8 ก.ค. 2023 เวลา 05:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

สูตรลัดพอร์ตรุ่ง ระดับรางวัลโนเบล 🏆

คุณเคยเล่นเกมไหมครับ?
ไม่ว่าจะเป็น เกมคอมพิวเตอร์ เกมมือถือ บอร์ดเกม หรือเครื่องเกมหลากหลายชนิดบนโลกนี้
ก็ย่อมเป็นกิจกรรมที่หลายคนนึกถึงเวลาอยากคลายเครียด
แต่บางทีการเล่นเกมก็พาเราเครียดได้เหมือนกันครับ เพราะถึงจะเป็นเรื่องเล่นๆ แต่เราก็อยากจะเอาชนะให้ได้ 😎
แต่ข้อดีของเกมบางเกมคือ ถ้าคุณศึกษามันดีๆ จะมี ‘สูตรลัด’ ที่ทำให้คุณชนะได้ง่ายขึ้น หรือได้ตัวช่วยที่ทำให้คุณไม่ต้องเครียดเกินไปได้เหมือนกัน 😄
ถึงขนาดที่ว่าใครหลายๆ คน อาจจะเคยจินตนาการถึงการ ‘กดสูตร’ ในชีวิตจริง ที่วาดฝันว่าจะทำให้เรื่องยากๆ ที่กำลังประสบพบเจอ กลายเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นได้ 🪄
แล้วถ้ามี #สูตรลัด ในชีวิตจริง อยากลัดกับเรื่องอะไรกันบ้างครับ 🕺
…แม้ว่าในความเป็นจริง เราอาจจะไม่มีสูตรลัด ที่ทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้น หรือช่วยให้ปัญหาในชีวิตนั้นหมดไป แต่ใน #โลกการลงทุน เราสามารถ ‘กดสูตร’ ได้ครับ แถมยังเป็นสูตรที่ได้รับการยอมรับจนถึงขนาดได้รับรางวัลโนเบลอีกด้วย 🤩
⭐️ เปิดสูตรลัดพอร์ตรุ่ง ระดับรางวัลโนเบล
สูตรที่ว่าคือ ‘Modern Portfolio Theory’ ครับ 🎉
แต่อย่าพึ่งดีใจไป เพราะมันไม่ใช่แค่การกดสูตร จิ้มสองสามครั้งที่คีย์บอร์ดหรือกดปุ่มแบบไวๆ บนจอยสติกนะครับ แต่เป็น สูตร ‘การจัดสรรสินทรัพย์ในพอร์ตการลงทุน’
👍🏻 จุดเริ่มต้นของสูตรลัด
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักสูตรนี้คร่าวๆ กันสักหน่อยครับ
ย้อนกลับไปปี 2495 ก่อนที่ประเทศไทยอันธพาลจะครองเมือง แดงไบเล่จะโด่งดังจนกลายเป็นภาพยนต์ ข้ามไปอีกฟากของโลก นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันนามว่า Harry Markowitz ได้นำเสนอหลักการในบทความวิชาการหัวข้อ Portfolio Selection
ว่าด้วยการจัดสรรพอร์ตการลงทุนด้วยสมการ Modern Portfolio Theory เปลี่ยนจากการวิเคราะห์การลงทุนแบบรายตัวมาเป็นวิเคราะห์การลงทุนแบบ Portfolio สมัยใหม่ 🌟
ซึ่งต่อมาแนวคิดนี้ของ Markowitz ก็ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 2533 🏆
โดยที่มาของแนวคิดนี้คือ ลึกๆ แล้วนักลงทุนไม่ได้ชอบความเสี่ยงครับ (นักลงทุนชอบผลตอบแทน) หรือถ้าจะต้องเสี่ยง ผลลัพธ์ที่ได้จะต้องคุ้มค่ากับความเสี่ยงครับ
หากความเสี่ยงไหนที่วิเคราะห์แล้วว่าไม่คุ้ม หลายคนอาจจะหันกลับมาเลือกอะไรที่ผลตอบแทนน้อยลง แต่สบายใจมากกว่า ❤️
เช่นให้คุณเดินข้ามถนนแปดเลนเพื่อไปรับเงินรางวัล 1 ล้านบาท กับเดินข้ามถนนแค่สองเลนเพื่อรับเงิน 8 แสนบาท คุณอาจจะเลือกเงินแค่ 8 แสนเพราะส่วนต่าง 2 แสนบาทนั้นไม่คุ้มกับความเสี่ยงที่มากขึ้นนั่นเอง
แต่ในการลงทุนจริง ไม่ได้มีเงินวางไว้ให้เห็นอย่างนั้นครับ 😱
 
เราไม่รู้ครับว่า ข้ามถนนที่มีแค่สองเลนไปแล้วจะได้ผลตอบแทนเท่าไหร่ อาจจะน้อยกว่าการเสี่ยงข้ามถนนแปดเลนแบบฟ้ากับเหวเลยก็ได้
ดังนั้นโจทย์ก็คือถ้าเรารู้แล้วว่าเราไหวที่สองเลน…แล้วเราจะทำยังไงให้ข้ามไปแล้วได้ผลตอบแทนมากที่สุด 💸
1
นั่นก็คือ ถ้ามีสินทรัพย์ 2 ตัวที่มีกำไรและความเสี่ยงต่างกัน ตัวที่มีกำไรมากกว่าย่อมต้องมีความเสี่ยงมากกว่าใช่ไหมครับ แล้วจะทำยังไงให้ตัวที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าทำกำไรได้มากขึ้น โดยความเสี่ยงไม่มากตามไปด้วย
ซึ่ง Markowitz ได้หาคำตอบแบบนี้ครับ
สมมติว่ามีสินทรัพย์ 2 ตัวคือ A กับ B ให้เลือกลงทุน จากเดิมที่จะวิเคราะห์ทั้ง A และ B เพื่อจะเลือกซื้อตัวใดตัวนึง
แต่ทำไมต้องทำแบบนั้นล่ะ? (Markowitz ไม่ได้กล่าว)
หลักการ Modern Portfolio Theory คือ เราจะวิเคราะห์ทั้ง A และ B รวมกันเป็นพอร์ตเดียวครับ โดยให้น้ำหนักแต่ละตัวต่างกัน จากนั้นจึงนำมาวิเคราะห์กำไรต่อความเสี่ยงของพอร์ตนั้นๆ
1
มาขยายความตรงนี้กันสักหน่อยครับ โดยใช้ตัวอย่างสินทรัพย์ A และ B เช่นเคย ✍️
การรวมสินทรัพย์ สิ่งที่ต้องคำนวณมี 2 อย่างครับ นั่นก็คือ กำไร และ ความเสี่ยง
ซึ่งกำไรของทั้ง A และ B มันก็คือกำไรเหมือนกัน ใช้วิธีคิดหรือตีเป็นมูลค่าแบบเดียวกัน จึงสามารถคิดรวมกันได้เลย 💪
แต่ความเสี่ยงไม่สามารถรวมกันตรงๆ แบบนั้นได้ครับ เพราะความเสี่ยงของสินทรัพย์แต่ละตัวแม้จะสามารถตีออกมาเป็นระดับหรือเปอร์เซ็นได้เหมือนกัน แต่นิยามความเสี่ยงอาจจะต่างกันสิ้นเชิง 🤯
จึงต้องมีค่าสหสัมพันธ์(Correlation) เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยครับ 💫
ซึ่งค่าที่ว่านี้จะเป็นตัวบ่งบอกว่าสินทรัพย์ที่ลงทุนนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ยิ่งค่าสหสัมพันธ์ต่ำ ก็มีโอกาสที่ความเสี่ยงโดยรวมจะลดลงได้ครับ เช่น A ลบ แต่ B คงที่ หรือเป็นบวก พอร์ตรวมก็จะติดลบน้อยลงครับ
ทำให้เมื่อ A และ B รวมกันในพอร์ตเดียว กำไรก็จะเพิ่มขึ้น แต่ความเสี่ยงไม่ได้เพิ่มขึ้นตามเพราะมีเรื่องของ ค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) เข้ามาเอี่ยวด้วยนั่นเอง
ใส่ตัวเลขให้เห็นภาพ เช่น A กำไร 10% ความเสี่ยง 8% ส่วน B กำไร 15% ความเสี่ยง 12% และให้เราลงทุนทั้ง 2 ตัว ตัวละ 50% ของพอร์ต น้ำหนักแต่ละตัวจะเท่ากับ 0.5 เมื่อรวมกันแล้วจะได้กำไรอยู่ที่ 12.5% [(10*0.5)+(15*0.5)]
แต่ความเสี่ยงจะไม่เท่ากับ 10% [(8*0.5)+(12*0.5)] โดยจะมีค่าน้อยกว่า หรือมากกว่าขึ้นอยู่กับค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) ที่เข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญอีกทีครับ 🤓
ทั้งหมดนี้คือไอเดียของ Modern Portfolio Theory ครับ 🌟
ซึ่งความจริงไม่ได้คำนวณสินทรัพย์หรือหุ้นแค่ 2-3 ตัว แต่เป็นการคำนวณที่หลากหลายครับ จนได้ออกมาเป็นพอร์ตการลงทุนที่ขยายผลกำไรได้มากที่สุด ในความเสี่ยงที่น้อยที่สุด
🗒️ เตรียมกระดาษมาจดสูตร
เมื่อทำความรู้จักสูตรหรือทฤษฎีไปแล้ว เรามาต่อที่วิธี ‘กดสูตร’ หรือวิธีการปรับใช้กันเลยครับ 😎
8
จากแนวคิดและวิธีการคำนวณต่างๆ สามารถสรุปออกมาได้ 2 หลักสำคัญ นั่นก็คือ
1.จัดสรรสินทรัพย์ (Asset allocation) คือการคัดเลือกสินทรัพย์หลากหลายประเภทที่มีค่าสหสัมพันธ์ต่ำ หรือไม่ค่อยมีความสัมพันธ์กัน เมื่อตัวนึงราคาตก อีกตัวอาจจะขึ้น ส่งผลให้มูลค่าพอร์ตโดยรวมไม่ผันผวนมาก
2.การกระจายความเสี่ยง (Diversification) คือเมื่อคุณได้สินทรัพย์ต่างประเภทมาจัดพอร์ตถ่วงดุลกันแล้ว หลักทรัพย์ในแต่ละประเภทควรมีการกระจายความเสี่ยงที่เหมาะสมด้วย
เช่นหากมีการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทหุ้น ก็ควรจะประกอบไปด้วยหุ้นในแต่ละอุตสาหกรรม หรือ กระจายไปในแต่ละประเทศ เช่น หุ้นประเทศพัฒนาแล้ว กำลังพัฒนา และตลาดเกิดใหม่ เป็นต้นครับ
ซึ่งทั้ง 2 เป็นเพียงไม่กี่สิ่งในโลกการลงทุนที่คุณสามารถควบคุมได้ครับ ไม่เหมือนสภาวะตลาด เศรษฐกิจ หรือราคาหลักทรัพย์ ที่คุณไม่สามารถควบคุมหรือคาดการณ์ได้
ดังนั้นหากคุณต้องการตัวช่วยที่จะทำให้ สามารถลงทุนระยะยาวได้แบบสบายใจมากขึ้น ก็ลองนำสูตร Modern Portfolio Theory ไปปรับใช้ตามสไตล์ที่เป็นตัวคุณได้เลยครับ 😁
😘 ลงทุนตามสูตร ง่ายๆ ด้วย Global ETF
5
หรือหากใครต้องการตัวช่วยที่มากกว่านั้น Jitta Wealth ยินดีนำเสนอ นโยบายการลงทุน Global ETF ที่จัดพอร์ตตามหลักการ Modern Portfolio Theory โดยแบ่งสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ 2 ประเภทคือ หุ้นและตราสารหนี้
โดยการลงทุนผ่าน ETF ที่มีการกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม และคุณสามารถเลือกสัดส่วนการลงทุนในระดับความเสี่ยงที่คุณรับได้ด้วย ❤️
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ jitta.co/3XJbrOV
หวังว่าสูตรลัดการลงทุนนี้ จะทำให้คุณลงทุนได้อย่างมีความสุขมากขึ้นนะครับ
โฆษณา