12 ก.ค. 2023 เวลา 08:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

'กองทุนประกันสังคม' ขาดสภาพคล่อง 30 ปี ส่อล้ม เสนอ ‘4 ทางออก’

‘กองทุนประกันสังคม’ เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นหลักประกันที่สร้างความมั่นคงในชีวิตของลูกจ้างและแรงงานไทย ความเพียงพอของเงินกองทุนฯ จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เพราะเดิมพันด้วยความไว้วางใจระหว่างภาครัฐและแรงงานกลุ่มใหญ่ที่สุดของประเทศ
5
ทว่าจากการศึกษาของนักวิชาการหลายภาคส่วนเกี่ยวกับสถานะกองทุนประกันสังคม กลับพบว่า กองทุนประกันสังคมจะขาดสภาพคล่อง และล้มละลายในอีก 30 ปี ข้างหน้า ด้วยเหตุโครงสร้างประชากร
7
สัดส่วนการจ่ายเงินบำนาญชราภาพมากกว่าการเก็บเงินสมทบเข้ากองทุน รวมถึงรัฐบาลค้างจ่ายเงินเข้ากองทุนอีกกว่า 7 หมื่นล้านบาท และนายจ้างหักเงินลูกจ้างแต่ไม่นำส่งเงินสมทบเข้ากองทุน
22
ด้วยปัญหาการเงินของกองทุนประกันสังคม ที่ประชุมคณะอนุกรรมาธิการด้านการประกันสังคม ในคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา( ที่มี นายณรงค์ รัตนากุล เป็นประธาน ) ประชุมพิจารณารายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม ปี 2564 ในหมวดสินทรัพย์หมุนเวียนโดยเฉพาะเงินสมทบค้างรับ กรณีหลายงวดที่ลดลงเล็กน้อยจากปี 2563
9
เร่งรัดหนี้ค้างกองทุนประกันสังคม
2
พบว่าสำนักงานประกันสังคม (สปส.)ให้ความสำคัญในกระบวนการติดตามเร่งรัดหนี้เงินสมทบค้างชำระกองทุน โดยมีแนวด้านต่าง ๆ โดยมีนโยบายจัดทำคู่มือปฎิบัติงานติดตามเร่งรัดหนี้เงินสดสมทบค้างชำระกองทุน จัดอบรมเจ้าหน้าที่ติดตามเร่งรัดหนี้จากทั่วประเทศ และอยู่ระหว่างการทบทวนเกณฑ์การรับรู้รายได้ของสำนักงานเพื่อให้เป็นไปตามหลักการและนโยบายการบัญชีภาครัฐ
3
ส่วนกรณีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น อาทิ ค่าประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร ที่มีตัวเลขเพิ่มขึ้นในปี 2564 นั้นเนื่องจากการจ่ายเงินดังกล่าวตามมาตรา 33 และ 34 ผู้ประกันตนที่เป็นคนไทยที่มีสัดส่วนมากกว่าผู้ประกันตนที่เป็นแรงานต่างด้าว เพราะมีการปรับอัตราการจ่ายประโยชน์ตอบแทนจาก 600 บาท เป็น 800 บาท ซึ่งกระทรวงมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นมา
3
คณะอนุกรรมาธิการด้านการประกันสังคม วุฒิสภา พิจารณาแล้วเห็นว่าการติดตามเร่งรัดหนี้เงินสมทบค้างชำระกองทุนประกันสังคม ควรจ้างตัวแทนหรือบริษัทเอกชนในการติดตามเร่งรัดหนี้ เพื่อให้การติดตามหนี้เงินสมทบค้างชำระกองทุนมีประสิทธิภาพและเพิ่มมากขึ้น หากไม่รีบดำเนินการอาจจะทำให้มีหนี้เงินสมทบค้างชำระกองทุนเพิ่มมากขึ้นทุกปี หรือสำนักงานประกันสังคมอาจจะทำโปรโมชั่นสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการมาชำระเงินสมทบค้างชำระกองทุน เช่น ให้ส่วนลดตามสัดส่วนที่ชำระสมทบค้างชำระกองทุนประกันสังคม เป็นต้น
12
ความอยู่รอดของกองทุนประกันสังคม
ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ ที่ปรึกษาด้านหลักประกันทางสังคม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ปัญหาความมั่นคงในระยะยาวของกองทุนประกันสังคม ถือเป็นประเด็นสำคัญที่ทางคณะกรรมการกองทุนรับทราบเป็นอย่างดี และที่ผ่านมามีความพยายามในการแก้ปัญหา แต่จะเป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ไม่ได้เป็นการแก้ที่ต้นตอของปัญหา
2
“จากที่เคยเป็นคณะอนุกรรมการกำหนดอัตราบำเหน็จบำนาญ ทำให้ได้เห็นถึงวิธีคิดและวิธีทำงานที่มุ่งแก้ปัญหา โดยเน้นไปที่การลงทุนหาผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูง ทั้งที่นักคณิตศาสตร์ประกันภัยได้คำนวณว่า แม้กองทุนประกันสังคมจะได้รับผลตอบแทนสูงขึ้น ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เนื่องจากสาเหตุที่ทำให้กองทุนติดลบในอนาคต เกิดจากโครงสร้างประชากรที่คนอายุยืนยาวมากขึ้น ทางกองทุนจึงต้องจ่ายเงินบำนาญให้กับแรงงานจำนวนมาก ซึ่งมีส่วนต่างมากกว่าอัตราการเก็บเงินสมทบเข้ากองทุน”ดร.วรวรรณ กล่าว
3
ดร.วรวรรณ กล่าวต่อว่าตามกฎหมายกำหนดให้กองทุนประกันสังคม สามารถลงทุนได้ในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง เช่น พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน และหุ้นกู้เอกชน 60% และสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง เช่น เงินฝากธนาคาร ตราสารหนี้ หน่วยทุน และหุ้นสามัญ 40% เพื่อให้กองทุนมีความปลอดภัย เมื่อลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงได้ไม่มาก ผลตอบแทนที่ได้รับจึงไม่สูงมากนัก ต่อให้มีนักลงทุนที่เก่งและเชี่ยวชาญจำนวนมาก แต่ก็จะไม่สามารถทำกำไรได้ถึง 10% อย่างแน่นอน
9
"สมมติฐานของทีดีอาร์ไอ พบว่าหากคณะกรรมการยังคงปล่อยให้สถานการณ์เป็นไปเช่นนี้ ในอีก 25 ปีข้างหน้า จะเริ่มเห็นเงินในกองทุนลดลงอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นอีก 5 ปี กองทุนก็จะติดลบและ ล้มลงในที่สุด เชื่อว่าอีก 30 ปี กองทุนประกันสังคมจะขาดสภาพคล่อง ซึ่งหลังฝ่ายการเมืองเห็นว่าเงินในกองทุนประกันสังคมลดลงอย่างรวดเร็ว ก็มีความเป็นไปได้มากที่จะมีการปล่อยสำนักงานประกันสังคมออกเป็นอิสระ”ดร.วรวรรณ กล่าว
3
โฆษณา