10 ก.ค. 2023 เวลา 08:59 • อาหาร
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

น้ำปลาร้าต้มสุก!! แบบไหนร่างกายให้ผ่านนน!!

ตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ มีดราม่าหนักหน่วงเรื่องน้ำปลาร้าต้มสุก ซึ่งเกี่ยวข้องกับชาวเราสุดๆ เพราะน้ำปลาร้าต้มสุก เป็นส่วนประกอบของอาหารจานโปรด แซ่บปากรอบตัวเรา ไม่ว่าจะส้มตำปู ปลาร้า น้ำพริก รวมไปถึงต้มผัด แกงทอดที่หยอดนิด หยอดหน่อย ก็แซ่บขึ้นมาเฉยเลย
ใดๆ เลย จากดราม่าในเรื่องนี้ เราจึงได้ยินคำว่าการผลิตที่ “ไม่ได้มาตรฐาน” นิตยสารฉลาดซื้อเอง ได้ทดสอบน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ ในปี 2562 โดยได้เก็บตัวอย่างน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ จำนวน 15 ส่งวิเคราะห์หาสารโลหะหนักตะกั่วและแคดเมียม และเพิ่มการทดสอบปริมาณสารกันบูดกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกด้วย
.
เพราะนอกจาก ‘อร่อย’ หรือ ‘ไม่อร่อย’ ‘เค็มไป’ หรือ ‘กำลังดี’ ในน้ำปลาร้าต้มสุกอาจมีสารหลายอย่างที่ไม่ปลอดภัยต่อร่างกายได้ ซึ่งเป็นสารที่ฉลาดซื้อ ทดสอบหาใน 15 ตัวอย่างน้ำปลาร้าต้มสุกครั้งนี้
.
ผลทดสอบตะกั่วใน น้ำปลาร้าทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529 คือไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม
ผลทดสอบน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ ปี 2562 โดย นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผูุ้บริโภค
ผลทดสอบแคดเมียม เนื่องจากไม่มีเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศ ฉบับที่ 98 จึงใช้เกณฑ์เทียบเคียงจากของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำปลาร้า ของสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม คือ แคดเมียม ต้องน้อยกว่า 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม พบว่า ทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มผช. เช่นกัน
 
ผลทดสอบหาปริมาณสารกันบูด ก็พบว่าทั้ง 15 ตัวอย่างที่ส่งทดสอบไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนดคือ ไม่เกิน 1,000 มก./กก.
 
โอเค... แบบนี้ค่ะ ที่ร่างกายบอกว่า ผ่านนน!
อ่านผลทดสอบฉบับเต็มได้ที่ เว็บไซต์นิตยสารฉลาดซื้อ
ช่องทางการร้องเรียนกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
โฆษณา