23 ก.ค. 2023 เวลา 03:12 • ความคิดเห็น
โลกสร้างเราหรือเราสร้างโลก ?
คำถามนี้ถูกลบ
***ความจริงจากคำบอกเล่าของพระพุทธเจ้า & การตีความส่วนตัวของมนุษย์คนหนึ่ง***
ธรรมชาติสร้างโลกค่ะ
หรือก็คือ "โลกคือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ" เหมือนกับการที่ฝนตกนั่นเองค่ะ..
ซึ่งปกติแล้วเราก็จะไม่ค่อยสงสัยกันใช่ไหมคะ ว่าทำไมฝนจึงตก...
//ยกเว้นพวกนักวิทยาศาสตร์ผู้ฝักใฝ่ในการแสวงหาความจริงของโลก//
เวลาฝนตก.. เราก็จะคิดแค่ว่า 'มันเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ'
ซึ่งอาจเป็นเพราะองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เรื่องการกำเนิดฝนที่เราเคยได้เรียนในสมัยเด็ก ๆ ทำให้เรา "เชื่อ" ว่ากระบวนการเกิดฝนเป็นกระบวนการตามธรรมชาติที่เราไม่สามารถควบคุมมันได้ เราเลยหมดความสงสัยต่อมัน
เช่นเดียวกันค่ะ
โลกก็คือปรากฏการณ์ตามธรรมชาติอย่างหนึ่ง
แต่ถ้าหาก "โลก" ในความหมายของคุณหมายถึงกระบวนการภายใน (ความรู้สึก ความจำ ความคิดปรุงแต่ง การรับรู้) ของมนุษย์..
ส่วนตัวเรามองว่า "เรา" และ "โลก" มีความเชื่อมโยงกันอยู่ตลอดเวลาค่ะ..
เพราะบุคคลต้องเกิดมาในครอบครัวและสังคมนี้ (ตามเหตุปัจจัยที่บุคคลเคยสร้างมา)
บุคคลเลยได้รับประสบการณ์และข้อมูลจากสภาพแวดล้อมแบบนี้
และข้อมูลเหล่านั้นจะไปสร้างมุมมองที่แต่ละบุคคลมีต่อโลกขึ้นมา..
ถ้าอธิบายให้เห็นภาพลองนึกถึง..
"บุคคลที่เกิดมาในครอบครัวที่ผู้เลี้ยงดูคอยให้ความรักความอบอุ่นอย่างสม่ำเสมอ"
กับ
"บุคคลที่เกิดมาในครอบครัวที่มีการทะเลาะเบาะแว้งเป็นประจำ" ดูค่ะ..
คุณคิดว่าโลกของคนสองคนนี้จะแตกต่างกันมากแค่ไหนคะ
ซึ่งสุดท้าย โลกตามความเข้าใจของบุคคลในวัยเด็กอันประกอบไปด้วยความรู้สึก ความจำ ความคิดปรุงแต่ง และการรับรู้ ก็จะเป็นตัวกำหนดมุมมองที่บุคคลมีต่อโลกอีกทีค่ะ
ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายก็เช่น..
บุคคลที่เกิดมาในครอบครัวที่อบอุ่นมักจะมีทัศนคติ (ความคิดปรุงแต่ง {สังขารขันธ์}) ต่อโลกในแง่บวกมากกว่าบุคคลที่เกิดมาในครอบครัวที่มีแต่การทะเลาะเบาะแว้ง เพราะเขามีความทรงจำ {สัญญาขันธ์} ในแง่บวกมากกว่า (ความจำและความคิดปรุงแต่งเป็นเหตุปัจจัยในกันและกัน)
หรืออาจจะส่งผลถึงระดับพฤติกรรม เช่น..
การตอบสนองต่อสถานการณ์ที่มีการทะเลาะเบาะแว้งของคนสองคนนี้อาจแตกต่างกัน..
คนที่เกิดมาในครอบครัวที่อบอุ่นอาจจะเข้าไปช่วยคลี่คลายสถานการณ์นั้น
แต่คนที่เกิดมาในครอบครัวที่มีแต่ความรุนแรงอาจจะรีบเผ่นหนีออกจากสถานการณ์นั้นให้เร็วที่สุด เป็นต้นค่ะ
ซึ่งพฤติกรรมตอบสนองอาจไม่เป็นเช่นนี้เสมอไปนะคะ เช่น..
คนที่เกิดมาในครอบครัวที่อบอุ่นอาจจะไม่เข้าไปช่วยคลี่คลายปัญหาก็ได้ เขาอาจจะไม่สนใจแล้วเดินผ่านไป..
เพราะปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์มีหลายอย่างมากค่ะ -- ความรู้สึก ความจำ ความคิดปรุงแต่ง การรับรู้
ซึ่งแต่ละคนล้วนมีความรู้สึก ความจำ ความคิดปรุงแต่ง และการรับรู้ที่แตกต่างกันไม่มากก็น้อยค่ะ
ปล. คำตอบของเรามีการผสมผสานระหว่างพระพุทธศาสนากับทฤษฎีทางจิตวิทยา... เราก็ไม่แน่ใจเหมือนกันค่ะว่าเราเอาแนวคิดของใครมาบ้าง แต่หนึ่งในนั้นเรามั่นใจค่ะ ว่ามีทฤษฎีของนักจิตวิทยาที่ชื่อว่าแอดเลอร์ เผื่อใครสนใจสามารถไปหาอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ค่ะ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา