Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Side Stories
•
ติดตาม
27 ก.ค. 2023 เวลา 12:30 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
Barbie: เมื่อทุกคนคือ "เคน" และ "บาร์บี้" ในเวลาเดียวกัน
คำเตือน!! บทความนี้
เหมาะสำหรับคน
ที่ดูหนัง #Barbie แล้วเท่านั้น!!
.
.
.
.
.
หนังโทนล้อเลียน
ที่ทุนสร้างไม่ล้อเล่น
ถึง 145 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
(ไม่รวมงบมาร์เก็ตติ้ง)
ที่ทำให้มาแรงตีคู่
ไปกับ #Oppenheimer
หนังวิทยาศาสตร์สุดดาร์ค
จาก “Christopher Nolan”
ผกก.มากฝีมือเจ้าพ่อ IMAX
ซึ่งเข้าโรงฉายในวันเดียวกัน
จนเป็นไวรัล ‘Barbenhiemer’
ในโซเชียลมีเดียทั่วโลก
โดยบาร์บี้จะว่าด้วยเรื่องของ
วิวัฒนาการมนุษย์
ที่ถูกเล่าในมุมเด็กสาว ผู้หญิง และแม่
แค่ฉากเปิดก็เรียกเสียงฮือฮาแล้ว
เพราะมีการล้อเลียนถึง
“2001: A Space Odyssey”
หนังที่ถูกยกย่องเป็นตำนานตลอดกาล
ของวงการภาพยนตร์
และถ้ามองย้อนไทม์ไลน์ไป
บาร์บี้ตัวแรกของโลก
ได้กำเนิดขึ้นในปี 1959
และอีกหลายสิบปีให้หลัง
โลกสมมติแห่งนี้
ก็กลายเป็น #BarbieLand
หนังพาไปทำความรู้จัก
โลกแห่งบาร์บี้ที่เคลื่อนไปข้างหน้า
ด้วย “จินตนาการ” ของพวกเธอ
พร้อมเชื่อมต่อความทรงจำ
กับผู้เล่นใน ‘Real World’
โดยเราจะได้เห็น “Margot Robbie”
ในแบบ ‘Typical Barbie’ หรือ
บาร์บี้พิมพ์นิยม ผมบลอนด์ ตาฟ้า ปากชมพู
เป็นบาร์บี้ที่ใครๆ ก็นึกถึงเมื่อพูดคำนี้
ซึ่งจริงๆ แล้ว
บาร์บี้สามารถเป็นได้ทุกอย่าง
จะเห็นได้จากคอลเลคชั่น
ตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน
มีมากมายและหลากหลาย
ทั้งในแง่เชื้อชาติ สีผิว อาชีพ
มีบาร์บี้นักบินอวกาศ
ประธานาธิบดี อัยการ ทนาย ผู้พิศากษา
ไปถึง “มิดจ์” เพื่อนบาร์บี้
กับชุดตั้งครรภ์ที่หยุดผลิตไปแล้ว
หากมองเผินๆ ในมุมทั่วไป
หลายคนที่ซื้อตั๋วไปดู
อาจจะมองว่ามันจะ
เป็นหนัง Feminist ตลกเสียดสี
แดกดันโลกของปิตาธิปไตย
(ระบบสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่)
แต่ขอบอกเลยไม่ว่า
คุณจะเป็นเพศไหน
มีแนวคิดหรือยึดถืออะไร
ก็ดูเรื่องนี้ได้อย่างสบายๆ
เพราะบาร์บี้มีคติสำคัญคือ
“เป็นมิตรกับทุกสิ่งในโลก”
เหมือนชีวิตจริงย่อมไม่มีเส้นแบ่ง
ระหว่าง“บาร์บี้แลนด์” กับ “เคนด้อม”
เมื่อท้ายที่สุดเราทุกคน
สามารถอยู่ร่วมกันได้ เป็นเพื่อนกันได้
ถ้ามองอีกฝั่งอย่างเข้าอกเข้าใจ
จากมุมนี้ สำหรับเราถือว่าสวยงามแล้วค่ะ
ในโทนของตัวบาร์บี้เอง
ที่ให้ความนุ่มนวล น่ารัก
เฟรนด์ลี่กับทุกคน
โดยเฉพาะ ‘เคน’ ตัวละครชาย
ที่เวลาอยู่ในบาร์บี้แลนด์
พวกเขาก็เป็นแค่เคนธรรมดา
แต่พอได้ไปอยู่ใน Real World
ก็ได้รับอิทธิพลชายเป็นใหญ่
มาเผยแพร่ต่อกัน
แม้จะทำอะไรไม่คาดฝันไปบ้าง
ก็ไม่ถูกเกลียด เพราะตลอดเวลา
ที่เรื่องดำเนินไป เราก็ได้เห็น
การเติบโตของเขามากขึ้นเรื่อยๆ
แถมยังเรียกเสียงหัวเราะในโรงได้สุดๆ
อีกมุมก็เหมือนเป็นการสื่อว่า
เคนอาจเป็นเพียง “ส่วนเติมเต็ม”
ให้บาร์บี้และโลกของเธออย่างสมบูรณ์
สะท้อนให้เห็นภาพกลับด้าน
จากหนัง ละคร ซีรีส์ยุคคลาสสิค
ที่นางเอกและตัวละครหญิงอื่นๆ
เป็นเพียงส่วนเติมให้พระเอก
ได้ฝ่าฟันอุปสรรคจนสำเร็จ
นับเป็นการล้อเลียนสังคม
ด้วยท่าทางใสซื่อ
มากกว่าจะปล่อยหมัด
โจมตีบุคคลอื่นให้เจ็บจี๊ด
นอกจากนี้บาร์บี้ยังสะท้อน
จุดร่วมหลายอย่างที่ผู้หญิง
สามารถ “Connect” กันได้
โดยไม่ต้องพูดเยอะ
ไม่ว่าจะเป็นความกังวลใจ
ในความสวยที่ไม่จีรัง
การเติบโต การได้เป็นแม่หรือแก่ลง
อาการไม่สบายใจต่างๆ
ที่บอกสาเหตุอันแน่ชัดไม่ได้
เวลาถูกจ้องมอง
ความรู้สึกไม่ปลอดภัย
ที่เกิดขึ้นแบบอัตโนมัติ
เมื่อก้าวเข้าสู่ Real World
เรื่องพวกนี้ถือเป็นเรื่องที่
เชื่อว่าผู้หญิงทั่วโลกสามารถ
แชร์ประสบการณ์ร่วม
แบบเดียวกันได้
แม้จะไม่เคยเจอกันมาก่อน
เช่น ตัวละครเด็กสาววัยรุ่นในหนัง
ตัวแทน Gen Z ใน Real World
ที่เหมือนว่าเธอจะ
ต่อต้านบาร์บี้ เกลียดสีชมพู
เกลียดความเป็นผู้หญิง
ที่ทำให้เธอดูอ่อนแอ
ช่วงวัยหัวเลี้ยวหัวต่อนี้
ทำให้เรานึกถึงตัวเองในวัยเด็กโต
ที่เลือกทิ้งกระโปรง
ทิ้งเสื้อผ้าสีชมพู เกลียดชมพูไปยุคหนึ่ง
โดยไม่รู้สาเหตุชัดเจน
รู้แต่เพียงว่าถ้าเลือกแสดงออก
ในแบบที่ดูเข้มแข็ง ไม่อ่อนหวาน
จะได้รับการปฏิบัติต่างออกไป
เพราะเวลาผู้ชายหมั่นไส้ผู้หญิง
ผู้หญิงก็หมั่นผู้หญิงด้วยกันเอง
การต้องเอาตัวรอดไม่ให้อยู่
ในสถานการณ์ที่จะถูกล้อ จับจ้อง
คุกคามด้วยสายตาและคำพูด
ทั้งหมดจึงเป็นสิ่งที่ก่อร่าง
สร้างมาในโลกผู้หญิงถูกกดขี่
แม้แต่ชายเองก็ได้รับผลไปด้วยเช่นกัน
จากคำสอนที่ส่งต่อกันมา
#สรุป
โลกนี้ไม่มีใครอยาก
ถูกมองเป็น “Object” หรอก
ซึ่งประเด็นนี้ถูกเล่าโดย ‘เคน’ (ไรอัน กลอสลิง)
ตัวละครที่ถูกตีตราในบาร์บี้แลนด์
จากการค้นพบแนวคิดผู้ชายครองโลก
ไปสู่การยึดอำนาจการปกครอง
เปลี่ยนโลกสีชมพูเป็นเคนด้อม
ยึด Dream House บ้านในฝันของบาร์บี้
แล้วให้สาวๆ เป็นเพียงผู้บริการ
ง่ายๆ คือแก้แค้น ทำสิ่งเดียวกัน
กับที่บาร์บี้เคยปฏิบัติต่อพวกตน
(บาร์บี้เคยแบ่งแยกพื้นที่ชัดเจน
ระหว่างเพื่อนสาว-เพื่อนผู้ชาย
พวกเคนจะดีแค่ไหน ก็เป็นได้ “แค่เคน”)
กลายเป็น Real World
ที่คนเอาแต่โต้เถียง
และเอาชนะกันไปมา
นับว่าหนังเล่าประเด็นนี้และ
ยังพยายามหาจุดลงตัว
ให้ความขัดแย้งตลอดกาลนี้ได้อย่างงดงาม
เพราะชีวิตจริงเราก็อาจ
เป็นได้ทั้ง “เคน-บาร์บี้” ในเวลาเดียวกัน
ขึ้นอยู่กับว่าจะไปอยู่ที่ไหน กับใคร
บาร์บี้ที่อยู่ใน Real World
ในที่ที่เขาไม่ได้เห็นค่าผู้หญิง
พวกเธอก็เป็น “Just Ken”
กลับกันพวกเคนที่พอไปอยู่ชีวิตจริง
ก็เหมือนเป็นบาร์บี้ เจ้าของโลก
ทว่าพอกลับไปในโลกสีชมพู
พวกเขาก็เป็นแค่เคนเหมือนเดิม
มาถึงจุดนี้เราก็เชื่อว่าบาร์บี้
มันเป็นหนังของ ‘ทุกคน’
และควรค่าแก่การซื้อตั๋วไปนั่งจอยๆ
เปิดใจรับชม และพบกับ
ความสนุกในดินแดนบาร์บี้
ที่อาจมีจุดสะเทือนใจให้คุณเสียน้ำตา
จนรู้ตัวอีกที คุณอาจจะเดินยืดอก
ออกจากโรงแล้วตะโกนว่า
“I am (K)enough” ไปแล้วก็ได้ 💟💟
เขียนบทความโดย: แอดดือรีมชอบสีชมพู
ภาพยนตร์
บันเทิง
เพลง
2 บันทึก
2
3
2
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย