19 ก.ค. 2023 เวลา 06:06 • ธุรกิจ

💡 Business Ideation ค้นหาไอเดียที่ใช่ สร้างธุรกิจใหม่ได้ไม่ซ้ำ

ในโลกที่คนจำนวนมากเชื่อว่า “ไม่มีอะไรใหม่อีกต่อไป” แต่เราก็ยังคงเลือกที่จะมองหาสิ่งใหม่ ๆ กันอยู่เสมอ ยิ่งในยุคดิจิทัลที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเป็นรายวินาที การค้นหาไอเดียทางธุรกิจที่ไม่ซ้ำซากจำเจจึงเป็นสิ่งที่นักธุรกิจต้องคอยวิ่งตามให้ทัน
9
ศึกษาวิธีการคิดให้ถ้วนถี่มากกว่าการเป็นผู้วิ่งตามเทรนด์ที่คนอื่นสร้างขึ้นมา หลายคนอาจเริ่มต้นจากสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ จับคู่สิ่งที่แตกต่างกันเชื่อมเข้าหากัน บางคนอาจพัฒนาสิ่งเดิมให้ดีขึ้น ทำให้ของที่เคยแพงราคาถูกลง หรือทำให้ของที่พบเห็นได้ทั่วไปมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
การเริ่มธุรกิจใหม่นั้นเริ่มต้นได้จากหลากหลายปัจจัย เริ่มต้นจากโอกาสใหม่ ๆ ซึ่งอาจเกิดจากความพอเหมาะพอดีกันของความต้องการในตลาดที่ยังไม่มีธุรกิจใดตอบสนองได้มาเจอกับทรัพยากร กำลังคนที่มีอยู่ หรือเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่
กลายเป็นแนวคิดทางธุรกิจ (Business Concept) ซึ่งต้องมีการประเมินโอกาสอย่างถี่ถ้วนก่อนที่จะพัฒนาต่อไปเป็นแผนธุรกิจที่มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย กำหนดคุณค่าที่ต้องการส่งมอบ รูปแบบการหารายได้ ทรัพยากรสำคัญที่จำเป็นต้องใช้และกิจกรรมสำคัญที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ฯลฯ เรียบเรียงออกมาอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้ทุกคนเห็นภาพตรงกัน
เมื่อตั้งใจจะริเริ่มธุรกิจใหม่ ไม่ว่าคุณจะเริ่มต้นคิดจากสิ่งที่มีหรือสิ่งที่ฝัน ก็จำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรมสำหรับธุรกิจผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ซึ่งทิม บราวน์ ผู้บริหาร IDEO เคยกล่าวไว้ว่าเป็นการนำสิ่งที่มนุษย์ต้องการ สิ่งที่เทคโนโลยีเอื้อให้เป็นจริงได้ และสิ่งที่เป็นไปได้ทางเศรษฐกิจมารวมกัน เป็นกระบวนการที่ช่วยให้ผู้ที่ไม่เคยฝึกเป็นนักออกแบบมีความสามารถที่จะคิดสร้างสรรค์
กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนสำคัญ ดังนี้
📌 รู้สึก-Empathize ทำความเข้าใจปัญหา เข้าใจถึงสถานการณ์ เข้าใจประสบการณ์
📌 นึก-Define กำหนดโจทย์ที่ต้องการแก้ไขให้ชัดเจน
📌 คิด-Ideate สร้างไอเดียที่เป็นไปได้ในการแก้ปัญหาจากโจทย์ที่วางไว้
📌 สร้าง-Prototype สร้างต้นแบบอย่างง่าย ๆ เพื่อทดลองใช้
📌 ทดสอบ-Test นำต้นแบบนวัตกรรมไปทดสอบกับผู้ใช้งานจริง
เมื่อไอเดียใหม่เกิดขึ้นและผ่านการพิสูจน์จนเป็นที่ยืนยันได้แล้วว่านี่คือสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายต้องการ ขั้นตอนต่อไปก็คือการประเมินความเป็นไปได้ทางธุรกิจ (Feasibility) ซึ่งต้องใช้ควบคู่ไปกับแผนธุรกิจ (Business Model)
อ่านบทความเต็มได้ที่ https://www.neoacademy.pro/post/business-ideation-with-design-thinking
#NEOACADEMY #NewBusinessDevelopment #MiniMBA

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา