20 ก.ค. 2023 เวลา 12:00 • ความคิดเห็น

'โสดตลอดชีวิต' ต้องคิดวางแผนให้ดี เพราะมีความเสี่ยงมากกว่า

ในช่วงชีวิตของคน คงหนีไม่พ้นสัจธรรม เกิด แก่ เจ็บ ตาย เมื่อครั้งเกิดมามีผู้อุปการะ คือ บิดามารดาเลี้ยงดูจนเติบใหญ่ ดูแลค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นค่ากิน ค่าเรียน ค่ารักษาพยาบาล พอเรียนจบมีงานทำ มีรายได้เป็นของตนเองก็ถึงเวลาที่บุตรหลานจะเลี้ยงดูท่าน แต่หากท่านได้เตรียมพร้อมเกษียณไว้เป็นอย่างดีก็ไม่ต้องพึ่งพาค่าเลี้ยงดูจากบุตรหลาน
1
สำหรับวัยเกษียณที่มีบุตรหลานคอยเลี้ยงดูคงไม่มีปัญหา แต่สำหรับผู้ตั้งใจแน่วแน่ว่าจะครองความโสดไปตลอดชีวิต อาจต้องพิจารณาการบริหารความเสี่ยงมากขึ้นในแต่ละประเด็นดังนี้
⚠️ช่วงชีวิตไม่ยืนยาว
2
1.1 แบบไม่ยืดเยื้อ ระยะเวลาไม่ยาวนานก็เสียชีวิต เช่น จากอุบัติเหตุ จากโรคแบบเฉียบพลัน
🔍เรื่องชวนให้คิด : มีใครได้รับผลกระทบจากการจากไปอย่างฉับพลันหรือไม่ เช่น พ่อแม่ ที่เราต้องดูแล
1
1.2 ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง
🔍เรื่องชวนให้คิด : กระทบมากกว่าการจากไป คือ การที่ผู้มีรายได้ที่เคยอุปการะครอบครัวไม่สามารถทำงานหารายได้ ซ้ำยังเป็นภาระให้ครอบครัวดูแล
1.3 โรคร้ายแรง
โรคร้ายแรง คือ โรคที่ใช้เงินรักษาจำนวนมาก เมื่อสิ้นกระบวนการรักษาในโรงพยาบาลกระทบต่อการใช้ชีวิตซึ่งไม่กลับมาเหมือนเดิม หมายถึงรายจ่ายสูงระหว่างการรักษา รายได้ที่หายไประหว่างการรักษาและหลังการรักษา
🔍เรื่องชวนให้คิด : ลองจินตนาการถ้าเป็นโรคมะเร็ง การรักษามักใช้คีโมบำบัดซึ่งมีการลางาน หลังคีโมร่างกายจะอ่อนแอต้องระวังการติดเชื้อจึงไม่สามารถกลับไปทำงานได้ปกติ กระทบต่อการทำงาน กระทบต่อรายได้ กระทบรายจ่าย หลังเสร็จสิ้นกระบวนการรักษา ต้องปรับเปลี่ยนชีวิตใหม่ รายได้มักลดลงหรือไม่มีเลย
⚠️ช่วงชีวิตที่ยืนยาว
2.1 เกษียณ
เกษียณ คือ การหมดอายุการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นสังขารไม่เอื้ออำนวย ข้อกำหนดบริษัทของอายุพนักงานเกษียณอายุการทำงาน มีคลื่นลูกใหม่ทดแทนคลื่นลูกเก่า
🔍เรื่องชวนให้คิด : เมื่อรายได้หยุด แต่รายจ่ายไม่หยุด แหล่งเงินใช้ยามเกษียณจะมาจากแหล่งใด
1
2.2 เจ็บป่วย
ในวัยเกษียณ ร่างกายเสื่อมถอย ไม่ว่าจะเป็นข้อเข่าเสื่อม สายตาพร่ามัว เป็นต้อกระจก สมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ ซึ่งการคงคุณภาพชีวิตที่ดีไว้ในยามร่างกายเสื่อมถอยต้องใช้เงินทั้งสิ้น
🔍เรื่องชวนให้คิด : หลังเกษียณ กรณีเจ็บป่วยโรคทั่วไป เจ็บป่วยเรื้อรัง เจ็บป่วยโรคร้ายแรงจะรักษาที่ไหน ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะมาจากแหล่งใด
1
การคิดล่วงหน้าถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นทำให้เราสามารถรับมือได้ดี ไม่ตระหนกกรณีเกิดขึ้นจริง จึงขอเชิญชวนให้คิดเรื่องต่าง ๆ
How To การบริหารความเสี่ยงแบบครอบคลุม
📌1. ช่วงชีวิตไม่ยืนยาว สามารถจัดการความเสี่ยงได้ด้วย “การทำประกันชีวิต”
#กรณีเสียชีวิต
2
ควรมีการคำนวณความคุ้มครองจากประกันที่ควรทำเพิ่ม โดยเริ่มต้นจากประเมิน “ค่าใช้จ่ายสำหรับครอบครัว ให้บิดามารดา” ซึ่งคิดเป็นเงินก้อนที่ต้องเตรียมเอาไว้โดยคำนึงถึงผลของเงินเฟ้อร่วมด้วย และหักด้วย “ทรัพย์สินที่มีอยู่และเงินชดเชยกรณีเราเสียชีวิต” เราก็จะสามารถรู้จำนวนเงินที่จะช่วยคุ้มครองความเสี่ยงที่มีได้
#กรณีทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง
ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงต่างกับกรณีเสียชีวิตตรงที่ว่า เราไม่มีรายได้แต่ยังคงต้องเลี้ยงดูผู้อุปการะและมีค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ค่ารักษาพยาบาลอีกด้วย ดังนั้น ควรคำนึงถึง “ความคุ้มครองที่ควรมีเฉพาะทุพพลภาพ” ร่วมด้วย
1
#กรณีโรคร้ายแรง
การบริหารความเสี่ยงกรณีโรคร้ายแรงจะประเมินตามการคาดการณ์ ความเป็นไปได้ของโรคร้ายแรงที่อาจอุบัติขึ้นเนื่องจากสภาพแวดล้อม กรรมพันธุ์ ซึ่งทั่วไปมักจะเป็นโรคมะเร็ง และไม่สามารถกลับมาทำงานได้อีกแล้ว
การคำนวณความคุ้มครองดังนี้
- ความคุ้มครองเสมือนเสียชีวิต (ไว้ดูแลผู้อยู่ในอุปการะ)
- หนี้สินคงค้างทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น หนี้คงค้างบ้าน หนี้คงค้างรถ ควรปลดให้หมด
- ค่ารักษาพยาบาลที่สูงกว่าค่ารักษาทั่วไป เตรียมไว้ 3,000,000 บาท
- กรณีทำงานไม่ได้แล้วหลังการรักษา ให้คำนวณเช่นเดียวกับในกรณีทุพพลภาพ
2
📌2. ช่วงชีวิตที่ยืนยาว
#เกษียณอายุ
การบริหารความเสี่ยงกรณีอายุยืนและมีเงินใช้ตลอดหลังเกษียณควรทราบข้อมูลดังนี้
1. เงินที่จะใช้สำหรับกินอยู่ในมูลค่าปัจจุบันเดือนละเท่าไร
2. อายุที่จะเกษียณและอายุขัย
1
กรณีตัวอย่างคือ อายุปัจจุบัน 41 ปี จะเกษียณอายุ 60 ปี อายุขัย 85 ปี ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเดือนละ 15,000 บาท ปัจจุบันยังไม่มีการลงทุนสำหรับเกษียณเลย ดังผลตอบแทนคาดหวัง 6% ต้องลงทุนเดือนละ 40,000 บาท
#เจ็บป่วย
การบริหารความเสี่ยงกรณีอายุยืนซึ่งคงหลีกเลี่ยงการเจ็บป่วยไม่ได้ ปัจจัยที่ควรคำนวณมีดังนี้
1. เบี้ยประกันสุขภาพหลังเกษียณที่ต้องชำระแต่ละปีเท่าไร ควรตั้งแหล่งเงินเพื่อการชำระเบี้ยประกันสุขภาพดังกล่าว
2. กองทุนสำหรับจ่ายค่ารักษาหลังประกันสุขภาพหมดความคุ้มครองก็เช่นกัน
1
คนโสดต่างตรงไม่มีบุตรและคู่สมรส แต่ยังมีตนเองและบิดามารดาให้ดูแล กรณีที่ช่วงชีวิตไม่ยืนยาวควรเตรียมความพร้อมใน การจากไป ทุพพลภาพ หรือ เป็นโรคร้ายแรง ซึ่งทำให้ตนเองและบิดามารดาได้รับผลกระทบด้านความเป็นอยู่ หรือในกรณีที่ช่วงชีวิตยืนยาวก็ควรเตรียมความพร้อมเงินใช้ยามเกษียณไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีพ ค่ารักษาพยาบาลโรคทั่วไป โรคเรื้อรังรวมถึง โรคร้ายแรง อยู่แบบโสดๆ ชีวิตก็เกษมได้เมื่อเตรียมความพร้อมครอบคลุมความเสี่ยงทุกด้านไว้เรียบร้อยแล้ว
1
เขียนโดย: กนกพร อัศวยนต์ชัย นักวางแผนการเงิน CFP®
#aomMONEY #สมาคมนักวางแผนการเงินไทย #วางแผนโสด #วางแผนการเงิน #วางแผนประกัน
โฆษณา