Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
MindStory
•
ติดตาม
7 ก.ค. 2023 เวลา 00:30 • ไลฟ์สไตล์
ชวนส่อง 4 หลักแนวคิดการ “ค้นหาความสุข" ของชาวสแกนดิเนเวีย 🇸🇪🇫🇮🇩🇰
แน่นอนว่าพูดถึงเรื่องราวของความสุขอันแสนเรียบง่ายของชาวสแกนดิเนเวีย เราก็คงจะคิดถึงคำว่า “ฮุกกะ (Hygge)” ลอยขึ้นมาในหัวกันในทันที 🥰
อันที่จริง นอกจากฮุกกะของชาวเดนมาร์กแล้ว
มันก็ยังมีหลักแนวคิดอื่น ๆ อีกด้วยนะ (เยอะไม่ต่างไปจากของญี่ปุ่นเลย)
หนึ่งจุดอ้างอิงที่สำคัญคือ ดัชนีแห่งความสุขประจำปีของโลก (The World’s Happiest Countries)
ต่อให้เราเดาเล่น ๆ เนี่ย มันก็จะต้องมีประเทศในโซนสแกนดิเนเวียติดกันมาบ้างแน่นอน 😂
📍มาเริ่มต้นกันที่ 3 อันดับประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก ประจำปี 2023 (The World’s Happiest Countries 2023)
1. Finland 🇫🇮 (คะแนน 7.😎
2. Denmark 🇩🇰 (คะแนน 7.6)
3. Iceland 🇮🇸 (คะแนน 7.5)
🏙 เมืองหลวง 3 อันดับแรกที่ได้รับการโหวตว่าน่าอยู่ที่สุดในปี 2023
1. Vienna, Austria 🇦🇹
2. Copenhagen, Denmark 🇩🇰
3. Zurich, Switzerland 🇨🇭
เราคิดว่าการจัดอันดับแบบนี้ไม่ว่าจะกี่ปีก็ตาม ก็จะต้องเจอหน้าเดิม ๆ อย่างเช่น ฟินแลนด์ เดนมาร์ก เป็นขาประจำ
โดยเฉพาะเดนมาร์กที่เราจะเห็นเค้าบ๊อยบ่อย 🇩🇰
ถึงแม้ว่าเมืองโคเปนเฮเกนของเดนมาร์กจะเสียตำแหน่งแชมป์เมืองหลวงที่น่าอยู่ที่สุดในโลกให้กับกรุงเวียนนาของออสเตรีย แต่พวกเราเชื่อว่าความสุขของชาวเดนมาร์กคงไม่ได้ลงไปกันอย่างแน่นอน
เมืองโคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก
ว่าแต่หลักแนวคิดที่ทำให้พวกเค้าค้นหาความสุขรอบ ๆ ตัวกันได้ง่าย มีอะไรกันบ้างนะ ?
วันนี้พวกเรา MindStory ขอพาเพื่อน ๆ ไปรับชมกันเลย !🥰
🤔 ปล. ส่วนตัวพวกเราคิดว่า หลักการพวกนี้นะ เอาเข้าจริง บางหลักการอาจจะไม่สามารถปรับให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของเราได้อย่างสมบูรณ์แบบ หรือ บางอันก็ดูเป็นแนวคิดหาความสุขในโลกอุดมคติไปสักหน่อย…
เอาเป็นว่า ขอให้เพื่อน ๆ อ่านเป็นแนวคิดเผื่อเราจะลองหยิบสักหนึ่งอย่างมาปรับใช้แล้วทำให้เราพบความสุขได้ง่ายขึ้นกัน 🥰
แนวคิดแบบไหนเวิร์ค มาแชร์ให้พวกเราฟังกันด้วยนะคร้าบบบ
[ “ฮุกกะ (Hygge)” ความสุขแสนเรียบง่ายของชาวเดนมาร์ก 😌🇩🇰 ]
"ฮุกกะ (Hygge)" ในความหมายของชาวเดนมาร์ก คือ ความสุข สนุก อบอุ่น และความซาบซึ้งใจ
แต่เพื่อน ๆ ทราบไหมว่า คำว่า “ฮุกกะ” เนี่ย ดั้งเดิมมาจากภาษานอร์เวย์ แปลว่า การกอดและการปลอบประโลม 🇳🇴
ต่อมาคอนเซปต์ของหลักแนวคิดนี้ ก็ได้กลายเป็นที่นิยมกับชาวเดนมาร์ก 🇩🇰
ความสุข คือสิ่งที่เราสามารถหาได้รอบตัวและหาได้ทุก ๆ วัน
ที่ว่ารอบตัวนี่ มันก็คือบรรยากาศแห่งความสบาย (หรือพูดอีกได้ว่า เราสามารถสร้างบรรยากาศรอบตัวเรา ให้มีความสบายได้ 😊)
อย่างเช่น
- การตกแต่งบ้าน การเลือกใช้สีโคมไฟโทนอบอุ่น
- การจัดมุมอ่านหนังสือหรือมุมดูหนังแบบสบาย ๆ
- การได้ใช้เวลาคุณภาพร่วมกับครอบครัวหรือเพื่อนสนิท
- การออกกำลังกายด้วยการเดิน
.
🤔 ง่าย ๆ แค่นี้เองเหรอ…
แล้วทำไมชาวเดนมาร์กถึงมีความสุขกันมากขนาดนั้น ?
😄 นั่นก็เป็นเพราะว่า พีระมิดแห่งความต้องการ (Maslow's Hierarchy of Needs) มันถูกเติมเต็มด้วยการค้นหาและการจัดเวลาแห่งความสุข (ฮุกกะ) ได้ในทุก ๆ วัน
1. ความต้องการอาหาร การพักผ่อน และความปลอดภัยที่ดี ของชาวเดนมาร์ก
2. ความสุขจากความรักและการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
3. การเคารพและรักตัวเอง
เมื่อเราค้นพบความสุขทั้งกายและใจแล้ว เราก็จะค้นพบตัวตนที่แท้จริงของเรา
(แต่ต้องบอกว่าบ้านเมืองเค้ารวมถึงนิสัยผู้คนมันทำให้ชาวเดนมาร์กสามารถเจ้าถึงความสุขจากปัจจัยภายนอกได้ดี)
เมื่อเกิด “ความสุข” และอยู่กับมันไปได้นาน ๆ “สุขภาพ” ก็จะแข็งแรงขึ้นตาม
.
ตัวขับเคลื่อนฮุกกะ ที่สำคัญ !
- เพื่อนและครอบครัว 👨👩👧👦
- บรรยากาศเป็นกันเอง 🤗
- ความใกล้ชิดกับธรรมชาติ🌲
- อยู่กับปัจจุบัน🍀
.
⛹ ชวนส่องกิจกรรมฮุกกะอันแสนเรียบง่าย ของชาวเดนมาร์ก (เผื่อเราลองไปทำตามเค้าดู อาจจะอบอุ่นหัวใจกันเพิ่มขึ้น)
- เล่นบอร์ดเกม
- ทำอาหารกับเพื่อน
- เล่นบูลกับเพื่อน ๆ (คล้ายเปตอง)
- เดินป่า แคมปิ้ง ก่อกองไฟทำอาหาร
- ปาร์ตี้แลกของกับเพื่อนบ้าน
- เก็บเห็ด
- ค่ำคืนหน้าจอ (เปิดหนังแล้วดูด้วยกันกับครอบครัว)
- จัดห้องสมุดเล็ก ๆ ภายในบ้าน
นอกจากฮุกกะในเวลาส่วนตัวแล้วเนี่ย
ในเวลาทำงานเอง ชาวเดนมาร์กก็นิยมสร้างฮุกกะด้วยนะ
คือ นอกจากจะเลิกงานตรงเวลากันแล้ว (อาจเลิกก่อนอีก) เค้าก็มีการจัดพื้นที่ในสำนักงานให้ผ่อนคลายอีกด้วย เช่น มีขนมเค้ก มีโซฟานุ่ม ๆ มีของประดับด้วยเทียนไข เป็นต้น
.
