24 ก.ค. 2023 เวลา 03:34 • การเมือง

นายก(ไทย) มาจากไหน???

วิธีการแรก
เป็นการเลือกร่วมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)
โดย ส.ส. มีจำนวน 500 คน มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต400เขต และ
ส.ส.บัญชีรายชื่อ100คนมาจากพรรคการเมืองที่ตั้งรายชื่อในบัญชีไว้ให้
คณะกรรมการเลือกตั้ง(กกต.)ก่อนปิดรับ ส.ส.แบบแบ่งเขต
หมายเหตุ : อ้างอิงตามรัฐธรรมนูญฉบับ 2560
ส.ส.จะทำการเสนอชื่อนายกขึ้นมา และ ส.ว.ร่วมโหวตผู้ที่เหมาะสมจะเป็นนายกรัฐมนตรี
โดยต้องเป็นผู้ที่มีคะแนเสียงมากกว่า 376 เสียงขึ้นไป
ส.ส.แต่ละพรรคการเมืองสามารถเสนอชื่อนายกได้ไม่เกินสามรายชื่อ สามารถเสนอสองรายชื่อ
หรือ ไม่เสนอรายชื่อเลยก็ได้
และส.ส.แต่ละพรรคยังสามารถเสนอชื่อผู้ที่ไม่ได้จาก ส.ส.พรรคการเมืองใดเลยก็ได้ ที่เรียกว่า “นายกคนนอก”
*แต่มีเงื่อนไขในการเสนอชื่อนายก จะต้องมาจากเสียงของ ส.ส.
ไม่น้อยกว่าร้อยละ5 หรือ 25เสียงขึ้นไป ถึงจะมีสิทธิ์ได้มีชื่อเข้าโหวตเป็นนายกได้
วิธีต่อมาคือมาจากการรัฐประหาร
เมื่อเกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองและความวุ่นวายในประเทศขึ้น
อาจทำให้เกิดรัฐประหารเพื่อควบคุมสถาการณ์ในประเทศ และโดยส่วนใหญ่
หัวหน้าคณะปฏิวัติจะถูกแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีหรือเป็นผูอื่นที่ถูกเสนอชื่อขึ้นมา
โดยเกิดจากมติของคณะปฏิบัติในตอนนั้น
นายกรัฐมนตรีของไทยและที่มาการดำรงตำแหน่งนายกของแต่ละท่านตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบัน
โฆษณา