11 ก.ค. 2023 เวลา 13:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ดอกเบี้ยไม่หยุด ฉุดเงินเฟ้อไม่อยู่ (Not Yet the End of Tightening Cycle)

แม้ในเดือนที่ผ่านมาตลาดหุ้นทั่วโลก ACWI ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 3.7% โดยเฉพาะ NASDAQ เพิ่มสูงกว่า 4.4% อย่างไรก็ดี ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ตลาดหุ้นทั่วโลกเผชิญแรงเทขายอย่างหนัก ท่ามกลางความกังวลของนักลงทุนที่เพิ่มขึ้นต่อความเสี่ยงของสภาพคล่องที่อาจจะแย่ลง หลังจากธนาคารกลางในหลายๆ ประเทศ DM มีท่าทีกลับมาปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง
1
ในขณะที่ Yield curve ของสหรัฐฯ มีลักษณะ Invert มากขึ้น สะท้อนความเสี่ยงของเศรษฐกิจเผชิญภาวะถดถอยที่เพิ่มขึ้น
ตลาดเริ่มปรับลดความคาดหมายของผลประกอบลงในตลาดฝั่ง Developed อย่างตลาดหุ้นในสหรัฐ โดยเฉพาะ ดัชนีกลุ่มหุ้นเทคโนโลยี NASDAQ และหุ้นขนาดใหญ่ อย่าง Dow Jones รวมถึงตลาดในประเทศทางฝั่งยุโรป ในขณะที่ตลาดทางฝั่งประเทศเกิดใหม่ MSCI EM ยังถูกปรับลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดในประเทศจีนรวมถึงอาเซียน ซึ่งยังคงเป็นผลจากความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
1
  • ราคาหุ้นยังไม่สะท้อนความเสี่ยง
ท่ามกลางผลประกอบการโดยเฉลี่ยที่คาดว่าจะอ่อนแอลงเมื่อเทียบกับปีก่อน ราคาหุ้นปัจจุบันดูยังไม่ได้สะท้อนความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้ P/E โดยเฉลี่ยยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย และ Earning-Yield Gap ที่เทียบกับผลตอบแทนของตราสารหนี้ลดต่ำลงเรื่อยๆ หมายความถึงตลาดหุ้นมีความ “แพง” มากขึ้นเมื่อเทียบกับตราสารหนี้
2
ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นที่สินทรัพย์เสี่ยงอาจเผชิญแรงเทขายได้เป็นระยะ ยังเป็นผลมาจากความเสี่ยงของสภาพคล่องที่ลดลงจากท่าทีที่ธนาคารกลางในหลายๆ ประเทศยังให้ความสำคัญกับเป้าหมายหลักในการดูแลเงินเฟ้อรวมถึงคาดการณ์เงินเฟ้อ (Inflation Expectations) ให้อยู่ในกรอบของนโยบายทางการเงิน
1
ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อล่าสุดในหลายๆ ประเทศยังอยู่ในระดับสูงและ “หนืด” (Sticky Inflation) พร้อมกับตลาดแรงงานที่ยังแข็งแกร่ง จึงมีผลคาดการณ์วัฏจักรนโยบายการเงินเข้มงวด (Tightening Cycle) อาจจะยังไม่สิ้นสุดเพียงเท่านี้
1
ในเดือนที่ผ่านมาทั้ง ดัชนีหุ้น MSCI ACWI และ MSCI EM ปรับเพิ่มขึ้นราวๆ 3.7% หลังจากมีการปรับตัวลดลงเล็กน้อยในเดือนก่อน จากการที่ Fed ชะลอการขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมล่าสุด ทำให้ตลาดปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ดี การสื่อสารของธนาคารกลางถึงการเน้นย้ำการจัดการปัญหาเงินเฟ้อเป็นสำคัญ ท่ามกลางตัวเลขเงินเฟ้อล่าสุดที่ยังสูงกว่ากรอบ และตลาดแรงงานที่ยังแข็งแกร่ง ส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยงมีการปรับตัวลดลงในสัปดาห์สุดท้าย
ส่วนตลาดตราสารหนี้สหรัฐฯ ได้รับปัจจัยจากการที่ตลาดเปลี่ยนมุมมองถึงความเป็นไปได้มากขึ้นว่า Fed อาจจะขึ้นดอกเบี้ยอีก จากตัวเลขเงินเฟ้อล่าสุดที่ออกมายังสูงอยู่ และน่าว่าจะคงดอกเบี้ยที่สูงไว้นานกว่าที่ตลาดเคยคาดไว้ อย่างไรก็ดี ความผันผวนในตลาดอย่างตลาดตราสารหนี้กลับปรับตัวลดลง แม้ว่าจะยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าในอดีต
ทั้งนี้ เรามองว่าเศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงของภาวะถดถอยอยู่ เฟดยังอาจจะขึ้นดอกเบี้ยได้อีก 2 ครั้งในปีนี้ หลังจากที่เศรษฐกิจ “ทนทาน” ต่อภาวะดอกเบี้ยสูงได้ดี แต่แรงกดดันเงินเฟ้อยังคงสูง ซึ่งน่าจะทำให้สินทรัพย์เสี่ยงเผชิญความผันผวนที่เพิ่มมากเป็นระยะ และอาจมีการเทขายและปรับตัวลดลงจากความเสี่ยงที่ไม่ได้สะท้อนในราคาปัจจุบันของสินทรัพย์
  • เพิ่มการถือครองเงินสด
สำหรับกลยุทธ์การลงทุนของ Asset Allocation ในเดือน ก.ค. 2566 จากความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในด้านสภาพคล่องของตลาด และราคาสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นที่ยังอยู่ในระดับสูง และอาจไม่ได้สะท้อนความเสี่ยงของเศรษฐกิจอย่างเพียงพอ จึงทำให้อาจมีการขายสินทรัพย์เพื่อถือเงินสดเป็นระยะๆ
1
เราจึงเพิ่มสัดส่วนการถือครองเงินสดมากขึ้น พร้อมกับลดน้ำหนักสินทรัพย์เสี่ยง โดยเฉพาะหุ้นในฝั่ง Developed ท่ามกลางความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของสภาพคล่องและการปรับการคาดการณ์ผลกำไรที่อ่อนแอลง ส่วนหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ยังมีความน่าสนใจและน่าจะช่วงป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูง
1
คอลัมน์ : Investment-Focus by KTAM โดย...
  • ดร. สมชัย อมรธรรม
  • ณิธาวัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา
โฆษณา