เพื่อน ๆ ทราบไหมว่า ช่วงเวลาที่มีความฮุกกะมากที่สุด คือ คริสต์มาส ☃🎄
แล้วทำไมต้องคริสต์มาส ?
คำตอบง่าย ๆ คือ มันเป็นช่วงเวลาแห่งความหนาวกาย แต่มีธรรมเนียมปฎิบัติให้อบอุ่นหัวใจ
เช่น การทำเมนูอาหารพิเศษสำหรับคริสต์มาส และต้องกินมื้อเย็นแบบพร้อมหน้ากัน การตกแต่งบ้านต้อนรับเทศกาล 🍪🍲
อาจคล้ายกับสงกรานต์ของบ้านเรา… มีทั้งความรื่นเริง ที่ทำให้ชีวิตมีสีสันท่ามกลางความเหน็บหนาวและการต้องอยู่ภายใต้แสงอาทิตย์ที่น้อยนิด ก็เป็นฮุกกะที่ยอดเยี่ยมไปเลย !
อีกจุดนึงที่เราเห็นเค้าพูดกันก็คือ ได้ดื่มไวน์ร้อน (Gløgg) ไงละ !! 🍷
ไวน์ร้อน (Gløgg)
[ เมื่อหา Hygge เจอ คุณก็จะพบ Lykke ได้เอง 🥰😌 ]
ฮุกกะ (Hygge) เปรียบเสมือนกับคู่มือช่วยให้เราคนหาความสุข (ได้ง่ายขึ้น)
ก้าวต่อไปก็ถึงเวลาพบกับ ลุกกะ (Lykke) หรือการเดินออกไปค้นหาความสุขกับโลกภายนอกกันต่อ
ลุกกะ (Lykke) เป็นคำในภาษาเดนมาร์กที่แปลง่าย ๆ ว่า “ความสุข” 💓
คุณ Meik ผู้แต่งหนังสือ the little book of Lykke เค้าได้วิจัยปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความสุข (ที่ได้มาจากการค้นหาลุกกะในแบบของงานวิจัยของเขา)
1. ความเป็นหนึ่งเดียว ☝️
เขาพบว่าประเทศที่มีความสุขที่สุด เป็นประเทศที่มีชุมชนเป็นหนึ่งเดียวกันมากที่สุด เพราะสังคมแบบนี้จะมีความเข้มแข็ง มีเป้าหมายเดียวและคอยช่วยเหลือกันตลอด
ความเป็นหนึ่งเดียวของชุมชนที่ดี จะทำให้เกิดการแบ่งปันกัน
รากฐานของชุมชนแบบนี้ จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ดี
อย่างเช่น ชาวเดนมาร์กเต็มใจที่จะจ่ายภาษีที่สูงลิ่ว เพราะเค้าได้รับคุณภาชีวิตที่ดีกลับมา, การมีพื้นที่ส่วนกลาง(สวนชุมชน) ที่เป็นมิตรให้กับคนชราและคนพิการ
2. เงิน 💰
มันก็จริงอยู่ที่รายได้สูง มีความสัมพันธ์กับความสุขแบบเห็นได้ชัดเจนทุกประเทศ
หากแต่ว่า…ยิ่งเราครอบครองสิ่งใดได้มากขึ้นเรื่อย ๆ กลับกลายเป็นว่า เราเฉยชินกับความสุขที่ได้มาพักนึงเหล่านั้นมากขึ้น…
สำหรับชาวเดนมาร์ก ความร่ำรวยมากขึ้น อาจไม่ได้การันตีว่าความสุขของเราจะเพิ่มมากขึ้นตาม
เงิน จะต้องซื้อความสุขที่หาได้ไม่ยาก (เช่น หนังสือ มื้ออาหารดีดี แต่เค้าไม่ได้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
อาจมีบ้างชาวเดนมาร์กจะใช้เงินเพื่อซื้อประสบการณ์ (เช่น ท่องเที่ยว)
3. สุขภาพ 💪🚴♀
ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต มีผลต่อระดับความสุขของชาวเดนมาร์ก
(แต่ไม่ได้ถึงว่าอายุพวกเค้าจะยืนยาวนะคร้าบ เพราะคนแล้ว ฮุกกะ หรือความสุขของพวกเค้า อาจจะมาจากการกินดื่มแบบเกินตัว เพราะเค้าก็มองง่าย ๆ ว่า สุขภาพดีคือการที่เค้ามีความสุข)
สุขภาพดีที่มีความสุขในชีวิตประจำวันของชาวเดนมาร์ก ยกตัวอย่างเช่น การออกกำลังกายคู่ไปกับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การปั่นจักรยาน ไม่ว่าจะปั่นไปทำงานหรือเรียน พวกเค้าก็ชอบปั่นจักรยานเพื่อสูดรับลมอากาศดี ๆ และยังเป็นการออกกำลังกายไปในตัว อีกอย่างคือ มันเดินทางง่ายและสะดวก
การใช้จักรยานเป็นพาหนะในการเดินทางที่เพิ่มมากขึ้น ก็ทำให้การใช้รถยนต์น้อยลง ไม่มีการจราจรที่คับคั่ง ลดมลพิษทางอากาศและเสียงรบกวนรอบตัว 🚴♀
คิดแค่นี้ก็มีความสุขแล้ว 🥰
4. เสรีภาพ 👩💼
เสรีภาพสำหรับชาวเดนมาร์ก จะแตกต่างไปจากชาวอเมริกัน
เพราะเสรีภาพของชาวเดนมาร์ก คือ เสรีภาพทางการทำงาน
ชาวเดนมาร์กจะมีวัฒนธรรมของ การให้ความสำคัญกับ “Work-life balance” ที่ดีมาก ๆ
โดยเวลาเฉลี่ยในการทำงานต่อสัปดาห์ของชาวเดนมาร์กคือ 37 ชั่วโมง/สัปดาห์
(ซึ่งจะต่ำว่ามาตรฐานของโลกที่ 40 ชั่วโมง/สัปดาห์)
ปัจจัยแห่งความสุขเช่นนี้ ก็คล้ายคลึงกับปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้ดี (เช่น ต้องดูตัวเลข GDP, อัตราว่างงาน อัตราดอกเบี้ย)
5. ความไว้เนื้อเชื่อใจ 🤗
ความไว้เนื้อเชื่อใจ ในที่นี้เค้าจะหมายถึง การมี “Empathy” หรือ ความเห็นอกเห็นใจกัน ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบ และผลลัพธ์ก็คือ ก่อให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ ที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละบุคคล
6. น้ำใจ 🙏
วัฒนธรรมการมีความสุข จากการมอบให้ มากกว่า การได้รับ
ซึ่งการให้ที่ว่านี้ เค้าก็ฝังฝังลึกเข้าไปยังนิสัยเลย
จนบางที ผู้คนก็จะติดนิสัยที่ชอบให้มากกว่าเป็นผู้รับ
หรือ ผู้ได้รับก็มักจะหาบางสิ่งนำมาให้เป็นการตอบแทน
เราว่าความมีน้ำใจเนี่ย มันก็เป็นส่วนสำคัญในการสร้างสังคมฮุกกะ
"ซิสุ - Sisu" เด็ดเดี่ยวแต่ไม่โดดเดี่ยว หัวใจหลักของชาวฟินแลนด์ 🇫🇮
หลักแนวคิด ปรัชญาการใช้ชีวิตแบบชาวฟินแลนด์
ที่ว่าด้วย “การยอมรับว่าชีวิตเต็มไปด้วยความท้าทาย”
ซึ่งจะแตกต่างจากหลักคิดของชาวสแกนดิเนเวียนอันก่อน ๆ ที่จะพูดถึงการมีความสุข และ พัฒนาตนเองจากความเรียบง่าย 💪
ซิสุ อาจเปรียบได้กับการค้นหาความแข็งแกร่งของกาย-ใจ ในช่วงเวลาสุดโหด..
พูดแบบนี้ เพื่อน ๆ หลายคนอาจจะนึกถึงชาวฟินแลนด์ที่ถอดเสื้อผ้าลงไปแช่ในน้ำแข็งช่วงหน้าหนาว..
จริง ๆ มันก็เป็นหนึ่งวิธีของเค้า แต่อาจจะไม่ได้ตรงกับความหมายสักเท่าไร 😂
เอาเป็นว่ามันคือหลักแนวคิดในการส่งพลังบวกจากภายในตัวเรา ให้ออกมาเป็นพลังนั่นเอง
.
ซิสุ (Sisu) ในภาษาฟินน์ จะแปลว่า ความแข็งแกร่ง ความกล้าหาญ 🙆♂️
ซิสุ จึงเป็นหลักแนวคิดที่ว่าด้วย จะเป็นการปลูกฝังจิตวิญญาณแห่งความ แข็งแกร่ง และความอุตสาหะ ไม่ยอมแพ้ต่อข้อจำกัด เสียมากกว่า หรือ ความสามารถในการก้าวต่อไปในยามที่ยากลำบาก และ ผลักดันไม่ให้ตัวเองยึดติดอยู่กับ Comfort Zone 🏃♀
"ซิสุ" คือสิ่งที่อยู่ภายในตัวเรา เหมือนพลังงานพิเศษที่ถูกเก็บซ่อนเอาไว้ในตัวเรา
โดยชาวฟินแลนด์มองว่า ทุกเรื่องราวความสำเร็จ ย่อมต้องมีความเจ็บปวดระหว่างทางเกิดขึ้น
หากพวกเขาไม่พยายามให้ถึงที่สุด
หากว่าเราไม่ได้ลิ้มรสความเจ็บปวดก่อนที่จะไปถึงความสำเร็จที่แสนหอมหวาน
พวกเขาก็อาจจะไม่เรียกสิ่งนั้นว่า “ความสุข”
จากตัวอย่างการแช่น้ำในน้ำแข็งเนี่ย 🧊🛀
จริง ๆ เค้าแค่จะสื่อว่า ต่อให้ร่างกายเราลงไปในน้ำแข็งท่ามกลางหิมะขนาดนั้น แต่เราคงยังรู้สึกถึงความอุ่นภายในร่างกายอยู่ดี
หลังจากที่เราขึ้นมาจากหลุมน้ำแข็งแล้ว เราจะรู้สึกกระปรี้กระเปร่า สดชื่น นั่นเอง 😋🤩
เปรียบเหมือนเราพบความสุขหลังจากช่วงเวลาที่โหดร้าย
.
นอกจากแช่ตัวในน้ำแข็งแล้วเนี่ย มันก็มีอีกหลายกิจกรรมที่ทำได้ง่ายกว่า เพื่อให้เราหา ซิสุ ในตัวเอง อย่างเช่น การเดินป่า การไปแค้มปิ้ง ก็ให้ผลลัพธ์ที่สุขกายและสุขใจ(หลังจากความเหน็ดเหนื่อย)ได้เหมือนกัน
.
[ ซิสุ กับ การแก้ปัญหาชีวิตและชุมชน ]
อ่านไป อ่านมา เชื่อว่าเพื่อน ๆ คงจะรู้สึกว่าเออ ไอหลักปรัชญาอันนี้มันดูแร๊งแรงจังเนอะ แบบนี้คนเค้าก็มั่นใจตัวเอง เฟ้นหาแต่พลังบวกกันแบบนี้ แล้วเค้าไม่ทะเลาะกันเหรอ…
เท่าที่เราอ่านมาในหนังสือ เค้าบอกว่า มันก็มีบ้างนะเวลาโต้วาที ชาวฟินแลนด์ค่อนข้างตึง ๆ หน่อย คือเค้ามีจุดยืนที่เด่นในแต่ละคน แต่ว่าพวกเค้าเองกลับมาค่านิยมที่คล้ายคลึงกัน เช่น
- ไว้วางใจซึ่งกันและกัน
- เคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง
- อย่าให้ความคิดของคนอื่น มาลดทอนคุณค่าในตัวเรา
- รวมกันเราอยู่ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ทุกคนมีความกล้า และต้องกล้าที่จะอยู่เคียงข้างกันด้วย
.
