8 ก.ค. 2023 เวลา 16:25 • หนังสือ

ปรัชญาสโตอิก🌟

📗หนังสือ: THE LITTLE BOOK OF STOICISM
✍️ผูเขียน : Jonas Salzgeber
🗣️เป็นหนังสือปรัชญาที่ผมว่ามีคำคมดีๆ เยอะมาก 
หลักการก็เข้าใจง่าย สามารถปฏิบัติได้เพราะมีแบบฝึกฝนให้เราถึง 55 แบบ
🔺สามเหลี่ยมความสุขของปรัชญาสโตอิกประกอบไปด้วย
1.ยูไดโมเนีย ซึ่งอยู่ตรงกลางของสามเหลี่ยม และเป็นแก่นของปรัชญานี้ 
2.ด้านมุมซ้ายร่าง คือการใช้ชีวิตอยู่กับอาราเต้
3.ด้านมุมขวา คือสนใจสิ่งที่คุณควบคุมได้
4.มุมสุดท้ายด้านบน คือรับผิดชอบ
มาเริ่มกันที่ ”ยูไดโมเนีย”(Eudaimonia) ในภาษากรีก daimon หมายถึง ตัวตนที่ดีที่สุด หรือจิตวิญญาณภายใน ส่วนคำว่า Eu หมายถึง ความสอดคล้อง👻❤️
เอามายำรวมกัน มีความหมายว่า
 “เป็นได้อย่างจิตวิญญาณภายในของตัวเอง” 
ซึ่งสำหรับชาวสโตอิก Eudaimonia คือเป้าหมายสูงสุดของชีวิต ถ้าเป็นศาสนาพุทธผมคิดว่าน่าจะเป็น “นิพพาน” 

ถ้าพูดให้ง่ายๆ ยูไดโทเนีย คือ การใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับตัวตนในอุดมคติเท่าที่เป็นไปได้😮😮

ซึ่งจะสำเร็จได้ต้องมีการใช้ชีวิตอยู่กับอารเต้หนึ่ง สนใจในสิ่งที่ควบคุมได้หนึ่ง และรับผิดชอบหนึ่ง
เพื่อความรวดเร็ว 
1.การใช้ชีวิตอยู่กับอาราเต้ คือการแสดงตัวตนสูงสุดของตัวเองออกมาใน ทุกๆ ขณะ 
ชาวสโตอิกเขาหมายถึงให้เราพยายามปิดแกป หรือช่องว่างของตัวตนในอุดิมคติ(ยูไดโมเนีย) กับคนแบบที่เราเป็นอยู่ ณ ตอนนี้ในทุกขณะ 🌟🌟🌟
2.สนใจในสิ่งที่ควบคุมได้ คือการให้เรายอมรับไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น และทำมันให้ดีที่สุด เพราะสิ่งที่เราควบคุมได้จริงๆ มีเพียงวิจารณญาณในการเลือก และการกระทำของเรา ด้วยเหตุนี้ชาวสโตอิกให้เราพุ่งเป้าไปที่กระบวนการ เนื่องจากผลลัพท์เป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ 🤪🤪
ยกตัวอย่างเช่น การลงทุนในหุ้น เราแค่ต้องมีกระบวนการคัดเลือกหุ้นที่คิดว่าจะนำเราไปสู่ผลตอบแทนที่ดีที่สุด 
แต่แน่นอนผลลัพท์เป็นคนละเรื่องกับกระบวนการทั้งหมด 😫😫

ฉนั้นขอแค่เราให้ความสำคัญที่กระบวนการที่จะนำเราไปสู่ผลลัพท์ที่ดีที่สุด สุดท้ายไม่ว่าผลลัพท์จะเป็นอย่างไร เราจะพร้อมรับด้วยในที่สงบ มั่นใจ และรู้ว่าได้พยายามอย่างดีที่สุดแล้ว😌😌
3.รับผิดชอบ คือการอย่าโทษคนอื่น หรือสถานการณ์ภายนอกสำหรับความรู้สึกแย่ที่เรารู้สึกอยู่ จงรับผิดชอบตัวเอง เพราะเราไม่อาจควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกรอบตัวเรา แต่เรามีอำนาจในการควบคุมความคิดเห็นของเราต่อเหตุการณ์เหล่านั้น🫡🫡

🧔🏼‍♀️เอพิคเตตัสบอกว่า
“เราไม่สามาถเลือกเกตุการณ์ภายนอกได้ แต่เราสามารถเลือกได้เสมอว่าจะตอบโต้กับมันอย่างไร”
.
มีรายระเอียดอีกมาก คนไหนที่ชอบเรื่องปรัชญาผมว่าดี๊ดี…
โฆษณา