19 ก.ค. 2023 เวลา 02:13 • ไลฟ์สไตล์
+ นิยาม introvert ที่เรารู้จักเป็นอีกแบบค่ะ ไม่ใช่แบบนี้
- ใน MBTI ที่ทำให้เรารู้จักคำว่าา introvert กับ extrovert ครั้งแรก
- อธิบายใน cognitive function ว่า
1. สิ่งนี้เป็นเพียงวิธีการรับรู้โลก ไม่ใช่พฤติกรรมในเชิงการเข้าสังคมหรือมนุษยสัมพันธ์
2. คนที่ healthy จะมีความเป็น in-, ex- สลับกันไปกันไปตาม Dominant function, Auxiliary function, Tertiary function, & Inferior function เช่น
2.1 introvert - สลับ in, ex, in, ex
2.2 extrovert - สลับ ex, in, ex, in
3. ซึ่งตามทฤษฎี
3.1 คนที่บรรลุนิติภาวะแล้วจะมีพัฒนาการของ Dominant function กับ Auxiliary function ได้อย่างดี คือ introvert มีพัฒนาการใน function extrovert ของ auxiliary มาทานกับ dominant ได้อย่างเหมาะสม เป็นหนึ่งในคำอธิบายว่าการบรรลุนิติภาวะมีผลอย่างไรในการใช้ชีวิต และ
3.2 คนที่อายุประมาณ 35+ปี จะมีพัฒนาการทั้ง 4 function ได้อย่างเหมาะสม (จากที่ตอนอายุ 20ปี มีพัฒนาการเหมาะสมแค่ 2 function) เป็นหนึ่งในคำอธิบายของความเป็นผู้ใหญ่ด้วยวัยวุฒิ
ข้อ 3.1 กับ 3.2 เป็นการการันตีว่าคนที่เป็น dominant introvert ก็(ควร)มีฟังก์ชัน extrovert ได้นะ และ(ควร)มีในฟังก์ชันไหน มันไม่ใช่การฝืนความเป็นตัวเอง ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงตัวเอง ไม่ใช่ผิดไทป์ แต่มันคือพัฒนาการตามปกติที่ควรจะเป็น เพราะยังไงระดับความโดดเด่นของ auxiliary, tertiary, inferior ก็ไม่เท่า dominant และในประเด็นนี้ก็เป็นคำอธิบายด้วยว่า ทำไมใน MBTI ไม่มี ambivert (เพราะยังไงมันก็ไม่มีทางเป็น introvert 50 : extrovert 50 ได้) คนเราแต่ละคนจะมีความโดดเด่นไปทางใดทางหนึ่งมากกว่าอย่างน้อยก็ 51:49
1
4. หากฟังก์ชัน introvert - extrovert ไม่สลับกันตาม 2.1 หรือ 2.2 จะเกิดการวนลูปหรืออาจจะเรียกว่า toxic กับตัวเองก็ได้
+ ถ้ามันเป็นปัญหา
- ลองปลดปล่อยตัวเองออกมาไหมคะ? เลิกนิยามว่าก็ฉันมันเกิดมาแบบนี้ฉันก็ต้องเป็นแบบนี้ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงได้
- หาสาเหตุที่แท้จริง ที่จับต้องได้ ที่ทำให้ต้องเปลี่ยนงานบ่อย
- หาความต้องการที่แท้จริงว่าเราอยากได้อะไร เราอยากมีอะไร เราอยากเป็นอะไร แล้วค่อยๆ หาวิธีการไปสู่จุดนั้น
- ค่อยๆ จัดการไปทีละเปลาะ
2
โฆษณา