26 ก.ค. 2023 เวลา 16:35 • การศึกษา

EP.3

ใครยังไม่ได้อ่านEP.1-2 เราแนะนำว่าลองย้อนกลับไปอ่านก่อนนะคะจะทำให้เข้าใจสารมากขึ้น
Art Pure
งานวิจัยของคณะแพทย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ชี้ชัดว่า “สี” ช่วยให้เราจดจำสิ่งต่างๆได้ดีขึ้นแปะลิงค์ เราขอเพิ่มเติมเรื่องการใช้สีอีกนิดคือ การนำสีมาใช้ในการเชื่อมโยงเนื้อหาและการจัดกลุ่มข้อมูลด้วยโทนสีในแบบArt Ja D มีอยู่ว่า สีเข้มสุด คือ สำคัญสุด, อ่อนสุด คือ สำคัญน้อยสุด และจุดHighlightควรเลือกสีตรงข้ามกับสีที่ใช้ทั้งหมดของเนื้อหา
เมื่อเวลาเราเปิดอ่านเราจะมองเห็นสีที่โดดเด่นเป็นอันดับแรก เช่น หากเนื้อหาบทนั้นๆใช้สีโทนร้อน(แดง,ส้ม) ให้เลือกจุดHighlightเป็นสีโทนเย็น(น้ำเงิน,เขียว) เราจะเรียกวิธีนี้ว่า “Contrast แต่ Get”
แล้วถ้าหากเรามีปากกาแท่งเดียวล่ะ จะใช้วิธีนี้ได้ไหม? คำตอบคือ ไม่เป็นปัญหาเลยค่ะ เราแค่เปลี่ยนจากการใช้สีเป็นการstress(เน้น,ย้ำ)คำด้วยขนาดเส้น เช่น ตัวหนา ตัวที่ขีดเส้นใต้ ให้นึกถึงหนังสือพิมพ์ขาวดำหน้า1 ที่จะมีฟ้อนต์และรูปแบบตัวหนังสือที่โดเด่น T.ควรระวังเรื่องการใช้เส้น เราจะสรุปเรื่องการใช้เส้นจากสำคัญมากไปน้อยตามความหมายของเส้น ดังนี้
หาก เป็นคนชอบวาดภาพReadersอยู่แล้ว เราแนะนำว่าบางจุดสามารถาดภาพประกอบเสริมเข้าไปได้ แต่ ภาพต้องชัดเจน(พึงระลึกไว้เสมอว่า ภาพ ไม่มีตัวหนังสือ ดังนั้น ภาพต้องชัดเจนและควรเป็นภาพตัดทอนแล้ว เพราะเมื่อสแกนอ่านเราจะได้เข้าใจได้โดยไม่ต้องอ่านเนื้อหาทั้งหมด) เห็นภาพก็เข้าใจได้เลยว่าจะสื่อถึงอะไรกล่องข้อความ: ตัวอักษรศิลป์
จริงๆแล้ว รูปแบบตัวหนังสือก็ถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง การใช้ตัวหนังสือขนาดใหญ่ ตัวหนา หรือขีดเส้นใต้ จะช่วยทำให้เราจดจำข้อความนั้นได้ดีกว่าส่วนอื่น
Trickเสริม ที่ต้องทำ หากอยากเก่ง
1.​เขียนคำถามก่อนอ่าน
มันเหมือนการเขียนเป้าหมายหรือเขียนสรุปการอ่านในเล่มนั้นๆ(เราชอบใช้วิธีนี้มากกว่าการเขียนสรุป) แล้วเมื่ออ่านไปจนถึงคำตอบเราก็เอามาตอบคำถามแต่ละข้อๆไป วิธีนี้จะช่วยเกร็งข้อสอบให้กับตัวReadersเองด้วย ปล.คำถามอาจคิดเพิ่มขึ้นมาในระหว่างอ่านอยู่ก็ได้
2.​ ช่วงเวลาในการอ่าน
ผู้ใหญ่ส่วนมากจะแนะนำให้บุตรหลานนอนแต่หัวค่ำแล้วตื่นเช้ามาอ่านหนังสือดีกว่า ซึ่งไม่ผิดนะคะ แต่สำหรับเรา เราคิดว่าสมาธิของReadersแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนง่วงตอนเช้า บางคนชอบอ่านหนังสือหลังสี่ทุ่มก็ไม่ควรฝืนตื่นเช้ามาอ่าน เพราะฝืนไป ความรู้ก็ไม่เข้าหัวอยู่ดี เราแนะนำว่าให้สังเกตตัวเองว่าช่วงเวลาไหนจิตใจเราแน่วแน่ที่สุด ให้เลือกอ่านเวลานั้น
3.​การรับสารไม่ได้มีแค่”อ่าน” อย่างเดียว
นอกจากการอ่าน การฟังก็เป็นการรับสารอีกทางหนึ่ง Readersบางคนอาจชอบรับสารในรูปแบบการฟัง เช่น Youtube หรือ Podcast เราก็แนะนำว่าให้เลือกรับสารตามความชอบเลยค่ะ
4.​ตอนอ่าน “อย่า” กิน
ทำไมไม่ให้กินไปอ่านไป เพราะความสนใจของReadersจะถูกแบ่งไปที่การกินส่วนหนึ่ง เราแนะนำว่าให้โฟกัสไปเป็นอย่างๆ อย่าทำหลายๆอย่างพร้อมกัน มันจะออกมาไม่ดีสักอย่าง ถ้าพูดตามหลักวิทยาศาสตร์ก็คือ เมื่อเราทานอาหาร เลือดบางส่วนจะลงมาเลี้ยงกระเพาะอาหารและลำไส้(เนื่องจากเลือดเป็นตัวขนส่งอาหารและออกซิเจน ดังนั้นอวัยวะใดทำงานมากขึ้นก็จะมีเลือดไปเลี้ยงเพิ่มขึ้น)ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลง
เงื่อนไขที่Readersส่วนใหญ่เผชิญ
-เวลาในการอ่านจำกัด ในที่นี้รวมถึงReadersบางส่วนที่ชอบอ่านหนังสือตอนก่อนสอบเพียง1-2วัน ซึ่งไม่ผิดนะคะ เราเข้าใจว่าในแต่ละวันนักเรียนไม่ได้เรียนแค่วิชาเดียว และต้องแบ่งเวลาทำการบ้านและเวลาพักผ่อนด้วย ดังนั้นจึงไม่มีเวลาอ่านหนังสือมากพอ(ตอนเราเรียนเราก็เป็น)
สรุป
ทุกอย่างย่อมมีอุปสรรคที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สิ่งที่เราทำได้คือ ปรับตัว ให้เข้ากับสถานการณ์ รับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ ดูสมการนี้นะ
ให้คิดเสมอว่า ถ้าทำ ยังไงมันต้องเสร็จ และถ้าเราทำแบบนี้ได้สักครั้งหนึ่งเราจะไม่ย่อท้อในการทำสิ่งต่างๆครั้งต่อไป
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์นะคะ เข้ามาติชม แสดงความคิดเห็นกันได้ หรืออยากให้เรานำArtไปCollabsใช้กับอะไรก็บอกกันได้นะ แล้วพบกันใหม่ สวัสดีค่ะ
โฆษณา