชิก Twitter Blue
แถมเท่าที่ดูทางฝั่ง Threads ยังไม่สามารถทำโพสต์ฉบับร่างไว้ก่อนได้ ซึ่ง Twitter มีฟีเจอร์นี้อยู่แล้ว
4) การแชร์ฐานผู้ใช้จาก Instagram ทำให้ผู้ใช้บน Threads ดูมีตัวตนจริง ๆ มากกว่าบน Twitter
1
Threads มีวิธีการยืนยันตัวผู้ใช้ได้ง่าย ๆ โดยนำเข้าข้อมูลมาจากบัญชี Instagram
ทำให้บัญชีผู้ใช้ Threads ดูมีตัวตนจริง ๆ หรือ น่าเชื่อถือมากกว่า
3
ในขณะที่ฝั่ง Twitter มักประสบปัญหา “แอ็กหลุม” อยู่เป็นประจำ
และหากต้องการให้บัญชีดูน่าเชื่อถือขึ้น โดยได้รับเครื่องหมายยืนยันตัวตน ก็ต้องจ่ายเงินซื้อบริการ Twitter Blue ก่อน..
4
แถมเงื่อนไขการจะลบบัญชี Threads ก็โหดไม่ใช่น้อย เพราะถ้าผู้ใช้อยากลบบัญชี Threads
ผู้ใช้จะต้องลบบัญชี “Instagram” ของตัวเองไปด้วย..
15
พูดง่าย ๆ คือ เข้าง่ายแต่ออกยาก..
แต่ทั้งหมด มันกลับกลายเป็นข้อดีว่า การสร้าง “แอ็กหลุม” บน Threads จะลำบากขึ้น
ทำให้สัดส่วนผู้ใช้บน Threads จะมีตัวตนจริง ๆ มากกว่าบน Twitter
และเสริมให้เนื้อหาบน Threads จะดูน่าเชื่อถือมากกว่า ตามไปด้วย
3
5) กฏในการจำกัดเนื้อหา “ที่ล่อเแหลม” นั้นต่างกัน
Threads มีกฏการควบคุมเนื้อหาคล้ายบน Instagram ที่จะไม่ปล่อยให้มีเนื้อหาล่อแหลมหลุดออกมาได้
ผิดกับ Twitter ที่ยังสามารถให้ผู้ใช้ลงเนื้อหาได้กว้างกว่า
6) Threads โพสต์วิดีโอได้นานกว่า Twitter
Threads ให้ผู้ใช้สามารถโพสต์วิดีโอ ที่มีความยาวได้มากสุด 5 นาที
ในขณะที่ฝั่ง Twitter แม้จะจ่ายเงินเป็น Twitter Blue แล้ว ก็ลงได้มากสุดแค่ 2 นาที 20 วินาที เท่านั้น
7) Threads ได้เปรียบเรื่องหลังบ้าน
แม้ในตอนนี้ Threads จะยังไม่มีโฆษณาบนแพลตฟอร์ม ซึ่งในอนาคตต้องมีแน่ ๆ
1
แต่ในเมื่อ Threads เป็นแพลตฟอร์มในเครือ Meta ที่มีทั้ง Facebook และ Instagram อยู่ในมือ
ซึ่งเป็นช่องทางหลัก ที่แทบทุกแบรนด์บนโลก ใช้ลงโฆษณา
ทำให้ Meta มีโอกาสจะทำให้โปรแกรมต่าง ๆ ในการใช้ควบคุมหลังบ้านของ Threads สามารถใช้งานไปพร้อม ๆ กันทั้ง 3 แพลตฟอร์มได้
(คล้ายกับฟีเชอร์บน Meta Business Suite ที่ให้ผู้ใช้สามารถบริหารบัญชี Facebook และ Instagram พร้อมกันได้)
ดังนั้น ในมุมหลังบ้าน เมื่อฝั่งแบรนด์ ต้องบริหารจัดการเพจ รวมถึงลงโฆษณาบน Facebook ไม่ก็ Instagram กันอยู่แล้ว
จึงทำให้ Threads ที่แม้จะมาทีหลัง แต่ผู้ใช้หลังบ้าน น่าจะปรับตัวกับแพลตฟอร์มนี้ได้ง่าย และใช้งานระบบหลังบ้านได้สะดวกว่าของ Twitter ที่ต้องเปิดโปรแกรมบริหารบัญชีแยกออกมาเดี่ยว ๆ นั่นเอง
สุดท้ายนี้ ลองคิดเล่น ๆ ว่าถ้าฐานผู้ใช้กว่า 2,000 ล้านคน บน Instagram เปิดใจให้สัก 25% (คิดเป็น 500 ล้านคน)
ก็จะเท่ากับว่า Threads จะกลายเป็นแพลตฟอร์มที่ใหญ่กว่า Twitter ที่มีฐานผู้ใช้ราว ๆ 450 ล้านคน ทันที
1
และเท่าที่ดูองค์ประกอบทั้งหลายแล้ว มันก็เป็นไปได้ไม่ยากเท่าไร
จึงทำให้ Threads กลายเป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์ม ที่นักการตลาดควรจับตาอย่างใกล้ชิดไม่แพ้ TikTok เลยทีเดียว..
โฆษณา