17 ก.ค. 2023 เวลา 09:57 • ความคิดเห็น
เอาเป็นว่า
ถ้าคุณชอบอะไรมากๆ คุณจะศึกษาเกี่ยวกับ topics นั้นๆ
จนสามารถลงลึกถึง
ปรัชญา
ที่เป็นหัวใจของการสร้างหรือออกแบบสิ่งนั้นๆ
ผมเองขอสารภาพว่า
เป็นคนเจ้าชู้
ในเรื่องเทคโนโลยี!
1
ผมชอบไปหมดไม่ว่า รถ, เรือ, เครื่องบิน, คอมพิวเตอร์ !
• ผมอยากจะหยิบยก
ปรัชญาชีวิต
ที่ผมได้ “ถอดบทเรียน” จากการศึกษาเรื่องอากาศยานมาพอเป็นตัวอย่างเล็กๆน้อยๆดังนี้ครับ
• คุณเคยสังเกตมั้ยครับว่า
ตอนที่เครื่องบินกำลัง
จะลงจอด (landing)
ถ้าคุณนั่งแถวติดหน้าต่าง
คุณจะเห็นว่า
ปีกของเครื่องบิน
มีการขยับไปมา
โดยมีชิ้นส่วนบางชิ้น
เคลื่อนที่ส่งเสียงดัง
ชวนขนลุก!
1
ครับ
ตามหลักแล้ว เครื่องบินลอยอยู่ในอากาศได้เพราะ
Lift forces
หรือ แรงยกจากอากาศ
โดยแรงยกของเครื่องบินขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานคือ
- รูปทรงของปีก
- พื้นที่ผิวของปีก
- อัตราเร็วของเครื่องบินในขณะทำการบิน
ทีนี้เรามาลองนึกถึง “moment” ที่ captain ส่งเสียงผ่าน “intercom” เพื่อแจ้งกับลูกเรือว่า
Cabin crews!
Prepare for landing :)
captain ^_^!
และ ณ เวลานั้นเองที่
- landing gears หรือ “ล้อของเครื่องบิน” อยู่ในสภาพเตรียมพร้อมสำหรับการลงจอด
โดย ล้อที่อยู่ตรงห้องนักบินด้านหัวเครื่องบินจะเรียกว่า
nose gears
ส่วนล้อหลายๆล้อตรงใต้ปีกทั้งสองข้างจะถูกเรียกว่า
main gears
ไม่เพียงเท่านั้น!
เมื่อเครื่องบินเริ่มลดระดับและที่สำคัญคือ
ลดอัตราเร็ว
ในการบิน
ทีนี้แหละครับที่ “สมการแห่งแรงยก” จะได้รับการปรับสมดุลย์’
คุณยังจำได้ใช่มั้ยครับว่า แรงยกขึ้นอยู่กับสามสิ่ง
เมื่ออัตราเร็วลดลง โดยที่รูปร่างของปีกยังไม่เปลี่ยนแปลง
ดังนั้น
ตัวแปรที่ต้องเปลี่ยนแปลง
คือ
‘พื้นที่ผิวของปีก’
และนี่แหละครับที่ผู้โดยสารที่นั่งชิดหน้าต่าง จะได้เห็น
ปีกเครื่องบินเริ่มทำตัวเป็น
‘Transformers!’
โดยถ้าคุณสังเกตให้ดี คุณจะเห็นทั้ง “ส่วนหน้าของปีก” และ “ส่วนหลังของปีก” เริ่มขยับชิ้นส่วนบางชิ้นไปมา พร้อมกับส่งเสียงชวนขนลุก!
ชิ้นส่วนทั้งสองที่ขยับได้ที่แล้ว จะช่วยเพิ่ม “พื้นที่ผิว” ให้กับปีกทั้งสองข้าง เพื่อรักษาระดับของแรงยก ให้เครื่องบินลงจอดได้อย่างปลอดภัย และทั้ง captain, cabin crews และผู้โดยสารอย่างเราๆท่านๆจะยังสามารถมีชีวิตอยู่เพื่อทำการบินครั้งต่อไปได้อีก!
โดยชิ้นส่วนหน้าปีก มีชื่อว่า “slat” ส่วนชิ้นส่วนด้านหลังของปีกเรียกว่า “flap”
ทั้งหมดทั้งมวลที่ผมวาดภาพให้ฟังคือ การลงจอดปกติของ
passenger aircrafts
หรือ “เครื่องบินพานิช” ทั่วไป
แต่ในโลกของ
Navy Pilots
หรือนักบินรบที่ต้องนำเครื่องบินรบขึ้นและลงจอดบนดาดฟ้าของ
aircraft carriers
หรือเรือบรรทุกเครื่องบิน ชีวิตของพวกเขาและเธอจะแตกต่างไปอย่างมาก!
เพราะ runways บนดาดฟ้าของเรือ จะมีพื้นที่ให้
Take-off
&
Landing
ได้น้อยกว่าสนามบินพานิชทั่วไปอย่างเทียบกันไม่ได้!
นั่นคือ นักบินต้องนำเครื่องบินขึ้นและลงบน runways ที่
สั้นกว่า
และ
แคบกว่า
มาก!
ด้วยเหตุผลนี้เอง ที่
launch and recovery
equipment
ต้องถูกนำมาใช้ เพื่อให้เครื่องบินสามารถใช้งานได้บนดาดฟ้าเรือ
เครื่องมือที่ว่านี้ เปรียบได้กับ
หนังสติ๊ก
ที่เกี่ยวกับล้อของเครื่องบิน ตอนดีดตัวออกจากเรือ หรือ “launch”
ในขณะเดียวกัน ตอน “recovery” หรือช่วงลงจอด
เครื่องบินจะมี “ตะขอ” ตรงท้ายลำ กางออกเพื่อ “เกี่ยว” กับสาย cables บนพื้น runways เพื่อ หน่วงเครื่องบินให้หยุดสนิทบนดาดฟ้าเรือได้!
โดยสาย cables ที่ว่า จะมีอยู่ราว สี่เส้น!
และนี่แหละครับคือ “ปัญหา!”
คำถามคือ
จะเกิดอะไรขึ้นถ้า
ตะขอพลาดการเกี่ยว
กับ
สาย cables ทั้งหมด?!
เพื่อแก้ปัญหานี้ นักบินจะถูกฝึกให้ทำการเร่งเครื่องยนต์ไปที่รอบสูงสุดอย่างเต็มกำลังทุกครั้งที่ทำการ landing!
เพราะถ้าหากนักบิน
missed all cables!
หรือพลาดที่จะเกี่ยวทุกเส้น นักบินยังสามารถนำเครื่องบินที่มีอัตราเร็วสูงสุด ทะยานขึ้นจากดาดฟ้าเรือได้อีก เพื่อทำการบินวนกลับมาทดลองลงจอด
อีกครั้ง!
และถ้าอัตราเร็วของเครื่องบินไม่มากพอ กอปรกับ พลาดทุกสาย cables
สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ
นักบินที่ถูกฝึกมาด้วยงบประมาณ
หลายล้านเหรียญ
และชีวิตของเขาที่ประเมินค่ามิได้
พร้อมเครื่องบินรบ
สมรรถนะสูงที่
tax payers
ต้องจ่ายไปลำละ
นับร้อยล้านเหรียญUSD
ต้องตกลงทะเลไป
พร้อมๆกัน!
• มันเป็นเรื่องที่
counterintuitive
หรือ “ย้อนแย้ง” เป็นอย่างมากที่การนำเครื่องบินลงจอด
นักบินต้องเร่งเครื่อง
สูงสุด!
• แล้วมันให้บทเรียนอะไรกับชีวิต?
พระพุทธองค์ได้กล่าวปัจฉิมวาจา หรือปัจฉิมโอวาท เป็นคำสอนครั้งสุดท้ายก่อนจะปรินิพพานว่า
“วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ” แปลว่า
“สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจง (ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น) ให้ถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาทเถิด”
• ครับ
จงอย่าประมาท!
ไม่ว่าคุณจะลงหลักปักฐานทั้งในเรื่องการงานและชีวิตส่วนตัว
เพราะคุณอาจคิดว่า
คุณกำลังเดินสู่ความมั่นคงแล้ว
แต่แท้จริงคุณก็อาจจะกำลัง
นำเครื่อง F-35
ลงจอดบนดาดฟ้าเรืออยู่!
โฆษณา