18 ก.ค. 2023 เวลา 11:15 • ธุรกิจ

กลยุทธ์ เบียร์ ใบหยก ทำร้านอาหารให้ขายดี โดยไม่ได้ปั้นแบรนด์เอง

คุณปิยะเลิศ ใบหยก หรือคุณเบียร์ ใบหยก เป็นอีกคนหนึ่งที่มีชื่อเสียงในวงการธุรกิจไทย
เพราะนอกจากจะเป็นตระกูลเจ้าของตึกใบหยกแล้ว คุณเบียร์ยังมีเรื่องราวธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอีกหลายอย่าง
3
หนึ่งในนั้นคือ กลยุทธ์ในการเปิดร้านอาหาร
ไม่ว่าจะเป็น ร้านเนื้อย่าง Gyu-Kaku, ร้านชีสทาร์ต PABLO, ร้านแพนเค้ก gram, ร้านปีกไก่ทอด YAMACHAN, ร้านราเม็ง IKKOUSHA
ซึ่งร้านอาหารเหล่านี้ เป็นการนำแฟรนไชส์มาเปิดในไทย ไม่ได้ปั้นแบรนด์เองจากศูนย์
2
ร้านอาหารเหล่านี้ในไทย มีคุณเบียร์ ใบหยก เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการนำ “แฟรนไชส์” มาเปิดในไทย และประสบความสำเร็จ
แล้วคุณเบียร์ ใช้หลักการอะไรในการเลือกซื้อแฟรนไชส์มาเปิด ให้ขายดีในไทย ?
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
จุดเริ่มต้นในการทำธุรกิจร้านอาหารของคุณเบียร์ ใบหยก เกิดจากการที่มีโอกาสไปเรียนภาษาที่ประเทศญี่ปุ่น
ทำให้คุณเบียร์ซึมซับวัฒนธรรมการกินจากที่นั่นมา จนเกิดเป็นความชอบทั้งอาหารและขนมของญี่ปุ่น
และเกิดเป็นความสนใจที่จะทำธุรกิจร้านอาหารเพิ่มเติม จากธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของที่บ้าน
โดยกลยุทธ์คือ การนำแฟรนไชส์ที่น่าสนใจจากญี่ปุ่นมาเปิดในไทย เพราะมองว่า
- ระบบแฟรนไชส์นั้น มีมาตรฐาน รสชาติอาหาร และการทำตลาดถูกวางไว้เป็นอย่างดี
 
- การสร้างแบรนด์ใหม่ขึ้นมาเอง ค่อนข้างยากและใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง ในการวางระบบ ทำการตลาด และการปั้นแบรนด์
แฟรนไชส์แรกที่คุณเบียร์เลือก คือ “Gyu-Kaku” ร้านเนื้อย่างสไตล์ยากินิกุ
เนื่องจากเป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียงในญี่ปุ่น และมีจำนวนสาขามากกว่า 700 สาขาทั่วโลก
โดยทางเจ้าของแฟรนไชส์มีเงื่อนไขว่า ต้องเปิดร้านให้ได้ 3 สาขาภายในระยะเวลา 3 ปี หรือเฉลี่ยปีละ 1 สาขา
อย่างไรก็ตาม แม้คุณเบียร์จะไม่ได้บอกว่าซื้อสิทธิ์บริหารในไทยมาเท่าไร และต้องเสียค่าส่วนแบ่งยอดขายให้เจ้าของแฟรนไชส์เท่าไร
แต่มีการบอกถึงจำนวนเงินลงทุนที่ใช้ทำร้านในแต่ละสาขา
1
เช่น Gyu-Kaku สาขาแรกที่ถนนธนิยะ คุณเบียร์ก็เริ่มเปิดร้านด้วยงบลงทุน 4,000,000 บาท
1
ซึ่งปรากฏว่า ประสบความสำเร็จเกินคาด เพราะมีคนมาต่อแถวเข้าร้านเยอะ และเริ่มติดตลาด จากลูกค้าส่วนใหญ่กว่า 70% ที่เป็นชาวญี่ปุ่น
คุณเบียร์จึงตัดสินใจ เปิดสาขา 2 ต่อที่ทองหล่อ ด้วยงบลงทุน 10 ล้านบาท
รวมแล้วคุณเบียร์เปิด 2 สาขา ในระยะเวลาเพียง 4 เดือนเท่านั้น และเตรียมจะเปิดสาขา 3 ต่อที่ศรีราชา ภายในปีเดียวกัน
ซึ่งเร็วกว่าเงื่อนไขที่ทางเจ้าของแฟรนไชส์กำหนดว่า จะต้องเปิดให้ได้ 3 สาขา ภายใน 3 ปี
พอเป็นแบบนี้ ก็ทำให้บริษัทเจ้าของแฟรนไชส์ที่ญี่ปุ่น มองเห็นโอกาสที่จะเข้ามาทำธุรกิจในไทยเอง
จึงได้เจรจาขอซื้อแฟรนไชส์ Gyu-Kaku คืนจากคุณเบียร์
ซึ่งดีลนี้จบลงด้วยการตกลงว่า เจ้าของแฟรนไชส์ Gyu-Kaku จะจ่ายเงิน 85 ล้านบาท
แลกกับการซื้อสิทธิ์ที่ให้คุณเบียร์กลับไป แล้วบริษัทจะเข้ามาทำธุรกิจในไทยต่อเอง
คุณเบียร์จึงตัดสินใจ ขายสิทธิ์คืนให้บริษัทแม่เจ้าของแฟรนไชส์ไป ซึ่งถ้าลองเอา 85 ล้านบาท มาหักค่าลงทุน 14 ล้านบาท โดยไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แล้ว จะเห็นว่าคุณเบียร์ได้กำไรหลายสิบล้านบาทเลยทีเดียว
โดยหลังจากขาย Gyu-Kaku ไปแล้ว คุณเบียร์ก็ใช้วิธีเดิมในการขยายธุรกิจ
นั่นคือ การซื้อแฟรนไชส์ร้านอาหารและขนมที่มีศักยภาพมาเปิดในไทย
1
เช่น ร้านชีสทาร์ต PABLO, ร้านแพนเค้ก gram, ร้านปีกไก่ทอด YAMACHAN, ร้านราเม็ง IKKOUSHA
ซึ่งแบรนด์ร้านอาหารเหล่านี้ เป็นแฟรนไชส์ชื่อดัง ที่ประสบความสำเร็จแล้วในญี่ปุ่น
ซึ่งต้องบอกว่า หลาย ๆ กิจการที่ว่านี้ก็ถูกขายออกไปแล้วเหมือนกัน
โดยคุณเบียร์เคยให้สัมภาษณ์ว่า มีหลักในการเลือกร้านอาหารที่จะนำเข้ามา คือ
1
- ต้องเป็นแบรนด์ที่คนรู้จัก มีกระแส และเมื่อเปิดจะต้องมีคิวต่อแถว เพราะช่วยให้สามารถทำการตลาดได้ง่ายขึ้น
เช่น ร้าน PABLO ซึ่งเป็นแบรนด์ที่สามารถสร้างกระแสชีสทาร์ตในไทยได้ เปิดแล้วมีคนต่อแถวเยอะ
ทำให้แม้จะใช้เงินลงทุนถึง 20 ล้านบาท
แต่สามารถขายได้วันละ 1,000,000 บาท ในช่วงแรก ๆ ที่เปิดตัว เลยทีเดียว..
References
-รายการ Bearhug : How Much Does Beer Baiyoke Earn? Is It Really One Hundred Billion?
โฆษณา