11 ก.ค. 2023 เวลา 10:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ

อัปเดตค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ แบบ Cash Balance (Online) ปี 2566

------
แม้ตลาดหุ้นช่วงนี้ ยังคงไม่สู้ดี นักลงทุนอาจจะหนี ปิดพอร์ตกันไปแยะ แต่นั่นก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่จะบอกเราว่า อาจจะเป็นโอกาสที่ดีในการลงทุนแล้ว
.
ทำให้หลายคนน่าจะมีคำถาม
“แล้วจะเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นที่โบรกเกอร์ไหนดี ?”
.
โพสนี้จึงได้รวบรวมโบรกเกอร์ พร้อมทั้งอัตราค่าธรรมเนียม หรือ ค่าคอมมิชชั่น (%Commission) ที่แต่ละโบรกเกอร์เรียกเก็บ มาให้เพื่อนๆ ได้ลองพิจารณาและเลือกดูกัน
.
สนใจรายละเอียดโบรกไหนเพิ่มเติม หรือต้องการสมัคร แอดมีทำรวบรวมไว้แล้วที่ :
.
หมายเหตุ ❗❗❗
1. %Com ที่แสดงจะรวมค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่ต้องนำส่งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
2. ค่าธรรมเนียมที่ต้องนำส่งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (0.007%) ประกอบด้วย
(1) ค่าธรรมเนียมตลาดหลักทรัพย์ฯ (Trading Fee) : บริษัทฯ จะเรียกเก็บเพื่อนำส่งตลาดหลักทรัพย์ฯ ในอัตราร้อยละ 0.005 ของมูลค่าการซื้อขายต่อวัน
(2) ค่าธรรมเนียมการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ (Clearing Fee) : บริษัทฯ จะเรียกเก็บเพื่อนำส่งบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ในอัตราร้อยละ 0.001 ของมูลค่าการซื้อขายต่อวัน
(3) ค่าธรรมเนียมการกำกับดูแล (Regulatory Fee) : บริษัทฯ จะเรียกเก็บเพื่อนำส่งสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ในอัตราร้อยละ 0.001 ของมูลค่าการซื้อขายต่อวัน
3. การใช้ค่าธรรมเนียมหรือค่าคอมมิชชัน เป็นอีกหนึ่งเกณฑ์ที่ใช้สำหรับเลือกโบรกเกอร์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นยังมีเกณฑ์อื่น ๆ ให้พิจารณาอย่างที่กล่าวไว้ในข้างต้น อีกทั้งแต่ละโบรกเกอร์อาจจะมีจุดดีจุดเด่นแตกต่างกัน ฉะนั้น นักลงทุนต้องศึกษาข้อมูล และสอบถามจากโบรกเกอร์ที่สนใจเพิ่มเติม
4.สนี้เป็นการรวบรวบและอ้างอิงค่าธรรมเนียมจากเว็บไซต์โบรกเกอร์ในแต่ละโบรก ณ ม.ค.2566 ฉะนั้น รายละเอียดหรือค่าธรรมเนียมอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต หรือถ้ามีความผิดพลาดประการใดต้องขออภัยครับ
.
#ค่าธรรมเนียม #โบรกเกอร์ #เปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ #ค่าคอมมิชชั่น #การลงทุน #iYomBizInspiration
.
ติดตาม iYom Biz Inspiration ในช่องทางอื่นๆ
และอย่าลืมกดติดตาม subscribe เพื่อไม่พลาด Content ดี เกี่ยวกับหุ้นและการลงทุนนะครับ….
โฆษณา