20 ก.ค. 2023 เวลา 07:50 • การศึกษา

Art.Ja.D

ชื่อเรื่อง เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ด้วยArt แล้วคุณจะเก่งขึ้นหลังอ่านจบอย่างแน่นอน
ep.1
สวัสดีผู้อ่าน(Readers)ทุกคนค่ะ ก่อนอื่นต้องขอบคุณมากที่เปิดเข้ามาอ่านบทความของเรานะคะ หวังว่าทุกคนจะอยู่กับเราจนถึงบรรทัดสุดท้ายนะ รับรองว่ามีประโยชน์แน่นอนค่ะ เราคงไม่ได้แนะนำตัวอะไรมากนะคะเพราะคิดว่าทุกคนคงอยากอ่านเนื้อหาบทความมากกว่า แต่ถ้ากระแสตอบรับดีเราจะมาสร้างกระทู้แนะนำตัวแยกต่างหากเลย
จากหัวใจหลักของเพจคือ การนำศิลปะเข้ามามีบทบาทในทุกสถานการณ์หรือการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้น บทความนี้จะเน้นไปที่การอ่านหนังสือแบบคนอาร์ต ซึ่งเราคิดว่ามันทำให้ประสิทธิภาพการอ่านดีขึ้นจริงๆ(จากประสบการณ์ตรง)
เกริ่นมาพอสมควรแล้ว มาเริ่มกันเลยค่ะ ต่อจากนี้เราขอเสนอคำศัพท์เพื่อให้ทุกคนเข้าใจตรงกันว่า 1)เราจะเรียกหนังสือหรือข้อมูลที่ทุกคนได้รับว่า “สาร” 2)เราจะเรียกผู้รับสารว่า “Readers” 3)เราจะแทรกเคร็ดลับ(Trick)ไปในเนื้อหา ซึ่งจะย่อว่า T ตามด้วยตัวเลข เช่น T1 คือ Trick1
สิ่งที่จะได้รับเมื่ออ่านบทความนี้จบ
- สามารถอ่านหนังสือในเวลาจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-มีแบบแผน(Pattern)ในการอ่าน
-แปลข้อมูลจากสารได้ถูกต้องและนำไปใช้ได้จริง
-Readersอาจกลายเป็นหนอนหนังสือโดยไม่รู้ตัว
ต้องยอมรับว่ายุคนี้การแข่งขันสูงมาก และผู้คนส่วนใหญ่สรรเสริญคนเก่ง(สำหรับเราเชื่อว่า ทุกคนบนโลกสามารถเก่งได้หากฝึกฝน) ซึ่งคนจะเก่งได้ก็ต่อเมื่อขยันฝึกฝนจนชำนาญ ความขยันคือบันไดขั้นแรกของหลายๆอย่าง เราไม่จำเป็นต้องกลัวความ”ไม่รู้” อีกต่อไป ให้จำไว้ว่า ทุกคนเคยไม่รู้แต่ความไม่รู้จะหายไปเมื่อเราได้คำตอบ คำตอบจะหาได้จากการค้นคว้าด้วยตนเองหรือการถามผู้รู้ T1.แนะนำให้Readersค้นคว้าด้วยตนเองก่อน หมายถึง พยายามให้ถึงที่สุดก่อนแล้วจึงถามผู้อื่นเพื่อเพิ่มเติมคำตอบให้สมบูรณ์……….เอาล่ะมาเริ่มกันเลย
อุปสรรค์ในการอ่านหนังสือของReadersส่วนใหญ่
-อ่านแล้วลืม
-ไม่ได้อ่านด้วยความเข้าใจ
-จับประเด็นไม่ถูก
-แปลความหมายไม่ได้
-ไม่สามารถนำเนื้อหาไปใช้ได้จริงหรือตอบคำถามจากบทเรียนไม่ได้(เช่น ข้อสอบถามถึงเนื้อหาA ที่เราอ่าน แต่แปลงโจทย์แล้วReadersคิดว่าเป็นเนื้อหาที่นอกเหนือจากการอ่าน)
การรับสารไม่ได้มีแค่อ่านอย่างเดียว
สำหรับเรา การฟัง เช่น YouTube หรือ Podcast ก็ถือเป็นการรับสารในช่องทางที่ดีอีกช่องทางหนึ่ง จริงๆเราว่าPodcastก็ดีมากๆนะเพราะเราจะได้ฝึกจินตนาการไปพร้อมๆกับการฟัง แต่สำหรับเราการอ่านก็ยังเป็นทางเลือกที่เราชอบที่สุดอยู่ดี ทั้งนี้ก็แล้วแต่สไตล์ของReadersเลย
สิ่งแวดล้อมมีส่วน
หมายถึง บริเวณหรือสิ่งรอบข้างตอนเราอ่านหนังสือต้องตรงกับความสงบในใจของReadersแต่ละคน สำคัญมากนะ เช่น Readersบางกลุ่มชอบเปิดเพลงคลอไปกับการอ่าน หรือบางกลุ่มชอบอยู่ในที่เงียบๆและไม่มีผู้คนซึ่งมันไม่ได้ผิดนะ มันแล้วแต่บุคคล
เวลาในการอ่าน
ผู้ใหญ่บางท่านอาจแนะนำว่าไม่ให้เด็กนอนดึกและควรตื่นมาอ่านหนังสือตอนเช้าเอาดีกว่า สำหรับเรา เราคิดว่าสมาธิของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนง่วงตอนเช้าหรือบางคนชอบอ่านหนังสือหลังสี่ทุ่ม ก็ไม่ควรฝืนตื่นเช้ามาอ่านแบบคนอื่นเพราะฝืนไปความรู้ก็ไม่เข้าหัวอยู่ดี T2.เราแนะนำว่าให้สังเกตตัวเองว่าช่วงเวลาไหนจิตใจเราแน่วแน่ที่สุดให้เลือกอ่านเวลานั้น ปล.อยากให้ทุกคนลองไปศึกษาเรื่องนาฬิกาชีวิต มันจะอยู่ในวิชาชีวะ ตอนม.ปลายน่าจะได้เรียนทุกคน
Art + Alphabet
จริงๆแล้ว รูปแบบตัวหนังสือก็ถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่งนะ มีงานวิจัยของ คณะแพทย์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ชี้ชัดว่า ตัวหนังสือตัวใหญ่ หนา หรือขีดเส้นใต้ และใช้สีที่แตกต่างจากส่วนอื่นทำให้เราจำข้อความนั้นได้ดีกว่าส่วนอื่น
 
รูปแบบตัวหนังสือ มีองค์ประกอบดังนี้
1. ความยาว
2. ขนาดเล็ก/ใหญ่ สูง/ต่ำ
3. ความหนาของเส้น
4. เงา
5. กรอบ
6. ความโปร่ง/ทึบของตัวหนังสือ
ตัวอย่างรูปแบบอักษรที่เป็นตัวหลักของเรื่อง
Art + Eng.
เหมาะอย่างมากสำหรับReadersที่เริ่มหัดอ่านบทความจำพวกกาพย์กลอน, บทความภาษาอังกฤษ หรือ อ่านโจทย์ที่ต้องแปลความ เราขอเรียกทริคนี้ว่า ศิลป์แห่งภาษา มันก็คือการแตกศัพท์และเชื่อมโยงคำรวมถึงการนึกเป็นภาพ เราขอยกตัวอย่าง 2 กรณีตามภาพด้านล่างค่ะ
Art + Interior
ในหนึ่งวันReadersรับสารหลากหลายเรื่องราว อาจทำให้ข้อมูลตีกันจนไม่เป็นระบบ สะเปะสะปะ หรือบางข้อมูลอาจหลงลืมไป วิธีนี้ช่วยได้มาก Readersลองจินตนาการไปตามเรานะคะ ให้คิดว่าการจัดเรียงข้อมูลคือการออกแบบห้องภายในบ้าน ซึ่งแต่ละคนมีสไตล์แตกต่างกันไป นั่นคือ การแยกและรวมข้อมูลเป็นกลุ่มๆโดยหาจุดเชื่อมโยงหรือข้อแตกต่างของสาร(วิธีนี้Readersมองแตกต่างกันได้) เช่น นายก. แยกและรวมข้อมูลจากความหมายของสาร ภาพด้านล่างจะทำให้Readersเข้าใจสิ่งที่เราอธิบายได้ง่ายขึ้น ไปดูกันเลย
การเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งห้องก็เป็นปัจจัยสำคัญในการดูว่าห้องนี้ใช้ทำอะไร เช่น ห้องครัว ก็ต้องมีเตาแก๊ส, กระทะ, หรือถ้วยจาน ก็เหมือนการรับสารที่ถ้ามีบริบทรอบๆเข้ามาเกี่ยวข้องก็จะทำให้ทุกอย่างชัดเจนมากขึ้น
Art + Physics
เราขอเรียกทริคนี้ว่า การมองภาพเป็นเว็คเตอร์(Vector) เราจะใช้ลูกศรในการกำหนดทิศทางการอ่านจากเริ่มต้นจนสิ้นสุด สิ่งนี้จะทำให้Readersเรียงลำดับสารได้อย่างเป็นระบบ นอกจากลูกศรแล้วยังรวมถึงการสร้างตารางด้วย เราชอบใช้วิธีนี้ไปพร้อมๆกับการทำสรุปด้วยmind mapping ลองดูตัวอย่างด้านล่างนะคะ
Art + Math
วิธีนี้เอาใจคนรักคณิตศาสตร์ ทุกคนต้องเคยเรียนคณิตศาสตร์บทนี้แน่นอน นั่นคือ “SET” บทนี้มันคือการคิดเป็นภาพวิธีหนึ่ง เราจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพตามนี้ Readersเจอประโยคนี้เข้าไป 50% ต้องมีงงแน่นอน เราลองมาถอดความหมายของประโยคด้วยคณิตศาสตร์กัน
‼️ยังมีเนื้อหาอีกเยอะมากๆ รอติดตามep.2 นะคะ‼️
โฆษณา