Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องเล่าเมาเมาแมน
•
ติดตาม
19 ก.ค. 2023 เวลา 12:19 • การเมือง
กฎหมายที่ดีเป็นอย่างไร?
คนส่วนมาก เข้าใจว่ากฎหมายนั้นคือมาตรฐาน
ของความดีงาม ที่ใครละเมิดไม่ได้
2
ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว กฎหมายส่วนมากที่เราใช้กันอยู่
มีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
ทั้งจากการแก้ไขกฎหมายโดยตรง โดยกลไกนิติบัญญัติ
และลักษณะการวินิจฉัยของศาลฎีกา
ที่มีผลต่อการพิจารณาคดีหลังจากนั้น
นั่นก็ทำให้สาระของกฎหมายบางประการเปลี่ยนไป
มันเป็นแบบนี้ทั้งกับกฎหมายเอกชน และมหาชน
…ดังนั้น กฎหมาย จึงไม่ใช่มาตรฐานของความดีงามที่จะเปลี่ยนไปตามบริบทของสังคม และสถานการณ์ไม่ได้เลย….
เรื่องที่เป็นประเด็นในสังคมด้านกฎหมายปัจจุบัน
นอกจากกฎหมายความมั่นคงมาตรา 112 แล้ว
อีกเรื่องที่เถียงกันมาก คือ กฎหมายคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งกำหนดไว้เช่นเดียวกับผู้สมัคร ส.ส.
ผมขอพูดประเด็นหลังนี่แหละ
เปล่า!….ไม่ได้จะบอกว่าใครผิดใครถูก
แต่อยากบอกว่า กฎหมายมันล้าหลังมาก และควรเลิกได้แล้ว
…เพราะมันบังคับใช้จริงไม่ได้…
…จะได้ไม่มีปัญหาในอนาคต…
ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของผู้ดำร
งตำแหน่งทางการเมืองนั้น
รัฐมีอำนาจที่จะรอนสิทธิ์ของบุคคลที่จะดำรงตำแหน่ง
บางประการในกรณีคนทั่วไป
เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ในการปฏิบัติหน้าที่
มันไม่ใช่กฎหมายที่มีผลกับทุกคน
ดังนั้นบางที มันก็เข้าใจได้ยากสำหรับคนปกติ
และไม่สามารถนำมาเทียบเคียงกันได้ในทางกฎหมาย
ผมอยากชี้ให้เห็น ถึงความล้าสมัย ของกฎหมายบางข้อ
ที่เขียนไว้สวยหรู แต่ไม่สามารถใช้ได้จริง
เพื่อเปรียบเทียบกัน ในสองส่วน คือ
1)การห้ามถือหุ้นสื่อ มาตรา 98 (3) ที่เป็นประเด็นตอนนี้
2) การห้ามมีหุ้นเป็นบริษัทคู่สัญญาของรัฐ มาตรา 265 (3.2)
ข้อแรกกำลังเป็นประเด็นถกเถียง ส่วนข้อสองนั้น ไม่ได้เป็นประเด็นในขณะนี้ แต่สามารถนำมาเทียบเคียงได้
ว่ากฎหมายนั้น ใช้จริงไม่ได้แล้ว…..
ทำไมถึงใช้ไม่ได้ ?
1) กับมาตรา 98 นั้น ถ้าว่ากันตามตรง
ปัจจุบันการใช้สื่อออนไลน์นั่น
มันมีพลังมากกว่าการเป็นเจ้าของสื่อใดๆจะทำได้
และในทางปฏิบัติ ไม่ว่าจะสื่อประเภทไหน
และไม่ว่าใครก็ตามที่มีสื่อในมือ
ก็ไม่สามารถบังคับให้ใครมาดูตนเองผ่านสื่อได้
ความจริง มีประเทศไทยเท่านั้นที่มีกฎหมายข้อนี้อยู่
ในต่างประเทศ ไม่มีการห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ถือหุ้นสื่อ
เราจะเห็นว่า โดนัลด์ ทรัมป์ ที่อเมริกา หรือ
ซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี่ ที่อิตาลี ล้วนเป็นเจ้าของสื่อทั้งสิ้น
หลักคิด ที่เรื่องนี้ไม่ควรเป็นสิ่งต้องห้ามเพราะอย่างที่บอกแล้ว
ทีวีนั้นมีมากมายหลายช่อง หนังสือพิมพ์ก็หลายหัว
หรือโซเชี่ยลมีเดีย ก็มีนับล้านเพจ
คุณไม่สามารถบังคับใครให้มาติดตามดูคุณได้
ในทางปฏิบัติแล้ว การมีหรือไม่มีหุ้นสื่อ มันจึงไม่มีผลอะไร
ทั้งสิ้น จึงไม่ควรมีกฎหมายข้อนี้อีกต่อไป
ยืนยันได้ด้วยการที่ช่องทีวีของรัฐ ไม่เคยเป็นที่นิยมเลย
และแทบไม่มีอำนาจในทางการเมืองในยุคหลังๆ
แม้แต่การจะใช้ประชาสัมพันธ์ตอนโควิด ทำไม่ได้เลย
นี่ขนาดสื่อรัฐนะ แล้วของเอกชนวจะปลุกระดมคนได้อย่างไร
ถ้าไม่มีใครสมัครใจมาดู ?
ครั้งสุดท้ายที่สื่อรัฐมีอำนาจ มีบทบาท
อาจต้องย้อนไปถึงยุค 6 ตุลาคม กับสถานีวิทยุในตำนานนั่น
กฎหมายที่ใช้ไม่ได้แล้ว จะมีไปเพื่ออะไร นี่คือสิ่งที่ต้องคิดกัน…
…ไม่ได้พูดถึงกรณีปัจจุบัน ไอ้ที่แล้วมาแล้ว ก็ต้องว่าไปตามกฎหมายที่บังคับใช้อยู่…
…แต่พูดถึงเพื่อไม่ให้มีปัญหาเลอะเทอะอีกแบบนี้ในอนาคต เพราะในการตัดสินคดีที่ผ่านมามันผิดแม้กระทั่งธุรกิจโรงพิมพ์ หรือบริษัททำป้ายเล็กๆ แม้กระทั่งพิมพ์แบบเรียนก็ผิด
ทั้งที่ความจริง สื่อในปัจจุบัน
มันไม่ได้มีผลอะไรเลยกับการเลือกตั้ง….
ตามหลักแล้ว ในต่างประเทศนั้น การเป็นเจ้าของหรือถือหุ้น
สื่อใดๆนั้น จะผิดก็ต่อเมื่อ ไปเป็นคู่สัญญากับภาครัฐ โดยมิชอบหรือมีเนื้อหาที่เป็นอันตรายนั่นเอง
…ซึ่งก็คือประเด็นที่จะพูดต่อในข้อสอง….
2) การห้ามมีหุ้นในคู่สัญญาของรัฐ ตามมาตรา 265
อันนี้ก็เป็นกฎหมายที่ใช้ไม่ได้จริง
เรื่องนี้ ไม่ต้องดูอะไรมาก
คิดง่ายๆ ปัจจุบันคุณอนุทิน ไม่มีหุ้นหรือสถานะใดๆในบริษัท
ของครอบครัว คือ ชิโนไทย ซึ่งเป็นคู่สัญญากับภาครัฐมากมายหลายหมื่นล้านเลย
แต่ถามว่า ในทางปฏิบัติแล้ว คุณอนุทิน มีนั้นอำนาจ
สั่งการอะไรในชิโนไทยหรือไม่ ?
คงมีแต่คนบ้า และหลอกตัวเองเท่านั้น
ที่คิดว่าคุณอนุทินไม่มีพาวเวอร์อะไรในชิโน ฯ….
1
ที่พูดนี่ไม่ใช่จะบอกว่าคุณอนุทินผิดอะไรนะครับ
เอาจริงๆบริษัทแกก็มีคุณสมบัติที่ควรจะรับงานนั่นแหละ
และในประเทศ ก็มีบริษัทระดับนี้ไม่มากนัก
แต่ที่พูดนี่คือหมายความว่า กฎหมายมันไม่มีประโยชน์
และถ้าว่ากันตามตรง ในกรณีของชิโนไทยนั้น
หากตัดพวกเขาออกไป มันจะกลายเป็นการผูกขาดของ
อีกเจ้าหนึ่งทันที สำหรับงานก่อสร้างใหญ่ๆ
ดังนั้นไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม กับอำนาจของคุณอนุทิน
ในบริษัทนั้น มันก็ไม่ต่างกัน
และอย่างไร รัฐก็ต้องจ้างชิโนฯ
อยู่เรื่อยๆ มันจึงไม่มีประโยชน์ที่จะคงกฎหมายนี้ไว้เลย
ก็สู้ให้ถือหุ้นไปเลยโดยเปิดเผย มันจะโปร่งใส
ตรวจสอบง่ายกว่าเสียอีก…
…มันน่าจะดีกว่าไหมล่ะ….
1
กฎหมายทั้งสองข้อนั้น มีเพื่อป้องกันสิ่งที่เรียกว่า
“ผลประโยชน์ทับซ้อน” หรือการใช้สถานะทางการเมือง
เอื้อประโยชน์ให้ธุรกิจ
โดยหลักการน่ะมันดี
แต่ในเมื่อในทางปฏิบัติมันใช้ไม่ได้ มันก็ไม่มีประโยชน์อะไร
ที่จะมีกฎหมายลักษณะนี้เอาไว้อีกแล้ว
ในโลกความเป็นจริงนั้น สิ่งที่มีอำนาจมากกว่าการถือหุ้น
หรือเป็นเจ้าของนั้น มันมีอยู่
ภาษานักบริหารเรียกมันว่า Power แปลเป็นไทยคือ
อำนาจบารมี
บารมีนั้น คือการมีอิทธิพลต่อองค์กรโดยไม่ต้องมีตำแหน่งใดๆ
ที่เป็นลักษณะของ “อำนาจหน้าที่” ( Authority ) ที่มีใครแต่งตั้ง หรือเป็นเจ้าของหุ้นหรือกิจการเลย
และหลายครั้งเราพบว่า Power นั้นอยู่เหนือ Authority
เสียอีก ซึ่งที่จริงเราจะพบได้ง่ายมากๆ ตามหน่วยราชการ
เข่น จ่าใหญ่กว่าสารวัตร อะไรแบบนี้เป็นต้น
หรือเอาขำๆ ก็เมียน้อยเจ้าของ ก็น่ากลัวกว่าบอร์ดบริหาร
หรือใครจะเถียง….
2
ดังนั้นในต่างประเทศ เขายึดหลักว่า
เมื่อลักษณะทางอำนาจในองค์กร
ที่ล้วนมีธรรมชาติแบบนี้
จึงไม่มีประโยชน์ที่จะไปห้ามให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของพวกเขา
มีหุ้นหรือเป็นเจ้าของบริษัทที่เป็นคู่สัญญากับภาครัฐ
…แต่เขาไปดูที่ความโปร่งใสแทน ว่ามีพฤติกรรมอย่างไร…
เมื่อวัตถุประสงค์ของกฎหมาย มีเพื่อความโปร่งใส
การบังคับอะไรที่เป็นไปไม่ได้ มันจึงผิดประเด็น
เกาไม่ถูกที่คันโดยสิ้นเชิง
ที่ถูกต้อง ที่ชาวโลกเขาทำกันคือ การดูให้มันโปร่งใสที่สุด
เท่าที่จะเป็นไปได้ ไม่ใช่ไปห้ามอะไรที่มันไม่เมคเซนส์
กรณีว่าเป็นคู่สัญญากับภาครัฐ ถ้าได้งานมาแบบไม่มี
เส้นสนกลใน งานมีคุณภาพตามมาตรฐานงบประมาณ
มันก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไร ไม่ว่าใครเป็นเจ้าของ
หรือการถือหุ้นสื่อ มันก็ไม่ควรเป็นความผิด เพราะไปบังคับ
ใครมาดูไม่ได้ มันควรจะไปดูตรงเนื้อหาที่เผยแพร่มากกว่า
…กฎหมายของเราที่กำลังพูดถึงนี่มันค่อนข้างไร้สาระ
และสร้างปัญหามากกว่าประโยชน์นะ….
….แต่ก็อีก ไม่ว่าใครมีอำนาจก็คงแก้ยาก เพราะคงถูกหาว่า
ตั้งหลักจะโกง มากกว่าที่จะมองความเป็นจริง ในทางปฏิบัติ….
เมืองไทยมีกฎหมายเลอะเทอะแบบนี้ไม่น้อยเลย
ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะเขียนไว้เพื่ออะไร
มันถึงเวลาแล้วมั้ง ที่ควรจะเลิกกฎหมายไร้สาระพวกนี้เสียที
ดีกว่าเอาไว้ให้มาหาช่องทำลายกันแบบนี้….
กฎหมายทุกข้อนั้น เขียนด้วยเจตนาที่ดี
และดูดีเสมอ เพราะคนออกกฎหมาย มักเป็นผู้ใช้ภาษา
และนักสื่อสารชั้นยอด ตามความเคยชินของวิชาชีพ
แต่กฎหมายที่ดีนั้น ต้องมีมากกว่าแนวคิดที่ดี
แต่ต้องปฏิบัติได้จริง ไม่ใช่กฎหมายในอุดมคติ
และต้องชัดเจน ถึงลักษณะความผิด
ไม่ใช่ให้อำนาจการวินิจฉัย อยู่ที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่มากไป
เพราะคนเราทุกคน ล้วนมีอคติในการวินิจฉัยเรื่องราว
ความผิดพลาด หรือจงใจพลาด มันจึงเกิดขึ้นเสมอ
1
สุดท้ายก็จะกระทบกับความน่าเชื่อถือของอำนาจรัฐ
และฝ่ายตุลาการเอง
ซึ่งถ้าสังคมใด กฎหมายไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม
มันก็จะมีปัญหาไม่สิ้นสุด…
…อย่ามองแค่วันนี้ แล้วโยนปัญหาไปให้อนาคต…
เพราะสุดท้าย มันก็แค่การยืดเวลาพังทลายของระบบเท่านั้น
ไม่ใช่ทางที่จะทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้า
หรือปราบปรามการคอรัปชั่นได้ตามที่หวังเลย
…กฎหมายต้องใช้ได้จริง ไม่ใช่แค่ในจินตนาการครับ ….
ความคิดเห็น
ข้อคิด
การเมือง
บันทึก
19
10
2
19
10
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
โฆษณา
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย