Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BETTERCM
•
ติดตาม
10 ก.ค. 2023 เวลา 12:52 • สุขภาพ
โรคไต - ยา อาหาร ควรระวัง
⚠️ยาที่มีอันตรายต่อไตอาจจะทำให้ไตวาย หรือการดำเนินของโรคแย่ลงได้ในผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหรือเป็นโรคไตเรื้อรังอยู่แล้ว
❗ยาแก้ปวดกลุ่มเอ็นเสด(NSAIDs)
ตัวอย่างยาชื่อในกลุ่มนี้ เช่น
แอสไพริน(aspirin)
ไอบูโพรเฟน(ibruprofen)
พอนสแตน(ponstan®)
ไดโคลฟีแน็ก(diclofenac) เป็นต้น
❗ยาแก้ปวดกลุ่มที่สำคัญอีกกลุ่มคือยากลุ่มค็อกทู(COX-2)
ตัวอย่างชื่อยากลุ่มนี้ เช่น
ซีลีเบรกซ์(cerebrex®)
อาร์คอกเซีย(arcoxia®)
ยาแก้ปวดทั้งสองกลุ่มนี้ มีรายงานว่าทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น
❗ยาปฏิชีวนะบางชนิด เช่น
ยาซิโปรฟลอกซาซีน(ciprofloxacin)
ยาปฏิชีวนะฉีดกลุ่มอะมิโนไกล์โคไซด์ (aminoglycoside) เช่น ยาเจนตามัยซิน(gentamycin) ยาอะมัยกิน(amikin)
นอกจากนี้ยาหรือสารทึบรังสีที่ใช้ในการตรวจซีทีแสกน ก็มีความเสี่ยงจะทำให้ไตเสื่อมมากขึ้นได้ ปกติแพทย์จะพิจารณาใช้ด้วยยากลุ่มนี้ความระมัดระวัง
⚠️กลุ่มสมุนไพรหรือผลไม้ที่มีข้อมูลว่าอันตรายต่อผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงหรือเป็นโรคไตเรื้อรัง เช่น
มะเฟือง
ลูกเนียง (มีสารที่ก่อให้เกิดอาการพิษที่ชื่อว่า กรดแจงโคลิค (djenkolic acid) ซึ่งเป็นพิษต่อไตอาจส่งผลให้ระบบไตล้มเหลวได้)
ไคร้เครือ (เป็นพิษต่อตับ ไต และ ต่อมหมวกไต โดยทำให้เกิดไตวายและเป็นมะเร็งทางเดินปัสสาวะ)
แฮ่ม
หนานเฉาเหว่ย (ป่าช้าเหงา)
❗นอกจากนี้ตัวอย่างสมุนไพรที่อาจจะมีความเสี่ยง เช่น
ชะเอมเทศ (อาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูง)
เห็ดหลินจือ
โสม (เสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงหากกินมากเกินไป)
ลูกยอ (อาจทำให้มีโพแทสเซียมในเลือดสูง เป็นอันตรายต่อไต)
หญ้าไผ่น้ำ (มีฤทธิ์ขับปัสสาวะทำให้ไตต้องทำงานหนักมากเกินไป)
ปอบิด (หรือปอกะบิด:เพิ่มการทำงานของตับและไต)
หญ้าหนวดแมว (อาจทำให้มีโพแทสเซียมในเลือดสูง เป็นอันตรายต่อไต)
มะนาวโห่ (อาจมีผลทำให้ไตขับสารโพแทสเซียมออกมาไม่ทัน ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ)
เถาวัลย์เปรียง (มีสารแก้ปวดคล้ายยากลุ่มเอ็นเสด)
ปวยเล้ง (มีปริมาณโพแทสเซียมที่สูง ไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง)
ตะลิงปลิง
แครนเบอรี่ (กินมากทำให้เกิดนิ่ว ไตทำงานผิดปกติ)
ต้นอ่อนข้าวสาลี (มีปริมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูงมาก
👨🔬เมื่อป่วยเป็นโรคไต ประสิทธิภาพการทำงานของไตก็จะลดลง ส่งผลให้การควบคุมการขับของเสียออกจากร่างกายแย่ไปด้วย ดังนั้นผู้ป่วยที่ไตเริ่มเสื่อม และผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ต้องดูแลตัวเองให้ดี โดยเฉพาะเรื่องคุมความเสี่ยงและโรคร่วมซึ่งมีผลกับไต ระวังการใช้ยาและสมุนไพรที่เป็นผลเสียต่อไต รวมไปถึงการลดเค็มในอาหาร
😄มีปัญหาเรื่องการใช้ยา เชิญปรึกษาเภสัชกร
.
.
https://www.med.cmu.ac.th/web/news-event/news/pr-news/8100/
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
ภาพจาก
คำจำกัดความโรคไตเรื้อรัง
(Chronic kidney disease, CKD)
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย
https://drive.google.com/file/d/1iUiXLhY-blCABP0nqM3R-gelZp2ZpaV4/view
.
.
POSTED 2023.07.10
บทความอื่น
ไ ต เ สื่ อ ม
https://www.blockdit.com/articles/5ee2aa40c6b32c113541527c
https://www.blockdit.com/posts/60f856fee8120e240915f29a
ยาแก้ปวดที่ผู้ป่วยโรคไตใช้ได้ มีอะไรบ้าง
https://www.blockdit.com/posts/63dbb029254b5f37b08d11d8
NSAIDS กับโรคไต
https://www.blockdit.com/posts/61b0b97c88470f11dc42026a
💊การใช้ยาต้านฮิสทามีนรุ่นที่สอง (second generation antihistamine) ในกรณีที่เป็นโรคตับหรือโรคไต
https://www.blockdit.com/posts/63d554206075ed348dc5317a
💊กินยาอย่างไร ไตไม่พัง?
https://www.blockdit.com/posts/623e9dd9f76f0bf7a4521023
1 บันทึก
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย