10 ก.ค. 2023 เวลา 13:06 • ประวัติศาสตร์

ทะไลลามะองค์ที่6 ชังยัง กยัตโซ ผู้ทิ้งรอยปริศนาให้กับทิเบต 达赖喇嘛六世——仓央嘉措

โดยบทความนี้จะเป็นการเกริ่นนำถึงความเป็นของทะไลลามะ เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงตัวบริบท ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อเรื่องของ ชังยัง กยัตโซ ผู้พลิกประวัติศาสตร์และทิ้งรอยปริศนาไว้
  • “达赖喇嘛”一词的含义ความหมายของทะไลลามะ
ทะไลลามะหรือที่ในภาษาจีนใช้คำว่า 达赖喇嘛 Dálài lǎma ผู้ปกครองทิเบต ซึ่งปัจจุบันพื้นที่ทิเบตถูกจัดให้เป็นพื้นที่ปกครองตนเองภายใต้กฏหมายรัฐบาลจีน 西藏自治区 Xí zàng zìzhì qū
หากกล่าวถึงทิเบต มักจะมีสองสิ่งที่ผุดขึ้นมาในจินตนาการของเรา นั้นก็คือเทือกเขาหิมาลัย และองค์ทะไลลามะที่ประจำอยู่พระราชวังโปตาลา หากย้อนกลับไปเมื่อสมัยราชวงศ์หยวน(1271-1368) ถือเป็นครั้งแรกที่พื้นที่ทิเบตถูกจัดให้เข้ามาเป็นอาณาเขตของแผ่นดินจีน แต่เนื่องด้วยในสมัยก่อนการสัญจรยังคงลำบาก
ภาพจาก : https://lyw.xizang.gov.cn/yj_details-y9870.html
อีกทั้งลักษณะทางภูมิประเทศของทิเบตเป็นเทือกเขาสะส่วนใหญ่ จึงทำให้จักพรรดิที่ปกครองแผ่นดินจีนเดินทางตรวจตรา หรือบริหารแผ่นดินในส่วนนี้เป็นเรื่องที่ลำบากพอสมควร จวบจนมาสมัยราชวงศ์ชิงจึงได้มีการจัดตั้งผู้ปกครองพื้นที่ทิเบตขึ้น ซึ่งใช้วิธีการเสี่ยงทายจากแจกันทอง (金瓶掣签制度)
  • จุดเริ่มต้นทะไลลามะ เจ้าราชันแห่งอาณาจักทิเบต
จุดเริ่มต้นของทะไลลามะองค์ที่หนึ่งอยู่ที่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 การถือกำเนิดของตำแหน่งทะไลลามะกลับเกิดจากข่านผู้ยิ่งใหญ่ชาวมองโกล ผู้นําชนเผ่าทูเม็ต มองโกล 蒙古土默特部顺义王 (Tumed Mongols) ครั้นนั้นได้มาเผยแพร่ศาสนาอยู่ ณ บริเวณ ชิงไฮ่ 青海 ปัจจุบันตั้งอยู่แทบมณฑลกานซู
หลังถูกขับไล่ออกจากจีน อัลตันข่านได้เชิญ โสนัม กยัตโซ(索南嘉措) เจ้าอาวาสของมหาอารามเดรปุงแห่งนิกายเกลุก อัลตันข่านเปี่ยมไปด้วยปรารถนาในพระพุทธศาสนา ในตัวของโสนัม กยัตโซ และได้ประทานชื่อตำแหน่งเจ้าแห่งทิเบตว่า ทะไลลามะผู้ทรงภูมิปัญญาแห่งมหาสมุทร ซึ่งในภาษาจีนใช้คำว่า “达赖喇嘛——遍知一切德智如海之金刚上师” คุรุผู้ทรงภูมิปัญญาแห่งมหาสมุทร
ภาพจาก : https://www.baike.com/album/
  • 金瓶掣签制度 གསེར་བུམ་སྐྲུག་པ แจกันทองคำเสี่ยงทายร่างอวตารทะไลลามะ
การเสียงทายเพื่อหาวิญญาณที่กลับชาติมาเกิดขององค์ทะไลลามะมีขึ้นเมื่อปีคริสต์ศักราช 1792 สมัยจักพรรดิเฉียนหลง ซึ่งจะทำการเสี่ยงทายโดยผ่านวิธีการคล้ายกับการเสี่ยงเซียมซี โดยนำชื่อและวันเดือนปีเกิดของเด็กที่คาดว่าน่าจะเป็นร่างอวตารเขียนบนไม้เซียมซีซึ่งจะใช้อักษรฮั่น ทิเบต และแมนจู หลังจากนั้นนำไม้เซียมซีใส่ลงไปในแจกันสีทอง (金瓶) โดยพิธีจะนำสวดโดยตุลกู Tulku (活佛) เป็นเวลาเจ็ดวัน จึงจะทำการเสี่ยงทาย
金瓶掣签制度
ในปีที่มีการจัดพิธีเสี่ยงทายร่างอวตารของทะไลลามะ หากขุนนางออกตามหาเด็กได้เพียงแค่ผู้เดียว ก็จะนำชื่อและวันเดือนปีเกิด เขียนบนไม้เซียมซีเพียงแค่ไม้เดียวและใส่ลงไปพร้อมกับไม้เซียมซีที่ไม่ได้เขียนชื่อของผู้ใดลงไปด้วย จะทำเช่นนี้ไปจนกว่าจะจับไม้เซียมซีที่มีชื่อของเด็กผู้ใดผู้หนึ่งได้
ซึ่งตัวแจกันทองปัจจุบันมีอยู่สองที่ ที่นึงคือพระราชวังยงเหอ ณ กรุงปักกิ่ง (Lama Temple)ไว้สำหรับให้แทบพื้นที่มองโกลใช้ประกอบพิธีเสี่ยงทางร่างอวตาร อีกที่นึงคือที่เมืองลาซ้า ไว้ให้สำหรับทิเบต ชิงไฮ่ใช้ในพิธีเสี่ยงทายเช่นกัน
ส่วนตอนหน้าจะมาเล่าเกี่ยวกับเรื่องราวของ ชังยัง กยัตโซ ทะไลลามะองค์ที่6ผู้ที่ทิ้งร่องรอยปริศนาชวนคิดให้กับคนรุ่นหลังไว้มากมาย
โอ้ นกกระเรียนขาว
白色的野鹤啊
ฉันขอยืมปีกเจ้าที
请将飞的本领借我一用
ไม่ได้ไปที่ไหน
我不到远处去耽搁
สู่ลิถังแล้วจะกลับมา
到理塘去一遭就回来
ชังยัง กยัตโซ
1
โฆษณา