23 ก.ค. 2023 เวลา 13:37 • ยานยนต์
เอาเป็นว่า
1) “Preflight checks”
นักบินมักถูกฝึกมาให้ “ตรวจสอบ” สถานภาพของเครื่องบินก่อนทำการบินทุก flight
นี่เป็นตัวอย่างที่ดีของการใช้รถด้วยเช่นกัน!
ผมเองมักเปิดฝากระโปรงหน้ารถ เพื่อตรวจดู สภาพในห้องเครื่อง หรือ
1
engine bay
ไม่ว่าจะเป็น ระดับนำ้มันเบรค, ระดับนำ้ยาที่ปัดน้ำฝน, สภาพสายพาน, ระดับน้ำมันเครื่อง, ระดับ coolant, ระดับนำ้มันเกียร์, สภาพขั้วหัวเทียน, และสภาพกล่องฟิวส์ เป็นต้น
หลังจากนั้น ผมจะปิดฝากกระโปรงหน้ารถ แล้วเดินไปท้ายรถ ก้มดูว่า มีร่องรอยการหยดหรือรั่วซึมของของเหลวบนพื้นโรงจอดรถจากใต้ท้องรถ หรือไม่
และผมจะตรวจสอบดูสภาพยาง ซึ่งส่วนใหญ่ผมจะเติมลมยางรถรถที่บ้านเป็นประจำ ก่อนนำรถออกขับ
2) “Starting sequences”
ผมใช้รถเก่าอายุเกือบ 20 ปี แต่ผมสนใจเรื่องรถมาตั้งแต่เด็กๆ ผมจึงพอมีความรู้ที่จะดูแลรถให้ใช้งานได้เป็นอย่างดี
• เมื่อผมเสียบกุญแจและบิดจังหวะแรก มันจะไปอยู่ที่
ACC
ซึ่งผมเข้าใจว่ามันคือ “accessories” นั่นคือ
แบตเตอรี่จะเริ่มจ่ายไฟให้กับบางอุปกรณ์ในรถ เช่น
นาฬิกาดิจิตอล, ระบบเครื่องเสียงและวิทยุ
• เมื่อผมบิดกุญแจไปอีกหนึ่งจังหวะ มันจะไปอยู่ที่
ON
ซึ่งเป็นจังหวะที่ dashboards เริ่มมีไฟสว่างขึ้น! นั่นคือถ้าเราบิดกุญแจไปอีกหนึ่งจังหวะ จะเป็นการติดเครื่อง!
แต่จังหวะ ON ระบบจะจ่ายไฟให้ชิ้นส่วนอื่นๆมากขึ้น เช่น ระบบไฟเปิดปิด กระจกไฟฟ้า และ กระจกมองข้าง
และนี่เองที่เราจะสามารถมองเห็น
ไฟเตือน
บน dashboard ที่มีอยู่หลากหลายสี หลากหลาย icons
ตามความเข้าใจของผม นี่คือ
self-test
หรือ การทดสอบระบบของตัวรถเอง โดยเมื่อเราปล่อยไว้สักครู่ ไฟเตือนต่างๆจะทยอยดับลง
1
แต่ถ้าหากมีไฟเตือนค้างแช่อยู่ เราก็ควรพิจารณาต่อไปตามรหัสสี หรือ
colour codes
> สีเขียว / สีฟ้า:
บอกสถานะรถของเราว่า มีอุปกรณ์ หรือระบบอะไรกำลังทำงานอยู่บ้าง
> สีเหลือง:
บอกสถานะว่าอุปกรณ์ หรือระบบต่างๆ เริ่มมีปัญหาในการใช้งาน เราควรรีบตรวจสอบ และนำรถของเราไปเข้าอู่ หรือศูนย์ซ่อมโดยเร็วหากเราไม่สามารถซ่อมแซมเบื้องต้นเองได้
> สีแดง:
เป็นการเตือนว่าอุปกรณ์ หรือระบบรถของเรามีปัญหาแล้ว ต้องรีบหยุดรถ และซ่อมโดยด่วนหากแก้ไขเบื้องต้นเองไม่ได้ควรเรียกช่างมาซ่อมทันทีไม่ควรฝืนขับต่อไป
3) ผมขอยกตัวอย่างพอสังเขปดังนี้ครับ
• สัญลักษณ์เครื่องยนต์สีเหลือง
สัญลักษณ์เครื่องยนต์สีเหลืองเป็นสัญลักษณ์เตือนว่าเครื่องยนต์ของเรามีปัญหาควรรีบเข้าอู่หรือศูนย์ซ่อมเพื่อตรวจสอบ และซ่อมแซมเครื่องยนต์ทันที
• สัญลักษณ์เข็มขัดนิรภัย
เป็นสัญลักษณ์เตือนก่อนออกรถว่ามีผู้โดยสารยังไม่คาดเข็มขัด แค่คาดเข็มขัดสัญลักษณ์นี้ก็จะหายไป และรถบางรุ่นจะมีเสียงเตือนอีกด้วย
• สัญลักษณ์กาน้ำมันเครื่องสีแดง
หากสัญลักษณ์นี้แสดงขึ้นมาแปลว่าระบบน้ำมันเครื่องมีปัญหาควรให้นำรถเข้าข้างทาง และเรียกช่างหรือรถลากนำรถเราไปซ่อมที่อู่หรือศูนย์ซ่อมทันที ห้ามขับต่อเด็ดขาด เพราะ อาจส่งผลเสียต่อเครื่องยนต์รถของเรา
• สัญลักษณ์ถุงลมนิรภัย
เป็นสัญลักษณ์เตือนว่าถุงลมนิรภัยมีปัญหาไม่สามารถใช้งานได้ ให้รีบเข้าอู่หรือศูนย์ซ่อมทันที แต่ถ้าถุงลมนิรภัยไม่ได้มีปัญหาอะไรสัญลักษณ์ นี้จะขึ้นมาและหายไปเองเมื่อสตาร์ตรถ
• สัญลักษณ์เตือนแบตเตอรี่สีแดง
สัญลักษณ์นี้ค่อนข้างอันตราย เพราะรถอาจมีความเสียหายได้หลายส่วนควรหยุดวิ่ง และหาอู่หรือศูนย์ซ่อมที่อยู่แถวนั้นทันที หากไม่มีอู่หรือศูนย์ซ่อม เราต้องขับรถเข้าข้างทางและเรียกช่างมาซ่อมทันที ไม่ควรขับรถต่อ
• สัญลักษณ์ไฟเบรกมือ
เป็นสัญลักษณ์ที่จะแสดงเมื่อเราดึงเบรกมือขึ้น เพียงแค่เราเอาแบรดมือลงสัญลักษณ์นี้ก็จะหายไปแล้ว แต่ถ้าเราเอาเบรกมือลงแล้วไฟยังติดอยู่ควรนำเข้าอู่หรือศูนย์ซ่อมทันทีเพราะอาจจะมีปัญหาที่น้ำมันเบรกหรือส่วนอื่นๆ ก็ได้
• สัญลักษณ์ไฟ ABS
โดยปกติแล้วสัญลักษณ์ไฟ ABS จะติดตอนสตาร์แล้วดับไป แต่ถ้าหากสัญลักษณ์ไฟ ABS ยังค้างอยู่ แปลว่าตัวเบรกมีปัญหาไม่สามารถป้องกันการเบรกล้อล็อกได้ ควรขับช้าๆห้ามเหยียบเบรกรุนแรง และหาอู่ ศูนย์ซ่อม หรือเรียกช่างมาซ่อมแซมทันที เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการเบรกล้อล็อกได้
• สัญลักษณ์เปิดประตูรถ
สัญลักษณ์นี้แสดงว่ารถปิดประตูไม่สนิท แค่ปิดประตูให้สนิทสัญลักษณ์นี้ก็จะหายไป แต่ถ้าสัญลักษณ์ไฟยังค้างอาจจะเป็นปัญหาที่สายไฟควรเข้าอู่หรือศูนย์ซ่อม แต่ปัญหานี้ไม่ร้ายแรงมากสามารถขับต่อไปได้
• สัญลักษณ์ไฟเตือนอุณหภูมิหม้อน้ำรถ
สัญลักษณ์อุณหภูมิสีแดง:
ถือว่าอันตรายมาก เพราะถ้าอุณหภูมิสูงมากเกินไปหม้อน้ำอาจระเบิดได้ ควรจอดรถข้างทางและเรียกช่างมาทันทีไม่ควรฝืนขับต่อไปแม้อุณหภูมิจะลดลงแล้วก็ตาม
สัญลักษณ์อุณหภูมิสีฟ้า:
เป็นสัญลักษณ์ไม่อันตรายอะไรเพียงแค่หม้อน้ำรถเย็นเกินไปอาจทำให้สตาร์ไม่ติด แค่บิดกุญแจและลองสตาร์ทิ้งไว้สักพักให้รถมีอุณหภูมิ 60 องศาขึ้นไป สัญลักษณ์ก็จะหายไปเอง
• สัญลักษณ์ไฟระบบป้องกันการลื่นไถล
สัญลักษณ์นี้จะแสดงขึ้นเพื่อเปิดระบบป้องกันรถลื่นไถล และเตือนว่าถนนอยู่ในสภาพเปียกที่รถอาจลื่นไถลได้ โดยจะหายไปเองเมื่อถนนแห้งเป็นปกติ และเราสามารถกดปุ่มปิดระบบกันลื่นได้
source:
4) “The Power Users”
ในโลกคอมพิวเตอร์
power users หมายถึง ผู้ใช้งานระบบทั่วไปที่มี technical skills ในระดับสูง!
เนื่องจากผมศึกษาเรื่องรถยนต์มาตั้งแต่เด็กผมจึงต้องการ
take it
to
the next levels!
โดยการแนะนำ อุปกรณ์ที่ใช้ตรวจสอบอาการผิดปกติของระบบในรถยนต์ ที่บางอาการจะแสดงผลเป็นไฟเตือนข้างต้น
อุปกรณ์ที่ว่าคือ
OBD 2
ช่องเชื่อมต่อ หรือ พอร์ต OBD (On-board Diagnostic) จริงๆ มีมานานแล้วตั้งแต่ปี 1968 โดย Volkswagen เป็นผู้คิดค้นขึ้น จากนั้นค่ายรถแบรนด์ต่างๆ อย่างเช่น Datsun และ GM ก็พยายามพัฒนาพอร์ตนี้มาเรื่อยๆ แน่นอนว่าเมื่อต่างแบรนด์ต่างพัฒนาพอร์ตของตัวเอง ทำให้โค้ดที่รายงานปัญหาของรถต่างกันออกไป
จนกระทั่งปี 1988 สมาคมวิศวกรยานยนต์แห่งแคลิฟอร์เนียได้เรียกร้องให้มีการตั้งมาตรฐานของพอร์ตและชุดวิเคราะห์ขึ้น เพื่อให้รถทุกคันสามารถตรวจสอบความผิดปกติของรถได้ ซึ่งมีผลต่อคุณภาพอากาศบนท้องถนนอีกด้วย
จากนั้นในปี 1994 รัฐแคลิฟอร์เนียได้มีคำสั่งให้รถทุกคันที่จะถูกขายในปี 1996 เป็นต้นไป จะต้องมีพอร์ต OBD ตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรยานยนต์แคลิฟอร์เนีย จากนั้นยุโรปก็เริ่มใช้มาตรการเดียวกันในปี 2001 ในปัจจุบัน OBD ที่ถูกติดตั้งอยู่ในรถทั่วไปคือรุ่น OBD2 ส่วน OBD3 นั้นยังอยู่ในช่วงหารือเกี่ยวกับแนวคิดการพัฒนา
พอร์ต OBD2 นี้มีลักษณะเหมือนปลั้กที่มีช่องพินเล็กๆ อยู่ 16 พินด้วยกัน อยู่ภายในห้องโดยสาร ตำแหน่งอาจต่างกันออกไปในรถแต่ละรุ่น แต่ส่วนมากแล้วจะอยู่ตรงฝั่งคนขับด้านหน้า ใต้แผงไฟหน้าปัด
• หน้าที่ของพอร์ต OBD2
เป็นตัวบอกค่าต่างๆ และข้อมูลเบื้องต้นว่ารถของคุณผิดปกติที่ส่วนไหน ซึ่งพอร์ตนี้จะเชื่อมกับไฟเครื่องยนต์ที่แผงไฟหน้าปัด หากมีความปกติเกิดขึ้นก็จะทำให้ไฟเครื่องยนต์นั้นสว่างขึ้น และพอร์ตนี้ยังช่วยให้เราสามารถนำค่าต่างๆ ที่รถเก็บไว้มาช่วยวิเคราะห์สภาพของรถได้ ประโยชน์ของพอร์ตนี้แบ่งเป็น 3 ข้อใหญ่ๆ คือ
1. ตรวจจับพฤติกรรมการขับรถ ความเร็ว การทำงานของเครื่องยนต์ อุณหภูมิของน้ำ ติดตามการสึกหรอของชิ้นส่วนต่างๆ หรือดูว่าชิ้นส่วนใดหลวมไวกว่าชิ้นส่วนอื่นๆ หรือไม่ โดย OBD2 จะอ่านค่าที่บันทึกไว้ใน ECU (Electronic Control Unit) กล่องเครื่อง หรือ กล่องcomputer
2. วิเคราะห์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นล่วงหน้า ซึ่งช่วยให้คุณป้องกันปัญหาได้ แทนที่จะต้องมาแก้ทีหลัง
3. ตรวจการทำงานแต่ละช่วงเวลา ซึ่งข้อมูลที่ได้นี้ส่วนใหญ่จะเอาไปใช้ในการปรับแต่งการทำงานของเครื่องยนต์
แต่ก่อนที่เราจะสามารถอ่านค่าต่างๆ ได้ เราต้องเอาเครื่องอ่านค่า หรือสแกนเนอร์มาเสียบเข้ากับพอร์ตนี้เสียก่อน แล้วอ่านค่าที่ได้จากสแกนเนอร์ โดยส่วนใหญ่ช่างตามศูนย์ หรืออู่ต่างๆ ก็จะมีเครื่องมือนี้กันอยู่แล้ว แต่ถ้าอยากจะมีไว้ใช้เอง ก็สามารถหาซื้อได้จากร้านค้าทั่วไป หรือร้านค้าออนไลน์
source:
โฆษณา