13 ก.ค. 2023 เวลา 11:00 • ความคิดเห็น

แชร์ประสบการณ์ กว่าจะเป็น "นักวางแผนการเงิน CFP®" ต้องทำยังไงบ้าง?

หลายคนน่าจะเคยได้ยินหรือรู้จักอาชีพนักวางแผนการเงินกันมาบ้างแล้ว ซึ่งจริงๆ ก็มีบางคนคงสงสัยว่า ถ้าจะเป็นนักวางแผนการเงินจำเป็นต้องมี CFP มั้ย?
คำตอบ คือ ไม่จำเป็นค่ะ เพราะคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ไม่ใช่หลักสูตรบังคับ หรือเป็นใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ แต่ถ้าเรามี CFP ก็จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือมากขึ้นเมื่อไปวางแผนการเงินให้กับลูกค้า
วันนี้เราเลยถือโอกาสมาแชร์และสรุปข้อมูลเกี่ยวกับ CFP ให้กับเพื่อนๆ ที่กำลังสนใจในสายอาชีพนี้ (เนื้อหาอาจจะยาวนิดนึง กดแชร์โพสเก็บไว้ก่อนได้นะ)
เกริ่นนิดๆ ก่อนว่า หนึ่งในเจ้าของเพจนี้ได้คุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และอีกคนนึงก็กำลังตามไปติดๆ เหมือนกัน 😁 ใครที่กำลังเตรียมจะสอบ CFP หรือกำลังสอบอยู่ มาพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกันได้นะ หรือใครอยากขอคำปรึกษาเรื่องวางแผนการเงินก็ทักมาคุยได้
4 Steps สู่การเป็นนักวางแผนการเงิน CFP®
นักวางแผนการเงิน CFP®
Step 1
หลักสูตรอบรมการวางแผนการเงิน มีทั้งหมด 6 ชุดวิชา คือ
ชุดวิชาที่ 1: พื้นฐานการวางแผนทางการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ
ชุดวิชาที่ 2: การวางแผนการลงทุน
ชุดวิชาที่ 3: การวางแผนการประกันภัย
ชุดวิชาที่ 4: การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ
ชุดวิชาที่ 5: การวางแผนภาษีและมรดก
ชุดวิชาที่ 6: การจัดทำแผนทางการเงิน
💰 ค่าใช้จ่ายการอบรมประมาณ 10,000 บาทต่อชุดวิชา
โดยส่วนใหญ่จะอบรมทั้งหมด 3 วัน และวันอบรมจะเป็นช่วงเสาร์-อาทิตย์ทั้งวัน
📚 สถาบันจัดอบรมหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP เช่น ThaiPFA, CMSK Academy, ATI, AIMC
➡ ถ้าเรามีคุณวุฒิบางตัวหรือเรียนจบทางสายการเงินมา ก็สามารถทำเรื่องขอยกเว้นการอบรมได้ ไม่สามารถยกเว็นการสอบได้ (มีค่าธรรมเนียมขอยกเว้นการอบรมเล็กน้อย)
- มีใบอนุญาต ผู้แนะนำการลงทุนตราสารทั่วไป (IC Plain) สามารถยกเว้นการอบรม ชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน
- มีใบอนุญาต ตัวแทน/นายหน้าประกันชีวิต สามารถยกเว้นการอบรม ชุดวิชาที่ 3 การวางแผนการประกันภัย
นักวางแผนการเงิน CFP®
Step 2
เมื่อผ่านการอบรมแล้ว เราจะต้องผ่านการสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP โดยการสอบ CFP แบ่งออกเป็นข้อสอบจำนวน 4 ฉบับหลักๆ คือ
ข้อสอบฉบับที่ 1: พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ - ปรนัย 85 ข้อ / ค่าสมัครสอบ 2,000 บาท
ข้อสอบฉบับที่ 2: การวางแผนการลงทุน - ปรนัย 85 ข้อ / ค่าสมัครสอบ 3,000 บาท
ข้อสอบฉบับที่ 3: การวางแผนการประกันภัยและวางแผนเพื่อวัยเกษียณ - ปรนัย 85 ข้อ / ค่าสมัครสอบ 3,000 บาท
ข้อสอบฉบับที่ 4: การวางแผนภาษีและมรดก และแผนการเงิน ซึ่งแบ่งออกเป็นข้อสอบย่อยอีก 2 ส่วน คือ
4.1 การวางแผนภาษีและมรดก - ปรนัย 45 ข้อ / ค่าสมัครสอบ 2,000 บาท
4.2 ข้อสอบแผนการเงิน - สอบอัตนัยแบบเปิดหนังสือสอบ แบ่งการสอบเป็น 2 ช่วง ช่วงละ 3 ชั่วโมง 30 นาที และสอบสัมภาษณ์เมื่อสอบผ่านข้อสอบข้อเขียน ใช้เวลาสัมภาษณ์ประมาณ 20 นาที / ค่าสมัครสอบ 4,500 บาท
1
✅ เกณฑ์การสอบผ่าน คือ สอบได้ 70% ของคะแนนรวม และบังคับผ่าน 70% ในส่วนจรรยาบรรณ (ข้อสอบจรรยาบรรณจะมีอยู่ในข้อสอบฉบับที่ 1 และ 2)
นักวางแผนการเงิน CFP®
📆 ตารางสอบ CFP ข้อสอบแต่ละฉบับจะมีรอบสอบต่างกัน ยิ่งข้อสอบฉบับหลังๆ จะมีรอบสอบน้อยลงเรื่อยๆ อย่าลืมวางแผนจัดเวลาอ่านหนังสือสอบกันดีๆ นะ
ข้อสอบฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 - เปิดสอบ 5 ครั้งต่อปี
ข้อสอบฉบับที่ 3 และข้อสอบฉบับที่ 4 ส่วนที่ 1 - เปิดสอบ 3 ครั้งต่อปี
ข้อสอบฉบับที่ 4 ส่วนที่ 2 - เปิดสอบ 2 ครั้งต่อปี
สามารถตรวจสอบช่วงเวลารับสมัครและวันสอบของหลักสูตร CFP แต่ละฉบับได้ที่เว็บไซต์ www.tfpa.or.th
📣 อัปเดตข้อมูลล่าสุด
ทางสมาคมฯ ได้ปรับปรุงหลักสูตรชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน สำหรับคนที่ต้องการสอบใบอนุญาต IC หรือ IP โดยหลักสูตรจะเข้มข้น อบรม 6 วัน และข้อสอบฉบับนี้มี 120 ข้อ
แต่! ถ้าสอบผ่าน CFP Module 1 และ Module 2 (การวางแผนการลงทุน) หลักสูตรใหม่ จะสามารถขึ้นทะเบียน IC Complex 1 หรือ Investment Planner ได้เลย โดยไม่ต้องสอบ IC อีก
Step 3
การขึ้นทะเบียนเป็น นักวางแผนการเงิน CFP® และที่ปรึกษาการเงิน AFPT™
- ที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ : ต้องสอบ CFP ผ่านเพียงข้อสอบฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 หรือ ข้อสอบฉบับที่ 1 และฉบับที่ 3 เท่านั้น และไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ทำงานมาก่อน
- นักวางแผนการเงิน CFP® : ต้องสอบหลักสูตร CFP ผ่านทั้ง 4 ฉบับ และจำเป็นต้องมีประสบการณ์ทำงานในสายการเงินอย่างน้อย 3 ปี
นักวางแผนการเงิน CFP®
เมื่อเราได้เป็นนักวางแผนการเงิน CFP® และที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ ยังต้องพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง โดยจะต้องมีจำนวนชั่วโมง CPD (Continuing Professional Development – CPD) ไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง เพื่อต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพทุก 2 ปีปฏิทิน
สุดท้ายนี้ สำหรับคนที่สนใจอยากเป็นนักวางแผนการเงิน CFP อาจจะมีการวางแผนบริหารเงินในกระเป๋าของตัวเองด้วย เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายรวมๆ ทั้งหมดก็เยอะประมาณนึงเลย ค่อยๆ ทยอยอบรมและสอบเก็บไปเรื่อย ๆ ได้ เมื่อเราสอบผ่านแต่ละชุดวิชาสามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ไม่มีวันหมดอายุ
ติดตาม Cashury ผ่านช่องทางอื่นๆ ได้ที่
โฆษณา