Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เปิดหนังสือ เปิดโลกทัศน์ (Open book open mind)
•
ติดตาม
15 ก.ค. 2023 เวลา 14:46 • หนังสือ
เสียงเล็กๆ ของเด็กเปลี่ยนโลก Changemaker โดย ปราชญา ศิริ์มหาอาริยะโพธิ์ญา
เล่มนี้บอกเล่าความเป็นมาที่ทำให้เด็กคนหนึ่ง พบปัญหาที่มีผลกระทบต่อชีวิตเด็ก จนอยากลุกขึ้นมาสร้างจุดเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม โดยคุณญา นักกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต เล่าเรื่องจากประสบการณ์ที่ได้คลุกคลีกับผู้ป่วยเด็กจิตเวช และปัญหาต่างๆที่พบ และควรแก้ไข หนังสือดีมากค่ะ มีคำแนะนำดีๆ ในการทำความเข้าใจ สื่อสารกับคนต่างวัย ทำอย่างไรให้สื่อสารได้อย่างเข้าใจกัน และไม่สร้างบาดแผลให้กันและกันค่ะ อ่านแล้วได้คำแนะนำดีๆ มากมาย เลยนำบางส่วนมาแชร์กันอ่านค่ะ
👉🏻ถ้าชอบฝากกดไลค์ กดแชร์ด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ 🙏
ทฤษฎีจิตสังคมของอีริกสัน แบ่งพัฒนาการของบุคคลิกออกเป็น 8 ระดับ โดยเน้นถึง สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เน้นที่ขั้น 4-8 ดังนี้
ขั้นที่ 4 ระยะเข้าโรงเรียน 6-12 ปีเอาการเอางานกับการมีปมด้อย (industry vs. inferiority)
• มีความคิดสร้างสรรค์พยายามทำกิจกรรมด้วยตนเอง
• หากได้รับการสนับสนุนทำให้เด็กมีการพัฒนาบุคลิกภาพ แสวงหาสิ่งที่ท้าทายความสามารถ
• ถ้าขาดการสนับสนุนเด็กจะรู้สึกต่ำต้อยด้อยค่าอาจมิพฤติกรรมถอยไปในวัยทารก เพื่อเลี่ยงภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ
• ต้องการ การสนับสนุน
ขั้นที่ 5 วัยรุ่น อายุ 13-20 ปีการเข้าใจอัตลักษณ์ของตนเองกับการไม่เข้าใจตนเอง (identity vS. Role Confusion)
• เริ่่มสนใจเรื่องเพศ
• มีความรู้สึกเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง
• เข้าใจอัตลักษณ์ของตัวเอง รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร มีความเชื่ออย่างไรและตนเองเป็นใคร
• อาจไม่เข้าใจตัวเอง เกิดความสับสนและเกิดความขัดแย้งในใจได้
• ต้องการการยอมรับจากคนรอบข้าง
ขั้นที่ 6 ระยะต้นของวัยผู้ใหญ่ อายุ 21-40 ปี ใกล้ชิดสนิทสนมกับความรู้สึกเปล่าเปลี่ยว (Intimacy vs. Isolation
• มีการนัดหมาย แต่งงาน ชีวิตคู่ ทำงานร่วมกับผู้อื่น
• หากบรรลุอัตลักษน์ของตนเอง จะสร้างและแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์อย่างสนิทสนมกับบุคคลอื่นได้
• แต่หากไม่สำเร็จ จะหาแนวทางสร้างสัมพันธ์กับบุคคลอื่นไม่ได้ เหงาเปล่าเปลี่ยว และไม่รู้จะพึ่งพาใคร
• ต้องการสร้างความสำเร็จ
ขั้นที่ 7 ระยะผู้ใหญ่อายุ 41-60 ปี
• เริ่มสนใจโลกภายนอก ริเริ่มโครงการเพื่อสังคม
• สุขุม รอบคอบ ฉลาด ยอมรับความจริงของชีวิต
• มีความมั่นคงทางจิตใจ ภูมิใจเมื่อได้บอกเล่าปสก. ชีวิตให้ลูกหลานฟัง
• ถ้าประสบความสำเร็จในอดีต จะไว้วางใจผู้อื่นและตนเอง ถ้าตรงข้าม มักท้อแท้สิ้นหวัง คับข้องใจ ไม่มีความสุข
• ต้องการได้รับความเคารพนับถือจากคนรุ่นหลัง
ขั้นที่ 8 อายุ61 ปีขึ้นไป
• ต้องการความพึงพอใจในการใช้ชีวิต
• ภูมิใจเมื่อได้เล่า ปสก. ชีวิตให้ลูกหลานฟัง
เมื่อเข้าใจพัฒนาการทางด้านจิตสังคมแล้ว ก็เริ่มต้นการสื่อสารกับคนต่างวัยด้วย “ภูเขาแห่งการสื่อสารอย่าง เข้าอกเข้าใจ” ดังรูป ซึ่งมี 4 ขั้นคือ
1. เริ่มต้นสื่อสาร (start) เปิดใจ สื่อสารอย่างเข้าอกเข้าใจ
2. เชื่อมโยง (connect) เริ่มต้นพูดคุย เกี่ยวกับสิ่งที่คู่สนทนาชอบ เช่น วัยอาวุโส อาจจะคุยเรื่องเพลงเก่าอย่างสุนทราภรณ์ แทนซีรี่ย์เกาหลี เป็นต้น หากสนใจคล้ายกัน มักทำให้เค้าอยากเล่า อยากคุย และสื่อสารด้วย
3. บอกเล่า ประสบการณ์ (experience) หยิบยกสถานการณ์ในอดีตและปัจจุบันมาให้คู่สนทนาเล่าประสบการณ์ คู่สนทนามักรู้สึกว่าได้รับความเข้าอกเข้าใจมากขึ้นจากการมีคนรับฟัง
4. แลกเปลี่ยน (exchange) แลกเปลี่ยน และสื่อสารหลังรับฟังเรื่องราวและประสบการณ์ของคู่สนทนาแล้ว โดยมีพื้นที่ตรงกลางร่วมกัน
ทั้ง 4 ขั้นตอน ควรใช้ไปพร้อมกับ “การรับฟังแบบไม่ตัดสิน” (deep listening)
ปัญหามักอยู่รอบตัวเรา ขึ้นอยู่กับว่าเราจะยกปัญหานั้นขึ้นมาแก้ไขเมื่อไร
คุณญาเล่า case study หลายเรื่องที่ผลักดันให้อยากแก้กฏหมายการให้เด็กอายุ < 18 สามารถเข้าพบจิตแพทย์ได้โดยไม่ต้องให้ผู้ปกครองยินยอม
เช่น เคสที่น้องกรีดข้อมือตัวเองเพราะต้องการแบ่งเบาความเครียดทางจิตใจมาทางร่างกาย คุณญาแนะนำให้ไปพบจิตแพทย์ แต่พ่อแม่ไม่ยินยอม เพราะไม่เข้าใจโรคทางจิตเวชหรืออาย จนความเจ็บปวดน้องเริ่มชัดเจน รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ พ่อแม่ตุงยอมบำบัด รักษาได้ทัน บางเคสก็ไม่ทันค่ะ ฆ่าตัวตายเนื่องจากภาวะซึมเศร้า ไม่มีใครเข้าใจ ส่วนใหญ่ปัญหาเกิดจากการสื่อสารภายในครอบครัว แบกรับความกดดัน จากความคาดหวังเรื่องคะแนนสอบบ้าง หรือการไม่ได้รับการยอมรับเพศสภาพบ้าง
สาเหตุปัญหาในครอบครัว สื่อสารกันคนละภาษา ต่างคนต่างไม่เข้าใจภาษาอีกฝ่ายจึงเกิดการปะทะ ดันกัน จนกลายเป็นไม่เข้าใจกัน
👉🏻แก้ไข
สร้างพื้นฐานแห่งความเข้าใจและปลอดภัยขึ้นในบ้าน ใช้ภาษารักในการสื่อสาร จากสิ่งที่อยู่ในหัวใจ
แกรี่ ดี แชปแมนแนะนำ 5 รูปแบบ คือ คำพูด ,เอาใจใส่, ของขวัญ ,ใช้เวลาร่วมกัน ,สัมผัสรัก (อ่านเพิ่มเติมได้จาก หนังสือภาษารัก) เช่น
❌เมื่อไรจะกลับบ้าน —>✔️เป็นห่วงนะ
❌เมื่อไรแกจะเลิกทำ —>✔️ ไม่ทำแบบนี้ได้ไหมลูก
พ่อแม่แบบที่เด็กๆ ต้องการคือ "เพื่อนผู้นำ"
✓ พร้อมอยู่ข้างๆ และพร้อมสนับสนุน พร้อมรับฟัง เป็นที่ปรึกษาให้อยู่เสมอ
✓ ผู้นำที่ช่วยตัดสินใจพร้อมจับมือเราก้าวเดินไปข้างหน้า
เด็กแต่ละคนเป็นผ้าที่มีสีของตนเอง การเรียนรู้ที่ดี เกิดจากการมีพื้นที่สร้างสรร ได้ทดลอง ได้ค้นหาตัวเองเพื่อให้
เราทราบว่าสีที่แท้จริงของเราคือสีอะไร หากสีนั้นเกิดจากเราเองไม่ได้ถูกย้อม ไม่ได้ถูกบังคับก็จะมีชีวิตไปพร้อมกับสีนั้นได้อย่างมีความสุข
วิธีค้นหาสี คือการลองผิดลองถูก บางครั้งใช่บ้างไม่ใช่บ้างก็ ไม่เป็นไรไม่มีคำว่าสายเกินไปสำหรับการเรียนรู้และทดลอง
ความแตกต่างของมนุษย์เป็นสิ่งสวยงามต้อง “เคารพ” ทั้งความแตกต่างของตนเองและผู้อื่น ไม่ปล่อยให้คำพูดผู้อื่นมาทำร้ายเราผ่านความแตกต่างนี้ เคารพคุณค่าตนเอง และภูมิใจในความแตกต่างนี้ โดย
ผู้อื่นคือ เคารพในความแตกต่างของมนุษย์ของทุกคนไม่ใช้ความแตกต่างทำร้ายผู้อื่น
ตนเองคือ รับรู้ว่าเราแตกต่างจากผู้อื่นได้ ไม่ว่าความคิด การกระทำ หรือรูปลักษณ์ภายนอก
“เราไม่ได้แปลกแยกแต่พวกเรามีความหลากหลาย”
กระบวนการหนึ่งที่สำคัญของการมีสุขภาพจิตที่ดีคือ การที่คนรอบข้างรับฟังแบบไม่ตัดสิน
ในปัจจุบันดช. จะมีปัญหาสุขทาพจิตมากกว่า ดญ. เพราะกรอบเรื่องเพศบังคับให้เค้าต้องเข้มแข็งกว่าเพศอื่น เมื่อ ด.ญ. ร้องไห้จะมีคนปลอบ แต่ ด.ช.กลับไม่มีใครสน
ครอบครัวและสังคมควรมีกลไกให้ ด.ช.ได้มีโอกาสพูดมากขึ้น โอบกอดเค้าและถามว่า ตอนนี้รู้สึกอย่างไร ถึงเป็นลูกผู้ชายก็อ่อนแอได้ เล่าให้พ่อฟังก็ได้ แทนที่จะพูดว่า เป็นลูกชายอย่าอ่อนแอ
“ไม่ว่าดช หรือ ด.ญ. ต่างก็มีมุมที่เข้มแข็งและมุมที่อ่อนแอได้เช่นกัน”
หากเราอยากเข้าใจผู้อื่น ต้องเข้าใจตนเองก่อน เริ่มจาก
✔️การพูดคุยกับตนเอง ทบทวนความรู้สึกตนเองในแต่ละวัน แล้วค่อยๆหันมองผู้คนที่อยากเข้าใจ หาจุดเชื่อมระหว่าง เราและเขา
✔️พยายามเข้าใจเค้า ให้เหมือนเราพยายามเข้าใจตัวเอง
✔️ห้ามคิดแทนว่าเค้าจะรู้สึกอย่างไร ให้ใช้ความเข้าอกเข้าใจเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
🎧รับฟังแบบไม่ตัดสิน คือ รับฟังแบบที่เราไม่ได้ใส่อารมณ์กรือความคิดของตัวเองลงไปในเรื่อง แต่เป็นการเคลียร์สมองและหัวใจเพื่อเตรียมพื้นที่เอาไว้สำหรับการรับฟัง
👂รับฟังแบบปกติ สมองและอารมณ์ของเราใส่ความคิดเข้าไปผสมในเรื่องราวที่กำลังได้ยิน สุดท้ายคำแนะนำของเราก็จะเต็มไปด้วยอารมณ์และตัดสิน ทำให้ผู้เล่ารู้สึกแย่ลง
เคล็ดลับในการเปลี่ยนแปลงสังคมของผู้เขียน เริ่มต้นเมื่อ
✔️เราเข้าใจตนเอง
ตอบตัวเองให้ได้ว่าทำไมถึงอยากแก้ไข และอะไรคือจุดเชื่อมเรากับปัญหา จุดเริ่มต้นของแรงผลักดัน มองตัวเองที่จุดไหน
✔️เราเข้าใจปัญหา
เข้่าใจว่าปัญหานี้เกิดจากอะไร ส่งผลกระทบอย่างไร มีทางแก้รูปแบบใดบ้าง คิดวิธรแก้คร่าวๆออกมา จะทำให้ลงมือง่ายขึ้น
จิตวิทยา
พัฒนาตัวเอง
แนวคิด
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย