18 ก.ค. 2023 เวลา 08:18 • ประวัติศาสตร์

หลังการปฏิวัติ 2475 ในระยะแรก...

...ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลคณะราษฎรกับสถาบันพระมหากษัตริย์ยังมีความประนีประนอม และเป็นไปอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย แต่หลังเกิดวิกฤตสมุดปกเหลืองของปรีดี พนมยงค์ ความสัมพันธ์ดังกล่าวกลับเลวร้ายลงอย่างมาก จนนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองที่ปูทางไปสู่การเกิดขึ้นของกบฏบวรเดชในปี พ.ศ. 2476 และการสละราชสมบัติของรัชกาลที่ 7 ในเวลาต่อมา
นี่คือเหตุการณ์ความสูญเสียที่เราต่างรับรู้กัน จากประวัติศาสตร์การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง
แต่รู้หรือไม่ว่า เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการค้นพบหลักฐานชิ้นใหม่ซึ่งทำให้เราได้รับรู้ว่า ยังมีเหตุการณ์อัปยศเหตุการณ์หนึ่งที่ควรจะบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้รับทราบว่า ครั้งหนึ่งฝ่ายรัฐบาลคณะราษฎรเคยมีความคิดรุนแรงถึงขนาดคิดที่จะ ‘ฆ่าพระบรมวงศานุวงศ์ด้วยแผนถอดรางรถไฟให้ตกรถตายทั้งขบวน’
เหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงกบฏบวรเดช พ.ศ. 2476 ช่วงที่ทางกรุงเทพฯ และอีสานกำลังเกิดการสู้รบระหว่างคนไทยด้วยกันเอง ตอนนั้นรัชกาลที่ 7 ทรงประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน อยู่ก่อนแล้ว และเมื่อมีกระแสว่าทั้งรัฐบาลและฝ่ายกบฏล้วนต้องการให้พระองค์สนับสนุนข้างตน เงื่อนไขนี้ทำให้รัชกาลที่ 7 ทรงไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจาก ‘ลี้ภัยการเมือง’ ลงใต้มาอยู่ที่จังหวัดสงขลา เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกนำพระองค์เป็นองค์ประกันอันจะทำให้สถานการณ์แย่ลงไปอีก
ทางราชสำนักจึงจัดแบ่งขบวนการแปรพระราชฐานจากหัวหินไปสงขลาเป็น 2 ขบวน ขบวนแรกประกอบด้วยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี และผู้ติดตามอีก 11 คน เสด็จลงเรือยนต์ ซึ่งเป็นเรือเล็กที่บรรทุกผู้โดยสารได้แค่ 10 กว่าคนเท่านั้น
ส่วนอีกขบวน ประกอบด้วยสมาชิกพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่และขุนนางที่อายุมากซึ่งไม่เหมาะกับการเดินทางด้วยเรือเล็กในทะเล จึงมีการจัดให้เดินทางด้วยรถไฟจากจังหวัดประจวบฯ ไปยังสงขลา
การเดินทางด้วยขบวนรถไฟนี้เองที่หลักฐานได้บันทึกไว้ว่า ต้องพบกับอุปสรรคมากมายซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นคำสั่งมาจากรัฐบาลคณะราษฎร รวมถึงมีการ ‘แอบถอดรางรถไฟ’ ในระหว่างทางหลายช่วง เพื่อสกัดกั้นการเดินทางของสมาชิกพระบรมวงศานุวงศ์
ลองนึกภาพดูว่า ในสถานการณ์คับขับแบบนั้น ถ้าหากคนขับรถจักรไม่มีความชำนาญและรอบคอบพอ ก็อาจจะทำให้รถไฟตกรางทั้งขบวน และอาจเกิดการบาดเจ็บล้มตายขึ้นก็เป็นได้ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้อีกเช่นกันว่า นี่อาจเป็นเป้าหมายของผู้ที่ออกคำสั่งให้ถอดรางรถไฟ
แต่สุดท้ายแล้ว ด้วยความช่วยเหลือของประชาชนที่ไม่ยินดีกับการกระทำของคณะราษฎร ทำให้ขบวนรถไฟของสมาชิกพระบรมวงศานุวงศ์เดินทางถึงที่หมายปลายทางจังหวัดสงขลา โดยใช้เวลาถึง 2 วันตั้งแต่วันที่ 17 – 19 ตุลาคม 2476
แผนการอัปยศของคณะราษฎรในครั้งนั้นมีอะไรบ้าง? และการเดินทางของสมาชิกพระบรมวงศานุวงศ์ได้รับการช่วยเหลือจากประชาชนอย่างไร? ฤา ขอนำหลักฐาน ‘ใหม่’ มาเปิดเผยเป็นครั้งแรกที่นี่ https://www.luehistory.com/?p=20303
เลือกติดตามช่องทางอื่น ๆ ของ Lue History ได้ที่นี่
#LueHistory #คณะราษฎร #ปฏิวัติ2475
โฆษณา