Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนแมน
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
18 ก.ค. 2023 เวลา 02:30 • ธุรกิจ
วิดีโอสตรีมมิง คู่แข่งและโอกาส ของละครไทย
30 ปีก่อน ละครเรื่อง คู่กรรม มีเรตติงสูงถึง 40.0 หมายความว่า มีคนไทย 40% ของประเทศ หรือราว 26 ล้านคน รับชมละครเรื่องนี้พร้อม ๆ กัน
1
ภาพดังกล่าว ตรงกันข้ามกับปัจจุบัน ที่ต่างคนต่างมีแอปรับชมคอนเทนต์ประจำตัว ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, YouTube และ Netflix
2
เห็นได้ชัดว่าแพลตฟอร์มต่างประเทศ เข้ามาแย่งเวลา กลายมาเป็นคู่แข่งคนสำคัญ ของผู้ผลิตรายการ และผู้ผลิตละครชาวไทย
แต่ในอีกมุมหนึ่ง เราก็มองแพลตฟอร์มเหล่านี้ เป็นทางออกก็ได้เหมือนกัน แล้วจะเป็นไปได้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ที่ผ่านมา เราเห็นผู้ผลิตรายการทีวี มีการปรับตัวด้วยการสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์ของตัวเอง โดยจะสามารถดูได้แบบฟรี หรือเสียค่าสมาชิกรายเดือน สำหรับคอนเทนต์พิเศษ
1
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า แพลตฟอร์มสตรีมมิงต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น Netflix, Disney+, Prime Video, HBO GO มีความได้เปรียบเรื่องต้นทุนมากกว่าเรา
ได้เปรียบขนาดไหน ?
ยกตัวอย่างก็เช่น งบลงทุนในคอนเทนต์ เฉพาะแค่ของ Netflix มูลค่า 550,000 ล้านบาทต่อปี
เป็นมูลค่าที่สามารถซื้อกิจการธนาคารใหญ่สุดในประเทศไทย ได้ปีละบริษัทเลยทีเดียว
ในขณะที่เจ้าของแพลตฟอร์ม ก็คิดค่าบริการ แทบไม่ได้ต่างจากบริการในบ้านเรา จึงไม่แปลกเลย ที่คนไทยส่วนใหญ่จะเทใจยอมจ่ายให้กับแพลตฟอร์มต่างประเทศมากกว่า
แม้เรื่องนี้จะดูเป็นความท้าทาย ของผู้ผลิตละครในไทย
แต่มันก็สามารถมองเป็นโอกาส ได้เหมือนกัน
เช่น ช่อง 3 หรือ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน) ก็ได้เริ่มเข้าไปเป็นพาร์ตเนอร์กับแพลตฟอร์มต่างประเทศ มาสักพักแล้ว
ในปี 2565 ช่อง 3 ได้นำละครหลายเรื่องไปฉายแล้ว เช่น
- เรื่อง คือเธอ ฉายบน Netflix, Viu และ Tencent
- เรื่อง รตีลวง และเรื่อง อ้อมฟ้าโอบดิน ฉายบน Viu
- เรื่อง คุณหมีปาฏิหาริย์ ฉายบน Netflix ไป 25 ประเทศทั่วเอเชีย
กลยุทธ์แบบนี้ แม้จะดูเหมือนซ้ำซ้อนกับการลงทุนในแพลตฟอร์มของตัวเอง เพราะเวลาผู้รับชมชมแล้ว ก็ไม่น่าจะไปดูซ้ำจากแพลตฟอร์มอื่น
แต่ก็แลกมากับช่องทางการปล่อยละครที่จะทำรายได้มากขึ้นกว่าเดิม จากแค่ประเทศไทยเป็นหลายประเทศทั่วโลก โดยที่บริษัท ก็จะรับรู้รายได้ ในรูปแบบของค่าลิขสิทธิ์
1
หากเรามาดูรายได้จากการขายลิขสิทธิ์ละครไปยังต่างประเทศ ของช่อง 3 ในปี 2565 จะอยู่ที่ 320 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 41% จากปีก่อนหน้า และคิดเป็นสัดส่วน 6% ของรายได้ทั้งหมด
ก็ถือเป็นช่องทางการสร้างรายได้ ที่ไม่ได้ใช้ต้นทุนเพิ่ม เป็นการนำคอนเทนต์ในมือไปขายต่อ ก็เรียกได้ว่าน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว
จากผลการสำรวจของ Media Partners Asia ระบุว่า คอนเทนต์จากประเทศไทย ได้รับความนิยมในกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สิ่งสำคัญที่สุด ก็ต้องวกกลับไปที่ แนวทางการนำเสนอ และคุณภาพของคอนเทนต์ ที่พอเราก้าวข้ามจากคำว่าละครไทย ไปเป็นละครสากลแล้ว เราก็ต้องดีพอสำหรับฐานผู้รับชมในหลายประเทศทั่วโลกด้วย
ซึ่งหากทำได้สำเร็จ ก็อาจเป็นไปได้ว่าอีกหน่อย ธุรกิจผลิตละครไทย ที่เดิมที มีรายได้หลักจากการผลิตละคร เพื่อเก็บค่าโฆษณา จะมีรายได้จากการขายลิขสิทธิ์เติบโตขึ้นมา เป็นอีกช่องทางการสร้างรายได้ ให้บริษัทยังคงเติบโตต่อไปได้เหมือนกัน..
ใครอยากมีความรู้เรื่องตลาดหุ้น ลงทุนแมนแนะนำ หนังสือ BLACK SWAN เล่มนี้ ราคา 380 บาท ที่เล่าถึงความล้มเหลวก่อนที่จะสำเร็จของนักลงทุนในตำนาน 12 คน สามารถสั่งซื้อ ได้ที่
Shopee:
https://shopee.co.th/product/116732911/22304620261
Lazada:
https://www.lazada.co.th/products/i4249762626.html
References
-NBTC and Nielsen
-
https://www.thairath.co.th/entertain/news/1230369
-
https://entertain.teenee.com/series/154125.html
-
https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/ETDA-5-Streaming-Platform.aspx
-
https://www.nielsen.com/th/th/press-room/2017/nielsen-digital-content-ratings.html
-
https://www.thairath.co.th/novel/news/2647341
-
https://www.marketing-interactive.com/netflix-leads-premium-video-viewership-across-southeast-asia-in-2022-with-40-share
ธุรกิจ
9 บันทึก
47
7
9
47
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย