11 ก.ค. 2023 เวลา 06:32 • การศึกษา

สเตนเลส (Stainless Steel)

สเตนเลส (Stainless Steel) หรือ เหล็กกล้าไร้สนิม เป็นเหล็กที่มีปริมาณค่ร์บอนต่ำ (น้อยกว่า 2%) ของน้ำหนัก มีส่วนผสมของโครเมียม อย่างน้อย 10.5% โดยถือกำเนิดในปี พ.ศ.1903 โดยสเตนเลสนั้นมีคุณสมบัติที่ไม่เหมือนใคร เช่น ยากต่อการขึ้นสนิมเมื่อเทียบกับโลหะชนิดอื่นๆ มีค่าบำรุงรักษาต่ำ ง่ายต่ิการเชื่อมเข้าด้วยกันและการขึ้นรูป ระยะเวลาในการใช้งานคุ้มค่ากับราคา และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยสเตนเลส สตีล สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มหลัก ดังนี้
1. กลุ่ม เฟอร์ริติก (Ferritic SS) จุลโครงสร้างแบบเฟอร์ไรต์ (แม่เหล็กสามารถดูดติดได้) มีส่วนผสมของคาร์บอนต่ำและมีโครเมียมเป็นส่วนผสมหลักประมาณ 10.5-29% มีกนำไปใช้ทำถังน้ำต่างๆ ทำผนัง เครื่องใช้ภายในบ้าน ทำเครื่องครัว ทำเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น เกรดที่พบเจอได้บ่อย เช่น AISI 430, 430Ti, 439, 409 เป็นต้น
2. กลุ่มมาร์เทนซิติก (Martensitis SS) จุลโครงสร้างแบบมาร์เทนไซค์ (แม่เหล็กสามารถดูดติดได้) โดยทั่วไปจะมีโครเมียมผสมอยู่ประมาณ 10.5-17% และมีส่วนผสมของคาร์บอนในระดับปานกลาง มักนำไปใช้ทำ ซ้อม มีด ใบมีดโกน เครื่องมือแพทย์ เครื่องมือทางวิศวกรรม เป็นต้น ซึ่งต้องการคุณสมบัติเด่นในด้านการทนการสึกกร่อนและความแข็งแรงทนทาน มีค่า Yield Strength : YS และค่าความแข็งแรงสูงสุด (Ultimate Tensile Strength : UTS) สูงมากในสภาพที่ผ่านกระบวนการอบชุบ และมีค่าการยืดตัวที่ต่ำ
เกรดที่พบเจอได้บ่อย เช่น AISI 410, 420 เป็นต้น
3. กลุ่มออสเตนิติก (Austenitic SS) จุลโครงสร้างแบบออสเตนไนต์ (แม่เหล็กไม่สามารถดูดติด) นอกจากโครเมียมส่วนผสม 16-18% แล้ว ยังมีนิเกิลผสมอยู่ 8-13% ที่ช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อนอีกด้วย ชนิดออสเตนิติก เป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางมากที่สุดในบรรดาสเตนเลสด้วยกัน ส่วนออสเตนิติกที่มีโครเมียมผสมอยู่สูง 20-25% และมีนิเกิลผสมอยู่ 1-20% จะสามารถทนการเกิดออกซิไดซ์ได้ที่อุณหภูมิสูง ซึ่งใช้ในส่วนประกอบของเตาหลอม ท่อนำความร้อนและแผ่นกันความร้อนในเครื่องยนต์ จะเรียกว่า เหล็กกล้าไร้สนิม ชนิดทนความร้อน
เกรดที่พบเจอได้บ่อย เช่น AISI 304, 316, 304L, 316L เป็นต้น (L หมายถึง เน้นในงานเชื่อม)
4. กลุ่มดูเพล็กซ์ (Duplex) (แม่เหล็กสามารถดูดติดได้) มีโครงสร้างผสมระหว่างเฟอร์ไรต์+ออสเตไนต์ มีโครเมียมผสมอยู่ประมาณ 20-25% และมีนิเกิลผสมประมาณ 4-7% เหล็กชนิดนี้มีค่าความจำนนความแข็งแรง (Yield Strength : YS) และค่าความยืดตัวสูง จึงสามารถเรียกได้ว่า เหล็กชนิดนี้มีทั้งความแข็งแรงและความเหนียว (Ductility) ที่สูงเป็นเลิศในการใช้งานมักถูกนำไปใช้ในงานที่มีครอรีนสูง เพื่อป้องกันมิให้เกิดการกัดกร่อนแบบรูเข็ม (Pitting Corrosion) และช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อนที่เป็นรอยร้าวอันเนื่องมาจากแรงดัน
5. กลุ่มพรีซิติเตชั่นฮาร์เดนนิ่ง (Precipitation Hardening Steel) กลุ่มนี้เกิดการตกผลึกโดยวิธีทางความร้อน เป็นเหล็กกล้าชุบแข็งแบบตกผลึก มีโครเมียมผสมอยู่ 17% และมีนิเกิลผสมอยู่ 4% ทองแดงและไนโอเบียมผสมอยู่ด้วยมีความต้านทานการกัดกร่อนเทียบเคียงกับตระกูลออสเทนนิติก มีความแข็งแรงมากกว่าตระกูลมาร์เทนซิติก เกรด 17-4H เนื่องจากเหล็กชนิดนี้สามารถชุบแข็งได้ในคราวเดียว จึงเหมาะสำหรับ ทำแกนปั๊ม
หัววาล์ว และส่วนประกอบของยายอวกาศ โรงไฟฟ้านิเคลียร์ เป็นต้น
ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูลด้วยครับ
โฆษณา