Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อาจวรงค์ จันทมาศ
•
ติดตาม
22 ก.ค. 2023 เวลา 07:40 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ประวัติศาสตร์แห่งสีฟ้า คราม น้ำเงิน
#เคมีน่ารู้
(เรียบเรียงโดย ณัฐนันท์ รัตนชื่อสกุล)
ในสมัยก่อนปี ค.ศ. 1700 นั้น รูปวาดต่างๆในแถบยุโรปจะไม่ค่อยมีสีฟ้าและน้ำเงิน สาเหตุคือ สีน้ำมันที่ต้องใช้มีชื่อว่า ultramarine ทำจากหินชนิดหนึ่งนามว่า ลาพิสลาซูลี (Lapis lazuli) หนึ่งในแร่รัตนชาติสีน้ำเงินสดและมีราคาแพง แม้จะยังมีสีฟ้าอื่นๆอีกในสมัยนั้น แต่สีที่ได้ก็ไม่คงทน หรือสูตรผสมบางชนิดได้หายสาบสูญไประหว่างสงคราม
2
Lapis lazuli สีน้ำเงิน ที่มา : Wikipedia
แต่แล้วความหวังใหม่ก็ปรากฎ ในปี ค.ศ. 1706 เมื่อนักประดิษฐ์สีย้อมชาวเยอรมันนาม โยฮันน์ เจคอบ ดีสบัคได้มีความพยายามสังเคราะห์สีย้อมสีแดงจากแมลงที่มีชื่อว่า โคชินีล แต่เขากลับประหลาดใจที่ได้สีฟ้าออกมาแทน เนื่องจากส่วนผสมของเขานั้นมีการปนเปื้อน
1
ไม่นานนักหลังจากนั้น สีย้อมชนิดนี้ก็ถูกวางขายทั่วไปในตลาดในนาม ปรัสเซียนบลู (Prussian blue) แล้วสูตรของมันก็ถูกเผยแพร่สู่สาธารณชน ซึ่งส่วนผสมของสีย้อมชนิดนี้ประกอบด้วย โคชินีล สารส้ม เหล็กซัลเฟต น้ำมันสัตว์ และ โพแทสเซียมคาร์บอเนต ทั้งหมดนี้กลายเป็นสีน้ำเงินสดทึ่คุ้นตากันดี
คลื่นยักษ์นอกฝั่งคานางาวะ ของญี่ปุ่น ใช้สี ปรัสเซียนบลู ที่มา : Wikipedia
โครงสร้างทางเคมีที่สมบูรณ์ของสีย้อมชนิดนี้เกิดจาก ไอออนของเหล็กที่มีประจุ +2 มาเกิดสารประกอบเชิงซ้อนกับไซยาไนด์ โดยมีไอออนของเหล็กที่มีประจุ +3 อีก 4 ไอออนล้อมอยู่ภายนอก แต่การเตรียมการในสมัยก่อนนั้นมักจะมีการปนเปื้อนอยู่เสมอ จนกระทั่ง ความพยายามในการศึกษาโครงสร้างของปรัสเซียนบลูนั้นช่วยพัฒนาองค์ความรู้ทางเคมีอนินทรีย์มาตลอดกว่า 250 ปี อีกทั้งปรัสเซียนบลูนั้นยังสามารถใช้ในการแก้พิษจากโลหะหนัก รวมไปถึงพิษจากสารกัมมันตรังสีอย่าง ซีเซียม-137 ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
4
อีกหนึ่งสีย้อมสีครามที่น่าสนใจคืออินดิโก
ผู้สังเคราะห์สำเร็จเป็นคนแรกมีชื่อว่า อาด็อล์ฟ ฟอน บาเยอร์ หนึ่งในนักเคมีอินทรีย์ผู้โด่งดังแห่งศตวรรษที่ 19 สีย้อมอินดิโกนี้มีความสำคัญมากในวงการอุตสาหกรรมสีย้อมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในการย้อมคราม และการย้อมสีกางเกงยีนส์ที่เรานิยมใส่กัน ทำให้มีการผลิตสีอินดิโกขึ้นจำนวนมหาศาลในแต่ละปี ในอดีต สีย้อมชนิดนี้ถูกสกัดจากใบของพืชในแถบเขตร้อนหลายชนิด และมีศูนย์กลางในการผลิตอยู่ที่ประเทศอินเดีย โดยตัวใบของพืชชนิดนี้เองไม่ได้มีสีฟ้าแต่อย่างใด แต่ต้องนำมันมาผ่านกระบวนการทางเคมีเสียก่อน
2
คราม (Indigofera tinctoria) หนึ่งในพืชของไทยที่ให้สีอินดิโก ที่มา : Wikipedia
ในปี ค.ศ. 1878 คุณฟอน บาเยอร์ ได้คิดค้นวิธีการสังเคราะห์สีย้อมชนิดนี้สำเร็จเป็นครั้งแรก อย่างไรก็ตาม สารตั้งต้นและกระบวนการที่ใช้ในการผลิตนั้นยังไม่เหมาะสมต่อการผลิตในสเกลใหญ่ระดับอุตสาหกรรม อีกทั้งยังมีราคาแพงอีกด้วย
จนกระทั่งกลุ่มนักวิทยาศาสตร์เยอรมันได้สานต่องานวิจัยของเขาจนสามารถสังเคราะห์สีย้อมอินดิโกได้สำเร็จด้วยวิธีการที่เป็นไปได้ในเชิงเศรษฐศาสตร์ โดยใช้สารตั้งต้นจาก aniline ซึ่งมีราคาถูกทำให้การเพาะปลูกพืชที่ใช้ในการทำสีย้อมชนิดนี้ลดจำนวนลงมากในช่วงนั้น แต่นั่นไม่ใช่เรื่องแย่แต่อย่างใด เพราะยุคก่อนสงครามกลางเมืองอเมริกา ทาสจะถูกใช้เป็นแรงงานหลักในการเพาะปลูก
นอกจากนี้ การแทนที่อุตสาหกรรมจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ด้วยการสังเคราะห์ทางเคมีนี้ก็ยังคงเกิดซ้ำไปซ้ำมาในประวัติศาสตร์อยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมยาง และขนสัตว์ ที่ถูกแทนที่ด้วยพอลิเมอร์จากอุตสาหกรรมปิโตรเลียม นั่นเอง
1
7 บันทึก
18
1
5
7
18
1
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย