11 ก.ค. 2023 เวลา 13:23 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์

Asteroid City

Review Part 1
เพราะว่าตามประวัติศาสตร์แลัว ต้นแบบของกระบวนการทำงานของภาพยนตร์ส่วนใหญ่ก็มาจากละครเวที โดยเฉพาะการเขียนบท
นี่อาจจะไม่ใช่หนังที่ดีที่สุด แต่อย่างน้อยก็เป็นภาพยนตร์ที่เข้าไปดูเพราะชื่อผู้กำกับ แล้วมันก็ไม่ได้ทำให้ผิดหวังเลย บางทีชีวิตของคนเราก็อาจจะสามารถเขียนสรุปเป็นละครเวทีได้จบภายในสามบทก็เท่านั้น แต่คงจะเป็นการเปรียบเทียบที่เกินจริงไปนิดหนึ่ง
หนังจะเล่าเรื่องเกี่ยวกับการแสดง performance บนละครเวทีและการเขียนบทให้ได้ผลงานออกมา โดยจะเล่า conflict ผ่านเนื้อเรื่องของละครเวทีอีกที เป็นการเล่าเรื่องที่ดูแปลกใหม่แต่ว่ายังคงเข้าใจง่าย และเป็นการเตือนถึงการรับรู้ความจริงผ่านสื่อว่าคนเราก็อาจไม่สามารถแยกแยะความจริงของเรื่องที่แต่งขึ้นมาได้ ถึงแม้ว่าจะมี art direction ที่ surreal มากๆ ก็ตาม
อาจจะไม่ใช่หนังที่ดีที่สุดแต่ก็ควรค่าที่จะดูซักครั้ง โดยภาพรวมก็คือค่อนไปทางดี เป็นผลงานที่มีวิสัยทัศน์ชัดเจน ในส่วนของ dialogue มีความใส่ใจด้านเส้นเรื่องที่ชัดเจน และเกือบทั้งหมดมีการคิดระหว่างบรรทัดที่มีการเอาใจใส่มากๆเช่นกัน
วิธีการทำงานของผู้กำกับนั้นน่าสนใจมากๆ เช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อวิเคราะห์ย้อนหลังไปถึงผลงานก่อนหน้า การที่มี screenplay ที่ชัดเจนจะทำให้งานง่ายขึ้นจนได้ผลงานที่สมบูรณ์แบบมากๆเทียบกับต้นทุนทั้งหมดที่มี และผลงานเรื่องนี้ก็เป็นตัวอย่างของวิธีการเล่าเรื่องของปัจเจกบุคคลที่มาเจอสถานการณ์เดียวกัน ณ Asteroid City เพราะเมื่อตัวละครเจอกันคุณก็สามารถเล่าเรื่องได้แล้ว
แต่ละตัวละครมีความเป็นอัตลักษณ์ที่ชัดเจนและกลมกล่อม ทุกตัวละครมีความเทาของตัวเองซ่อนไว้ตลอดเวลา แล้วจะทำให้การเล่าเรื่องที่เกิดในสถานที่ที่ธรรมดามีความพิเศษขึ้นมา
ตามวิธีการเขียนบทภาพยนตร์แล้ว ช่วงของกลางเรื่องจะเป็น Point of no return ของสิ่งที่จะเล่า ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้มีเหตุการณ์หนึ่งที่สามารถธิบายได้ว่าทำไมองค์ที่สามถึงกินช่วงเวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์ อาจจะเป็นการใส่ Macguffin ที่ดูจงใจเกินไปหน่อยสำหรับภาพยนตร์สมัยนี้ แต่เพราะว่าโทนและ art direction ของเนื้อเรื่องจะเป็นการบอกว่าให้ปล่อยใจตามสบายกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปไปเลย เพราะว่านี่คือละครเวทียังไงล่ะ
และสุดท้ายแล้วการสร้าง surprice element ก็เพื่อที่จะทำให้ผู้ชมลุกออกจากโรงภาพยนตร์ได้อย่างรู้สึกคุ้มค่า
บางทีหลายอย่างในภาพยนตร์อาจจะเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจ แต่สำหรับคนที่ศึกษาประวัติศาสตร์ภาพยนตร์มา ภาพยนตร์เรื่องนี้คือจดหมายรักของผู้กำกับให้แก่วงการมายาของโลกภาพยนตร์ โดยใช้ละครเวทีเป็น Theme หลักของเรื่อง เพราะว่าถ้าอิงตามประวัติศาสตร์ ภาพยนตร์ก็คือละครเวทีที่สามารถเอาไปแสดงที่ไหนก็ได้ตราบใดที่มีฟิล์มและระบบฉาย เป็นสถานที่ที่ทำให้ผู้คนได้มารวมตัวกันเพื่อดูความบันเทิงได้ไม่รู้จบ
ซึ่งสิ่งที่เหมือนกันก็คือการแสดงเรื่องราวต่อผู้คนหมู่มากใน hyperreality ที่สร้างขึ้นตามจินตภาพ รูปแบบการเขียนบทภาพยนต์ก็ได้รับการพัฒนามาจากการเขียนบทละครเวทีอีกทีหนึ่ง
สิ่งที่พัฒนาต่อมาตามเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นก็คือความสมจริงที่ hyperreality สร้างขึ้นเท่าที่จะทำได้ และภาพยนตร์เรื่องนี้เป็น hyperreality ที่ควรจะเป็นถ้าย้อนกลับไปเป็นละครเวทีอีกครั้ง ดังนั้นเรื่องนี้คือเรื่องที่ควรค่าแก่การได้รับชมไม่ว่าจะเป็นในโรงภาพยนตร์หรือในระบบ Streaming ก็ตาม
แต่สำหรับคนทั่วไปแล้วก็คงเป็นเพียงหนังอินดี้เรื่องหนึ่งก็เท่านั้น เป็นเรื่องน่าเสียดายที่มีคนจำนวนน้อยที่สามารถรับรู้ถึง จดหมายรัก ที่มอบให้แก่วงการภาพยนตร์และวงการละครเวที เหมือนกับที่ Once upon a time in Hollywood เคยทำไว้
ภาพยนตร์เรื่องก่อนๆ ที่ใช้ theme เกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ และโรงแรม ก็เป็นสิ่งที่ผู้กำกับได้เติบโตมาด้วยกัน เรียกได้ว่า Wes Anderson เป็นผู้กำกับหนึ่งคนที่โชคดีที่สามารถสร้างผลงานได้ตามใจตัวเองเพราะมีลายเซ็นที่เป็นเอกลักษณ์ เกริ่นมาซะตั้งนานแต่ก็คือเป็นความรู้สึกที่มีหลังออกจากโรงว่า เป็นภาพยนตร์ที่อาจจะไม่ค่อยเปิดใจให้ใครมากนัก ถ้าไม่ได้เข้าใจถึงเบื้องหลังอันมากมายที่ซ่อนไว้แล้วไม่มีการอธิบายมาเลย
ปล. ภาพที่มีเสียง
โฆษณา