17 ก.ค. 2023 เวลา 07:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

การอ่านและตีความถ้อยแถลงธนาคารกลาง( การใช้นโยบายการเงินของธนาคารกลาง) D.I.Y

สำหรับมือใหม่ในการเข้ามาลงทุนในตลาดการเงิน หรือ ทำความเข้าใจในเรื่องการเงินเริ่มต้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยากพอสมควรเนื่องจาก ตลาดการเงินเต็มไปด้วยกลไกต่างๆ (จริงๆมันประกอบด้วยหลายส่วน เช่น ภาคเศรษฐกิจจริง และ เศรษฐกิจการเงิน ที่ทำงานประสานกัน ) ในบทความนี้จะโฟกัสไปที่นโยบายการเงินและการทำงานของ Fed (หรือธนาคารกลางสหรัฐเป็นหลัก) คำสำคัญที่เราควรจดไว้ คือ Federal Fund Rate , Interest on reserve , Reverse repurchase agreement ใช้คำย่อ FFR, IOR ,RRP สามตัวนี้เป็นเครื่องมือที่ Fed ใช้ดำเนินนโยบายการเงิน
ส่วนเครื่องมือที่เหลือคือ discount window และ open market operation ซึ่งหมายถึงการที่ fed ปล่อยกู้แบบต้องมีหลักประกันมาวาง และ การที่ fed ซื้อและขายหลักทรัพย์เพื่อเพิ่มหรือลด reserve ตามลำดับ.
โดยเราจะมาทำความรู้จักกันแต่ละตัวก่อน เริ่มจาก Federal Fund Rate (FFR) ตัว ffr นี้
ดอกเบี้ยตัวแรก คือ Federal Fund Rate เป็นกรอบดอกเบี้ยอ้างอิงที่ธนาคารกลางใช้ดำเนินนโยบายการเงิน พูดง่ายๆก็คือ จะบังคับให้ ธนาคารกู้ยืมเงินระหว่างกันในกรอบนี้ ทำไม ธนาคารต้องกู้ยืมกัน เพราะ มีการกำกับในส่วนของ การกันสำรองขั้นต่ำไว้ และ สภาพคล่องที่ต้องมีพอให้ลูกค้าถอน สังเกตุภาพด้านล่าง หากมีลูกค้าเงินเข้ามา 20,000$ และ ธนาคารกันเงินไว้ 20% หรือ 4000$ หากลูกค้าต้องถอนเงินเต็มจำนวนจะเกิดอะไรขึ้น (เงินไม่พอ) ยังขาดอีก 16000$ หากธนาคารไม่ทำอะไรในด้านสินทรัพย์ เช่น เรียกเงินจากลูกหนี้คืน
หรือ ขายสินทรัพย์ ธนาคารต้องกู้ยืมเงินจากเพื่อนๆ หรือ กลุ่มธนาคารด้วยกันเอง เราเรียกกลุ่มนี้ว่า ตลาดกู้ยืมระหว่างธนาคาร (Inter-bank market )
ดูภาพด้านล่างธนาคารต้องกู้ยืม 16,000$
ทุกครั้งที่มีเงินฝากเข้ามาจะต้องกันสำรองไว้ตามกฏหมายในภาพคือกันไว้20%ของเงินฝาก(4000/20,000)
เมื่อธนาคารขาดเงินจึงกู้ยืมเงิน16,000$จากธนาคารอื่นมาให้ลูกค้าตัวเองถอนก่อนวันถัดมาจึงนำเงินฝากคืนหนี้ที่กู้ยืม+ดอกเบี้ยffr
ดังนั้น เมื่อ ธนาคารต้องกู้ยืมกันตลอด เพราะ ทุกสิ้นวัน จะมีธนาคารที่สภาพคล่องเกิน และ ธนาคารที่สภาพคล่องขาด และ การถือสำรองไม่ได้จ่ายดอกเบี้ยใดๆ ดังนั้น จึงต้องปล่อยกู้ให้กันนั่นเอง นี่เป็นที่มา ทำไม การปรับลด ปริมาณเงินตรงนี้ โดยธนาคารกลางจึงสำคัญ หากธนาคารกลางอยากเพิ่มหรือลดเงิน จะใช้ การซื้อ หรือ ขายพันธบัตร เพื่อดูดซับปริมาณเงิน และ ให้อัตราดอกเบี้ย ffr ตรงนี้เป็นไปตามกรอบที่อยากให้เป็น
NBR คือ Non-borrowed reserveคือสำรองที่หักการกู้จากfedไปแล้วการที่fedปรับNBRตัวนี้ผ่านการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อเพิ่มหรือลดNBRจะกระทบffrให้ขึ้นลงตามกรอบที่ต้องการ
แต่ fed fund rate ก็ใช้งานได้ยากกรณีที่มีสำรองปริมาณมาก จากการกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือ ซื้อ สินทรัพย์ จึงมี เครื่องมือ ior และ rrp
ปัญหาสำหรับการมีแค่ fed fund rate เกิดเมื่อ มันมีสภาพคล่อง หรือ สำรองปริมาณมากเกินความต้องการ เพราะ ระบบธนาคารจะปล่อยกู้กันจนต่ำกว่า กรอบดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางตั้งไว้ เช่น ในช่วง covid19 ที่สภาพคล่องในระบบธนาคารสูงถึง 4 ล้านล้าน ทำให้ดอกเบี้ยพันธบัตรจะวิ่งเข้าสู่แดนติดลบ ซึ่งจะกระทบ สภาพคล่องที่จะไหลออกจากกองทุนมหาศาล (ลองคิดดู หากคนเสียค่าธรรมเนียมดูแลกองทุน 1% แต่ ต้องซื้อดอกเบี้ยติดลบ = เสียเงินฟรี ดังนั้น มันจะกระทบการเทขายพันธบัตร จาก ผู้ถือหน่วยลงทุนและเกิดปัญหาสภาพคล่องตามมาอีก )
สภาพคล่องที่มีจำนวนมากทำให้เงินวิ่งเข้าสินทรัพย์และทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรเข้าสู่โซนติดลบซึ่งจะส่งผลต่อการsell-offของกองทุน
ดังนั้น เครื่องมือที่จะช่วยได้ กับการสร้างกรอบล่างของดอกเบี้ย มองง่ายๆเลยคือ เฟดฟัดน์เรต เอาไม่อยู่ จะต้องใช้ ธุรกรรมการขอกู้เงินจากตลาด โดยเรียกกันว่า reverse repurchase agreement (rrp)ซึ่งเป็นกรอบล่างแบบ hard floor คือ แข็งสุด และ กรอบล่างแบบเบา soft floor คือ การจ่ายดอกเบี้ยบนสำรอง( interest on reserve,ior )
Fedเริ่มใช้RRPโดยจ่ายดอกเบี้ยที่0.05%เมื่อjune2021เพราะสภาพคล่องออกมาจากการที่รัฐบาลเบิกจ่ายฉุกเฉินออกมาจำนวนมากทำให้เงินที่อัดฉีดมีทางไปและพยุงดอกเบี้ยให้เหนือ0%เพื่อไม่ให้กระทบกองทุนที่มีเงินมหาศาลถูกขายออก
หลักการเครื่องมีสองตัวนี้คือ ตัว ior จะจ่ายดอกเบี้ยบนสำรองทั้งขั้นต่ำและส่วนเกินของสถาบันการเงินเท่านั้นที่เป็นคู่ค้า ส่วน rrp จะรวมถึงกองทุนตลาดเงิน ซึ่งเป็นผู้เล่นที่กว้างและถือเงินจำนวนมากของรายย่อยที่ลงทุนในหน่วยกองทุนอยู่
โดยหลักการแล้ว rrp จะจ่ายดอกเบี้ยต่ำกว่า ior และ ior จะจ่ายดอกเบี้ยต่ำกว่า ffr หรือเอาง่ายๆคือ อยากให้ธนาคารปล่อยกู้กันเองในกรอบดอกเบี้ยที่ ธนาคารกลางอยากให้เป็นให้ได้ และ หากไม่ปล่อยกู้กันเรตนี้ ก็จะไมปล่อยกู้กันต่ำกว่า ior และ rrp เพราะ เป็นดอกเบี้ยที่ไม่มีความเสี่ยง และ ดอกเบี้ยต่ำสุดที่ธนาคารกลางจ่ายให้ได้
ภาพตัวอย่างiorและONrrpสร้างกรอบดอกเบี้ยเช่นหากfedfundจ่ายกัน5.25%iorจ่าย5.15%และrrpจ่าย5.05%
มาถึงการตีความนโยบายการเงินด้วยตัวเอง ดุตัวอย่างจริงกันครับ สำหรับ Fed Monetary Policy Implementation June 14, 2023
ให้มองหาfederalfundrateก่อนคำแรกพาร์ทแรกเสมอ
ให้ทุกท่านมองหาคำว่า federal fund rate ก่อนอันดับแรกเสมอ เพราะ ธนาคารกลางต้องการให้ดอกเบี้ยอยู่ในกรอบนี้ จากภาพ เฟดบอก จะ maintain หรือ คงดอกเบี้ย ในช่วง 5-5.25% นั่นหมายถึงว่า ธนาคารต้องกู้ยืมกันในช่วงนี้เท่านั้น โดย เฟดจะเริ่มขายพันธบัตรเพื่อให้ดอกเบี้ยขึ้นไปตามที่ต้องการ (ผลตอบแทนพันธบัตร จะสวนทางกับราคาที่ตราไว้ ถ้าราคาต่ำผลตอบแทนสูง ถ้าราคาสูงผลตอบแทนต่ำ) เมื่อเขาบอกว่า กำหนดกรอบแล้ว ให้ดูที่ ior และ rrp จะเป็นกรอบดอกเบี้ยยืนพื้น คือ ไม่ให้ดอกเบี้ยต่ำกว่านี้
เพราะว่าธนาคารเองจะไม่มีแรงจูงใจปล่อยกู้กันต่ำกว่าเรต ior rrp ที่ 5.15% และ 5.05% อีกแล้ว เพราะ ธนาคารกลางจ่ายให้ขั้นต่ำ ที่เรตนี้ ดังนั้น ธนาคารจะพยายามปล่อยกู้กันเอง รวมถึง ธนาคารกลางจะดึงสภาพคล่องออกเรื่อยๆ ผ่านการไม่ซื้อพันธบัตรซัำตามกรอบที่วางไว้ ดูกรอบสีเขียว ดู คำว่า roll over และ reinvest สองคำนี้คือการเข้าไปซื้อซ้ำ เวลาเราได้รับเงินต้นคืน ซึ่ง คำว่า exceed a cap แปลว่า เขากำหนดกรอบที่จะซื้อซ้ำในส่วนที่เกิน cap ตรงนี้ นั่นหมายถึง เงินตรงนี้จะปล่อยให้ถูกทำลายไปดังนั้นปริมาณเงินลดลง
exceedcap หรือส่วนที่เหนือเส้นดำขึ้นไปคือซื้อซ้ำส่วนcap ใต้เส้นดำคือปล่อยให้หมดอายหรือทำลายเงินส่วนนี้ทิ้งไปทำให้ปริมาณเงินในเศรษฐกิจลดลง
ส่วนดอกเบี้ยที่สูง และ ต่ำ ก็จะกระทบเศรษฐกิจจริงต่อ อันนี้อาจจะใกล้ตัวเราขึ้นมาคือ ดอกเบี้ยบ้านที่ถือว่าเป็นการลงทุน (ซื้อบ้านใหม่ ) และ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมต่างๆ ไม่ว่า เครดิตการ์ด สินเชื่อส่วนบุคคล ก็จะอิง ปกติ จะ +3% จาก ดอกเบี้ยนโยบาย เช่น ถ้า fed fund 3% ก็จะบวก 3% เป็น 6% จะชาร์จสำหรับลูกหนี้ รายย่อย รายใหญ่ และ เบิกเกินบัญชีชั้นดี เพราะ เสี่ยงต่ำ ส่วน ที่ไม่มีหลักประกัน ก็จะชาร์จมากขึ้นเช่น +10% +15% จาก fed fund rate ซึ่ง กระทบ aggregate demand และ เงินเฟ้อ เพราะ ของขายยาก ก็ต้องลดราคา
ทำให้ค่าครองชีพลดลง และ เงินเฟ้อลงกรอบเป้าหมายตามที่ธนาคารกลางอยากให้เป็นนะครับ สรุปส่งท้ายบทความ
  • 1.
    fed fund rate กับ สภาพคล่องที่มากล้นอาจไม่มีประสิทธิภาพเท่าไร
  • 2.
    ต้องใช้การขอกู้เงินจากตลาดชั่วคราวเพื่อให้เงินส่วนเกินลดลง
  • 3.
    เมื่อเงินเฟ้อลดลง ก็ค่อยปล่อยทยอยเงินส่วนนี้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้
  • 4.
    ระบบเศรษฐกิจแบบเพิ่มลดเงิน ซ่อนเงินแบบนี้ เหมาะกับประเทศที่มี productivity สูง เช่นสหรัฐ เพราะ ผลผลิตออกมารองรับเงินได้อย่างน้อยก็สูงกว่าประเทศกำลังพัฒนา (คุณภาพคน ทุนต่างๆที่มี) หากเป็นประเทศอื่น ที่มีแต่เงินจำนวนมากขนาดนี้ อาจจะ เจอเงินเฟ้อรุนแรง และ เงินเป็นกระดาษไปหมดแล้ว ครับ
อ้างอิง
โฆษณา