Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ซับศิลป์
•
ติดตาม
22 ก.ค. 2023 เวลา 01:00 • ศิลปะ & ออกแบบ
“หญิงเปลือย”: ความหลงไหลในวัฒนธรรมตะวันออกของศิลปินฝรั่งเศส
ภาพ “หญิงเปลือย” (แกรนด์ โอดาลิสก์, Grande Odalisqu, 1814) โดย ฌ็อง-โอกุสต์-ดอมินิก แองกร์ (Jean Auguste-Dominique Ingres)
หญิงสาวท่าทางอิดโรย ดึงดูดสายตาด้วยด้วยสัดส่วนของร่างกายที่แปลกไปจากหลักกายวิภาค ศรีษะของเธอดูเล็กเมื่อเทียบกับแขน และส่วนหลังที่ยาวบิดโค้งเกินจริง ลักษณะหลังที่บิดโค้งนี้ได้รับอิทธิพลมาจากภาพ “พระแม่มารีคอยาว” (Madonna with the long neck, 1534 - 1540) โดยศิลปิน พาร์มิจานิโน มัซโซลา (Parmigianino Mazzola) และท่าทางการเอนหลังบนฟูกมองผ่านไหล่นั้นมีต้นแบบมาจาก “ภาพเหมือนของมาดามเรกามิเยร์” (Portrait of Madame Récamier, 1809) โดย ฌาค-หลุยส์ ดาวิด (Jacques Louis David) จิตรกรชาวฝรั่งเศส
ด้วยสัดส่วนที่ผิดเพี้ยนไป กระดูกสันหลังยาวเหมือนร่างที่ไร้กระดูก และกล้ามเนื้อนี้เป็นเหตุให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางเมื่อแองกร์ได้นำผลงานเข้าร่วมเเสดงครั้งแรงในปี 1819 ที่นิทรรศการศิลปะซาลง
แองกร์ได้รับคำสั่งให้วาดภาพนี้จากคาโรลีนราชินีแห่งเนเปิลส์ น้องสาวของนโปเลียน โบนาปาร์ต ผู้พิชิตอียิปต์ อย่างไรก็ตามแองกร์คือศิลปินที่ขึ้นชื่อว่าเป็น “ศิลปินอนุรักษณ์นิยม” เขาได้เรียนรู้วิชาจาก ฌาค-หลุยส์ ดาวิด ศิลปินคนสำคัญของยุคนีโอคลาสสิก ยุคที่นิยมชมชอบการวาดภาพแบบอุดมคติของกรีกโรมันโบราณ ภาพหญิงเปลือยนี้จึงเป็นภาพชิ้นแรกของเขาที่เป็นการวาดโดยแหกขนบของตัวเอง
หญิงเปลือย หรือ โอดาลิสก์ (Odalisque) เป็นภาษาสเปน แปลว่า นางสนมในฮาเร็ม หรืออีกความหมายหนึ่งหมายถึงหญิงสาวในละครเพลงของตุรกี สตรีภายในราชสำนักของสุลต่านออตโตมัน นอกจากนั้นยังหมายถึงการแสดงศิลปะประเภทที่เร้าอารมณ์ซึ่งแสดงโดยสตรีที่ร่างกายเปลือยเปล่า แองกร์ได้วาดภาพ “หญิงเปลือย” ในช่วงเวลาที่วัฒนธรรมของตะวันออกได้รับความนิยมอย่างมากโดยเฉพาะในฝรั่งเศส อันเนื่องมากจากการค้นพบใหม่ ๆ มากมายในตะวันออกกลาง และการพิชิตอียิปต์ในปี 1798 โดยนโปเลียน โบนาปาร์ต
ชาวตะวันตกเริ่มซึมซับวัฒนธรรมใหม่มากขึ้นหลังจากเข้ายึดครองประเทศต่าง ๆ จากการล่าอณานิคม ศิลปิน และนักเขียนเองต่างก็ได้รับอานิสงส์จากการเดินทางออกนอกประเทศเพื่อชื่นชมดินแดนที่ยึดมาได้
เช่นเดียวกับศิลปินฝรั่งเศสอีกหลายคน แองกร์ได้เผยความชื่นชอบต่อวัฒนธรรมตะวันออกเหล่านั้นผ่านภาพ “หญิงเปลือย” นี้ ดังจะเห็นได้จากองค์ประกอบของภาพที่วว่า หญิงสาวนอนเอนกาย วางข้อศอกซ้ายบนโซฟาหรือฟูกที่มีต้นกำเนิดมาจากตะวันออกกลาง เบาะรองนั่งหลายใบมีลวดลายที่สวยงามแปลกตาพิงอยู่ที่ด้านหลัง
ภาพร่าง“หญิงเปลือย” La Grande Odalisque (1814)
ขาขวาของเธอเหยียดตรงไปข้างหน้า ในขณะที่ขาซ้ายงอเข่าเล็กน้อย และเท้าซ้ายของเธอวางอยู่บนน่องของขาขวา แขนขวาของเธอเหนียดตรงแนบข้างลำตัว ในมือของเธอถือพัดหางนกยูงเอื้อมลงไปที่ขาซ้ายพร้อมกับจับผ้าม่านผ้าซาตินที่ห้อยอยู่ และแม้ว่าเธอจะเปลือยกายทั้งตัว แต่ก็ยังสวมเครื่องประดับอย่างเช่น กำไลทองคำรอบข้อมือขวา อันหนึ่งหนา และอีกสองอันบางกว่า
สวมผ้าโพกศีรษะที่เผยให้เห็นผมบางส่วน มีเข็มกลัดประดับด้วยเพชรพลอยติดอยู่ทางด้านขวาของบริเวณแถบผ้าคาดผมสีทองเหนือผมของเธอ มีเครื่องประดับอีกชิ้นลักษณะเหมือนเข็มขัดวางอยู่บนผ้าปูที่นอนด้านหน้า และบริเวณปลายเท้าของเธอด้านขวาสุดของภาพคือถาดท่อมอระกู่ อุปกรณ์สูบยาของชาวอาหรับ
แองกร์วาดภาพด้วยพู่กันที่นุ่มนวลและละเอียดอ่อนเพื่อสร้างพื้นผิวที่สมจริง ทั้งผิวของหญิงเปลือย พื้นผิวผ้าม่าน และผ้าปูที่นอน ผ้าโพกศีรษะ เครื่องประดับ มอระกู่ ตลอดจนขนนกของพัด องค์ประกอบภาพมีความลื่นไหลโดยการใช้เส้นโค้ง
ถาดท่อมอระกู่ อุปกรณ์สูบยาของชาวอาหรับ
ซึ่งเพิ่มความรู้สึกที่ละเอียดอ่อนให้กับภาพจากความโค้งของรูปร่างของเธอผ่านทางหลัง และแขนขา เป็นส่วนสำคัญที่ขับเน้นความงาม และความน่าดึงดูดตามแบบในอุดมคติมากกว่าที่จะสนใจหลักกายวิภาค ความงดงามที่แปลกประหลาดของภาพ “หญิงเปลือย” นี้เองที่ทำให้ภาพเป็นที่กล่าวขานทำ และถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมายาวนาน
© Guerrilla Girls, Do Women Have To Be Naked To Get Into The Met. Museum?, 2012, courtesy guerrillagirls.com
ภาพหญิงเปลือยถูกนำเสนอใหม่อีกครั้งโดยกลุ่มศิลปินสตรีนิยม “Guerrilla Girls” ในปี 1989 ที่พิพิธภัณฑ์เมโทรโพลิแทน ผ่านสื่อโปสเตอร์เป็นรูปหญิงเปลือยสวมหน้ากากกอริลลา พร้อมกับข้อความว่า "ผู้หญิงต้องเปลือยกายเท่านั้นหรือ จึงจะสามารถเข้าไปอยู่ในพิพิธภัณฑ์ Met. ได้"
เพื่อตั้งคำถามถึงสถานะของสตรีต่อวงการศิลปะ เนื่องจากความไม่เท่าเทียมทางเพศในประวัติศาสตร์ศิลปะที่ผ่านมาส่วนใหญ่แล้วศิลปินมักเป็นเพศชาย ส่วนศิลปินหญิงนั้นมักจะถูกกีดกันทำให้มีชื่อของศิลปินหญิงน้อยมากในหนังสือประวัติศาสตร์ เราจะสามารถพบผู้หญิงได้ในสถานะที่เธอเป็นแบบในภาพวาดเท่านั้น
จะเห็นได้ว่าแม้ภาพหญิงเปลือยจะเป็นเพียงหนึ่งในภาพเปลือยของภาพผู้หญิงในประวัติศาสตร์ศิลปะ แต่ก็สามารถสร้างแรงกระเพื่อม และความเคลื่อนไหวให้กับวงการศิลปะได้ถึงสองครั้งด้วยกัน
-ซับศิลป์-
ที่มา
https://joyofmuseums.com/museums/europe/france-museums/paris-museums/the-louvre/highlights-of-the-louvre/grande-odalisque-by-by-jean-auguste-dominique-ingres/
http://www.worldsbestpaintings.net/artistsandpaintings/painting/42/
https://christopherpjones.medium.com/great-paintings-explained-la-grande-odalisque-by-ingres-ea5b46891da8
https://www.theartist.me/artwork/grande-odalisque/
https://artincontext.org/la-grande-odalisque-by-jean-auguste-dominique-ingres/
4 บันทึก
3
4
4
3
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย