22 ก.ค. 2023 เวลา 04:24 • ปรัชญา
ความดีมีทั้งสิ่งเฉพาะ หมายถึงความดีที่ยึดถือกันในสังคมใดสังคมหนึ่ง กับความดีที่ยอมรับกันในจิตใจมนุษย์ เมื่อเริ่มมีอารยธรรมเบื้องต้นแล้ว
แม้แต่ในสังคมเดียวกัน ความดีเฉพาะในสังคมนั้น ก็ไม่ได้เป็นเอกภาพเดียวกัน อาจพูดได้ว่า ความดีบางอย่างมันเป็น "ค่านิยม" ที่คนกลุ่มหนึ่งถือว่าดี อีกกลุ่มหนึ่งกลับต้องการเปลี่ยนแปลงมัน
ตัวอย่างเช่น สังคมทางตะวันออก มักถือว่า ผู้มีอายุควรอยู่ในฐานะที่ต้องได้รับความเคารพ ซึ่งมีนัยถึงคนหนุ่มสาวต้องเชื่อฟังด้วย
คนรุ่นใหม่กลับมองว่า ค่านิยมนี้เป็นสกัดกั้นอิสระทางความคิด ความเห็น ถือเป็นค่านิยมที่ใช้ไม่ได้อีกต่อไป ดังนั้นเราจะเห็นในสภา ที่ สว. และ สส. มักใช้ความแก่มาสั่งสอนคนรุ่นใหม่ ทั้งๆที่ผิดกาละและเทศะโดยสิ้นเชิง เพราะในสภาเป็นที่ถกปัญหาและแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้ โดยไม่เกี่ยวกับอายุใดๆทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้นค่านิยมความดีเฉพาะ จึงเป็นเรื่องที่ ถ้าใครไปยึดมั่นถือมั่นมากจนเกินไป เราเองจะเป็นทุกข์มากกว่าที่จะสุข สิ่งที่เคยถือกันว่า "ดี" คนรุ่นใหม่อาจมองว่า "ไม่ดี" ด้วยเหตุผลที่เปลี่ยนไปตามบริบททางสังคมในแต่ละยุคสมัย
ถ้าไม่อยากจะเป็นคนแก่แบบกะโหลกกะลา ในสายตาของคนรุ่นใหม่ ก็ต้องรู้จักปรับตัว ถ้าไม่อยากปรับตัว ก็ทวนน้ำแต่พองาม อย่าไปขวางให้มันมากนัก ยุคของเรากำลังจะเปลี่ยนผ่านไปยังคนรุ่นต่อไป ถึงเราจะไม่ชอบแค่ไหน แต่นี่คือความจริง ที่ทุกคนต้องประสบเจอ
ส่วนความดีสากล มันมีประเภทค่านิยมเช่นกัน เช่น สิทธิมนุษยชนที่สังคมประเทศประชาธิปไตยเขาให้ความสำคัญ ถ้าเราอยากจะอยู่ร่วมสังคมแบบนี้ เราก็ต้องยึดถือจริยธรรมข้อนี้ มากน้อยก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ความดีสากลที่เป็นพื้นฐานที่คนทั่วโลกยอมรับกันเช่น การไม่เบียดเบียนเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน การมีเมตตาต่อกัน อันนี้คงไม่มีใครไม่เห็นด้วย
ส่วนภาคขยายจากนี้ ก็ถกเถียงกันได้ เช่นเราไม่ควรเบียดเบียนธรรมชาติ ความจริงคือมนุษย์เบียดเบียนธรรมชาติตลอดเวลา ข้อถกเถียงก็คงเป็นเรื่องของดีกรีการเบียดเบียน แค่ไหนยอมรับได้ แค่ไหนยอมรับไม่ได้
เรื่องความดีเป็นเรื่องซับซ้อน คนที่ชอบอ้างความดีในการกระทำของตนเองหรือพวกพ้องตนเอง มักเป็นพวกที่หาเหตุผลอื่นมารองรับความชอบธรรมในการกระทำสิ่งนั้นไม่ได้ นอกจากอ้าง "ความดี"
เขารู้ทันกันหมดแล้ว....ลุง
1
โฆษณา