☺️👍 อีกอย่างที่เราว่าแนวคิดซิสุเนี่ย มันก็ช่วยทำให้เรามองโลกที่ง่ายขึ้น
เช่น ถ้าคุณกำลังจะรีบกลับบ้าน..แต่บังเอิญรถเมล์รอบสุดท้ายเพิ่งออกจากสถานีไปแล้ว…
หลักแนวคิดของซิสุ ก็คือ ไม่เป็นไร… มันเกิดขึ้นไปแล้ว ช่างมันเถอะ งั้นเราก็เดินเพลิน ๆ ไป 3 กิโลเมตร เพื่อกลับบ้านแทนละกันนะวันนี้…
(ต้องอย่าลืมว่าสภาพแวดล้อมของบ้านเค้าอาจจะทำให้เรื่องการเดินกลับบ้าน 3 กิโล ยามค่ำคืนมันง่ายและปลอดภัยด้วยนะคร้าบ)
แค่อยากให้เห็นแนวคิดของซิสุ คือการเพิ่มพลังการมองโลกในแง่บวก มองโลกให้ไม่ซับซ้อน
ความทุกข์ที่เราอาจเจออยู่ ก็จะเปลี่ยนเป็นความสุขได้ไม่ยาก
.
ถ้ามองจากสายตาของคนต่างชาติ เราอาจมองผ่าน ๆ ว่าคนฟินแลนด์ดูท่าจะชิลชิล สบาย ๆ
แต่ในความเป็นจริงแล้ว พวกเค้าเองก็มีการท้าทายสิ่งใหม่ ๆ ให้ตัวเองกันอยู่เรื่อย ๆ นะ ไม่ได้ปล่อยให้ตัวเองขี้เกียจหรือสโลว์ไลฟ์กันมาก
แต่เรียกได้ว่า พวกเค้าใช้พลังซิสุ ในการสร้างสมดุลทั้งกาย-ใจ พร้อมเสริมความแข็งแกร่ง จัดตารางชีวิตให้กับตัวเองอยู่เป็นประจำ
.
ว่ากันว่า ปรัชญาซิสุเนี่ย ยังเป็นปรัชญาสำคัญที่ เรียกได้ว่าเป็น “ปรัชญาสร้างชาติ” ที่ทำให้ประเทศเล็กๆ อย่างฟินแลนด์ สามารถเอาชนะประเทศมหาอำนาจ อย่างสหภาพโซเวียตในสงครามฤดูหนาวเมื่อปี ค.ศ. 1940 🇫🇮 🇫🇮
มีความสุขแบบพอดี สุขแบบ "ลอกม - LAGOM" 🇸🇪
LAGOM หรือ ลา-กอม/ลอกม เป็นคำในภาษาสวีเดน ที่แปลว่า ไม่มากและไม่น้อยไป
ก็คือ เขาจะเน้นไปที่เรื่องของความพอดี นั่นเอง
ความพอดีในเรื่องของความต้องการ (want) - สิ่งที่จำเป็น (need) ในชีวิต
ความไม่มากไม่น้อยในการทำอะไรก็ตาม คือ ไม่ทำสุดโต่ง แต่ก็ไม่ปล่อยปละ
เขาก็จะเปรียบเทียบไปยังเรื่องของ..
1. การเลือกซื้อนมของชาวสวีเดน 🥛
โดยชาวสวีเดน จะชอบเลือกดื่มนม ที่มีไขมัน 1.5 เปอร์เซ็นต์
เพราะพวกเขามองว่ามีไขมันที่พอดี ไม่มากไม่น้อย เกินไป
2. การตกแต่งบ้าน 🏡
เรื่องของความพอดี ในการเลือกสีและเฟอร์นิเจอร์ในการตกแต่งบ้าน
โดยชาวสวีเดนจะเลือกใช้สีประมาณ 2-3 โทนสี และจะเป็นไปในทางเดียวกัน ทั้งตัวบ้านและเฟอร์นิเจอร์
3. การทานอาหาร 🥗
การหาความสมดุลของการกินอาหาร กินผักผลไม้แต่พอดี กินของหวานให้อร่อยแบบพองาม
อย่างเช่น ถ้าเรารู้ว่า เราทานของทอดมากเกินไปแล้วเป็นร้อนใน…
ทำไมเราถึงไม่ทานให้น้อยลงละ ?
4. Work-life Balance 👩💼
หัวข้อนี้…แทบจะพบในทุกหลักการของชาวสแกนดิเนเวียเลยก็ว่าได้เนอะ
แต่ในหลักของลอกมเนี่ย เค้าแนะนำให้เราจัดหาเวลา “Me time” หรือเวลาสำหรับตัวเอง อาจจะดื่มกาแฟพร้อมขนมปังชินนามอน หาเวลางีบสักหน่อย
อีกคำว่าที่เราว่าผู้เขียนหนังสือใช้คำได้ดีคือ “หาข้ออ้าง เพื่อให้ตัวเราได้พักผ่อนบ้าง”
5. “You give and you take” 🤝
ความพอดีในที่นี้ ยังหมายถึงการเป็นผู้รับ และ การเป็นผู้ให้ ที่ดีอีกด้วยนะ
ค่อนข้างตรงตัวเนอะ คงไม่มีใครที่อยากรับมากกว่าการให้
บางทีการเป็นผู้ให้เนี่ย ก็มีความสุขมากเหมือนกันนะ (แต่ไม่ใช่ให้จนหมดตัวนะคร้าบ 😅 ต้องประมาณตนกันด้วยนะ)
.
หลักแนวคิดความพอดีของ ลา-กอม ก็เลยทำให้เกิดมุมมองในการพัฒนาตัวเองได้
อย่างเช่น การหาช่วงจังหวะที่ดีที่สุดของชีวิตให้เจอ หรือ การพัฒนาตัวเองแบบยั่งยืน โดยเน้นไปที่เป้าหมายระยะไกล หรือ การมองในเรื่องของการแข่งขันเพื่อเอาชนะตัวเอง มากกว่าเพื่อเอาชนะผู้อื่น เป็นต้น
.
นอกจาก ลอกม แล้ว
ชาวสวีเดนก็ยังมีปรัชญาที่เคียงคู่ไปกับแก้วกาแฟอย่าง “Fika” กันอีกด้วยนะ 🇸🇪☕
“Fika” ว่าง่าย ๆ คือ การหยุดพักสัก 15-20 นาที หยุดโฟกัสกับทุกสิ่งอย่าง ตัดสิ่งรบกวนภายนอกทั้งหมด
แล้วหันมาให้ความสนใจกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า โดยมากช่วงเวลา “Fika” จะเป็นเวลาจิบกาแฟ /ชา พร้อมสนทนากับบุคคลที่อยู่ข้างหน้า
ซึ่งแนวคิดเค้าก็มีฐานมาจาก ลอกม ที่ว่าด้วยการค้นหาความสุขในความพอดี ไม่ทำอะไรที่สุดโต่งเกินไป นั่นเอง
อันที่จริงหลักแนวคิด “Fika” มันมีความหมายที่มากกว่าช่วงเวลา coffee break
แต่ก่อนที่จะยาวเกินไป ไว้พวกเราจะมาเล่าให้ฟังในโพสต์ถัดไปนะคร้าบ
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม
- หนังสือ The Little Book of Hygge เขียนโดย Meik Wiking
- หนังสือ The Little Book of Lykke เขียนโดย Meik Wiking
- หนังสือ Everyday Sisu : ปรกติเป็นพิเศษ เขียนโดย Katja Pantzar
- หนังสือ Lagom: Not Too Little, Not Too Much เขียนโดย Niki Brantmark
- หนังสือ Lagom The Swedish Art of Balanced Living เขียนโดย Linnea Dunne
ไลฟ์สไตล์
พัฒนาตัวเอง
ความรู้รอบตัว
บันทึก
2
2
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย