Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
TTW Public Company Limited
•
ติดตาม
24 ก.ค. 2023 เวลา 04:15 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“ตลาดหุ้นไทย” จ่ายภาษีเข้ารัฐเท่าไร?
"ตลาดทุน" ถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากมีส่วนที่เกี่ยวข้องอยู่หลายส่วนใน Supply Chain ซึ่งที่ผ่านมาก็ล้วนสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ สร้างกำลังซื้อผ่านการจ้างงาน และนำไปสู่การสร้างผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนไทย (บจ.) อย่างต่อเนื่อง
และถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการสร้างรายได้ให้รัฐ ผ่านการจ่ายภาษีก้อนโตที่เกื้อหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยได้อย่างเป็นกอบเป็นกำก็คงไม่ผิด
Image Credit: Pixabay.com
ข้อมูลจากฝ่ายวิจัยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระบุว่า 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2556-2565) รัฐบาลไทยเก็บภาษีสุทธิ (หลังหักการจัดสรร) เฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 2.37 ล้านล้านบาท ซึ่ง 80% จัดเก็บโดยกรมสรรพากร และกว่า 631,000 ล้านบาท เป็นการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล
ในปี 2565 ไทยมี บจ. ในตลาดฯ ทั้งหมด 813 บริษัทมีรายได้รวมสูงถึง 18.52 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 33.6% จากปีก่อน หรือเติบโตเฉลี่ยละ 5.5% ในช่วง 10 ที่ผ่านมา
ซึ่งหากนำตัวเลขจากงบการเงินรวมของทุก บจ. มากางดูเฉพาะภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วจะพบว่า ปี 2565 ถือเป็นปีที่จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลรวมสูงสุดในประวัติศาสตร์ที่มูลค่ารวมกว่า 375,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณครึ่งหนึ่ง (50.2%) ของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่กรมสรรพากรจัดเก็บทั้งหมดในปี 2565 เลยทีเดียว
ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยจ่ายให้กรมสรรพากร ในช่วงปี 2556- 2565/ที่มา: ฝ่ายวิจัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย; ข้อมูล ณ 29 พฤษภาคม 2566
ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยจ่ายให้กรมสรรพากร ต่อ ภาษีเงินได้นิติบุคคลทั้งหมดที่กรมสรรพากรจัดเก็บ ในช่วงปี 2556 - 2565/ที่มา: ฝ่ายวิจัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย; ข้อมูล ณ 29 พฤษภาคม 2566 และข้อมูลสถิติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
ส่วนสำคัญที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมีการระดมทุนจากภาคธุรกิจต่างๆ เพื่อเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้น (IPO: Initial Public Offering) เพิ่มมากขึ้น (ทั้ง SET และ mai) โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลย้อนหลังจากปี 2559-2561 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 2.4 เท่า เมื่อเทียบกับช่วง 3 ปีก่อนเข้าจดทะเบียนฯ
อีกทั้งความสามารถในการสร้างรายได้ของ บจ. ที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงความโปร่งใสในการทำบัญชีด้วยมาตรฐานที่สูงขึ้น และการกำกับดูแลอย่างเข้มงวดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ล้วนมีส่วนสำคัญที่ทำให้เงินภาษีเข้ารัฐก้อนนี้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ
และนอกจากภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ บจ. ต้องจ่ายแล้ว ยังมีการจ่ายภาษีในรูปแบบต่างๆ และยังไม่รวมถึงภาษีต่างๆ ของผู้ที่มีส่วนร่วมในตลาดทุนได้จ่ายให้รัฐอีก ไม่ว่าจะเป็นภาษีอื่นๆ รวมทั้งอากรที่ บจ. จ่ายรวมกว่า 277,000 ล้านบาท ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2556-2565)
รวมทั้งบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน บริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัทตรวจสอบบัญชี กองทุนต่างๆ ตลอดจนผู้ให้บริการต่างๆ ในตลาดหุ้นไทยที่ล้วนต้องจ่ายภาษีต่างๆ ด้วยทั้งสิ้น
Image Credit: Pixabay.com
หรือจะเป็นในส่วนของการจ้างงานพนักงานของ บจ. ที่มีการประมาณการว่าได้จ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเข้ารัฐในปี 2564 สูงถึง 80,325 ล้านบาท หรือคิดเป็น 24% ของภาษีประเภทนี้ที่สรรพากรจัดเก็บในปี 2564
รวมไปถึงในกรณีเมื่อ บจ. มีการจ่ายเงินปันผลให้กับนักลงทุนในตลาดหุ้นไทย รัฐก็จะมีการจัดเก็บภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายด้วยอีกส่วนหนึ่ง โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีตัวเลขสูงกว่า 249,000 ล้านบาท และถ้าดูแค่ปี 2565 เพียงปีเดียวก็มียอดรวมสูงถึงกว่า 30,000 ล้านบาท (ไม่ครอบคลุมการเครดิตภาษีเงินปันผล)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีบริษัทจดทะเบียนจ่ายเงินปันผลให้นักลงทุนในตลาดหุ้นไทย ในปี 2556 - 2565/ที่มา: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย; ข้อมูล ณ 17 พฤษภาคม 2565
จะเห็นได้ว่า “ตลาดหุ้นไทย” มีส่วนสำคัญมากในการนำพาเศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนไปข้างหน้า และพัฒนาเศรษฐกิจผ่านระบบการจัดเก็บภาษีประเภทต่างๆ ให้แก่รัฐบาล หรืออีกนัยหนึ่ง “ตลาดหุ้นไทย” ก็อาจจะเปรียบเสมือนกับ “ห่านทองคำ” ลูกรักที่ออก “ไข่ทองคำ” ให้กับรัฐได้ปีละหลายๆ ตะกร้าก็คงไม่ผิด.
# หมายเหตุ #
- ข้อมูลใน Paragraph ที่ 3: หัก
1) รายได้จากการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจกำหนดให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และองค์กรบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
2) เงินคืนของกรมสรรพากร
3) เงินชดเชยภาษีสำหรับสินค้าส่งออก
4) อากรถอนคืนของกรมศุลกากร
- IPO ย่อมาจาก Initial Public Offering หมายถึง กิจการที่เข้าจดทะเบียนเพื่อซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เป็นครั้งแรก ด้วยการเสนอขายหุ้น IPO แก่ประชาชนทั่วไปด้วยวิธีการกระจายหุ้นในรูปแบบต่าง ๆ ดังนั้น กิจการที่เคยอยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ก็จะแปลงสภาพเป็นกิจการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Listed Company)
Reference: SET Note Volume 8/2566, ตลาดหุ้นไทย: บทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยกับการมีส่วนร่วมในการจ่ายภาษีให้ภาครัฐ, เผยแพร่เมื่อ 14 มิ.ย. 2566, จัดทำโดยนางสาวสุมิตรา ตั้งสมวรพงษ์, ฝ่ายวิจัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
## ติดตาม "ทีทีดับบลิว" ได้แล้ววันนี้ทาง ##
Website:
www.ttwplc.com
Facebook: ttwplc
Instagram: ttwplc
Youtube: TTW Plc Channel
Linkedin: TTW Public Company Limited
Blockdit: TTW Public Company Limited
ตลาดหุ้น
หุ้น
ภาษี
บันทึก
1
8
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เดี๋ยวรู้เรื่อง...การลงทุน!
1
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย