27 ก.ค. 2023 เวลา 08:45 • ท่องเที่ยว
วัดร่องขุ่น

สลากไทพลัส ร่วมกับกองสลากไท พาชม วัดร่องขุ่น

วัดร่องขุ่น เป็นวัดพุทธ ที่ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย สลากไทพลัส และ กองสลากไท ได้ทราบมาว่าผู้ออกแบบและสร้างวัดร่องขุ่นคืออาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ซึ่งเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย ซึ่งก่อตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน ลักษณะเด่นของ วัดคือ พระอุโบสถถูกแต่งด้วยลวดลายกระจกสีเงินแวววาวเป็นเชิงชั้นลดหลั่นกันไป หน้าบันไดประดับไปด้วยพญานาคมีงวงงาดูแปลกตาน่าสนใจ และยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถที่เป็นฝีมือภาพเขียนของอาจารเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ย์เองอีกด้วย
ประวัติวัดร่องขุ่น โดย สลากไทพลัส
ก่อนจะมาเป็นวัดร่องขุ่นที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้ กองสลากไท และ สลากไทพลัส ได้ทราบมาว่า เมื่ออดีตเมื่อ ปี พ.ศ.2430
ยังมีชาวบ้านเข้ามาจับจองที่ดินทำไร่ทำนาบริเวณบ้านร่องขุ่นเพียงไม่กี่หลังคาเรือน โดยอาศัยลำน้ำสายเล็กๆ ที่ไหลลงสู่แม่น้ำแม่ลาวซึ่งมีลักษณะสีขุ่นเลี้ยงชีพ ชาวบ้านจึงเรียกกันติดปากว่า “บ้านฮ่องขุ่น” (ร่องขุ่น) มาโดยตลอด ต่อมา ขุนอุดมกิจเกษมราษฎร์ (ต้นตระกูล เกษมราษฎร์) นำครอบครัวญาติมิตรเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านจนเพิ่มจำนวนมากขึ้นกว่า 50 หลังคาเรือน ท่านจึงได้ดำริที่จะสร้างสำนักสงฆ์ขึ้นภายในหมู่บ้าน เพื่อจะได้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชุมชน
วัดร่องขุ่นจึงถือกำเนิดครั้งแรก ณ ริมฝั่งน้ำแม่ลาวด้านทิศตะวันตกใกล้กับลำน้ำแม่มอญ ซึ่งอยู่เลยลำน้ำร่องขุ่นไปทางทิศใต้ประมาณ 500 เมตร คณะศรัทธาจึงได้ร่วมใจกันสร้างศาลาและกุฏิเป็นเรือนไม้แบบง่ายๆ เพื่อใช้ประกอบศาสนกิจ โดยชาวบ้านได้อาราธนานิมนต์พระทองสุข บาวิน จากวัดสันทรายน้อย หมู่ 13 เพื่อมาเป็นเจ้าอาวาสของ วัดร่องขุ่น
ต่อมาเกิดน้ำเซาะตลิ่งพังจนไม่สามารถรักษาศาสนสถานไว้ได้ มาจนถึงสมัยของคุณพ่อหมี แก้วเลื่อมใส เป็นผู้นำชุมชน ได้ร่วมกันกับชาวบ้านย้ายวัดมาตั้งอยู่ในบริเวณหัวนาของท่าน
ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามของถนนด้านทิศตะวันตกติดกับลำน้ำร่องขุ่น จากนั้นไม่นานพระทองสุขได้ย้ายออกจากวัด จึงเหลือเพียงสามเณร 3 รูป ในจำนวนนี้มีสามเณรทา ดีวรัตน์ ได้ลาสิกขาออกมาเป็นฆราวาส นายทาเป็นผู้ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ จึงได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน และสุดท้ายได้เป็นกำนันประจำตำบลบัวสลี (กำนันคนแรกของหมู่บ้านร่องขุ่น) กำนันทา ดีวรัตน์ เห็นว่าหมู่บ้านใหญ่ขึ้นผู้คนมากหลาย และ วัดวายังคงคับแคบ อีกทั้งเป็นที่ลุ่มใกล้ลำน้ำ
เมื่อถึงฤดูน้ำหลากสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน กำนันและคณะศรัทธาจึงได้ทำการย้ายวัดมาตั้งอยู่บนที่ดินในปัจจุบันนี้โดยนางบัวแก้ว ภรรยากำนันทา เป็นผู้ยกที่ดินให้สร้างวัดจำนวน 4 ไร่เศษ คณะศรัทธาได้ร่วมกันสร้างศาลาเรือนไม้ 1 หลัง เมื่อแล้วเสร็จจึงร่วมกันเดินทางไปอาราธนานิมนต์ พระดวงรส อาภากโร จากวัดมุงเมือง อำเภอเมืองเชียงราย มาเป็นเจ้าอาวาส โดยมีพระครูพุทธิสารเวที (แฮด เทววํโส) เป็นผู้แนะนำ
ในยุคสมัยพระดวงรส อาภากโร เป็นเจ้าอาวาส วัดเจริญรุ่งเรืองมาก มีพระจำพรรษาถึง 4 รูป สามเณรร่วม 10 รูป แม่ชี 2 คน กาลเวลาล่วงไปหลายพรรษา พระดวงรสได้ย้ายไปอยู่วัดอื่น ทำให้วัดร่องขุ่นขาดผู้นำคณะสงฆ์ คณะศรัทธาจึงได้ร่วมกันเดินทางไปพบเจ้าคณะอำเภอเมืองเชียงราย เพื่อขอพระภิกษุมาเป็นเจ้าอาวาส ท่านเจ้าคณะอำเภอฯ ได้ส่งพระอินตา มาอยู่จำพรรษา แต่อยู่ได้เพียงพรรษาเดียว พระอินตาก็ย้ายไปอยู่วัดอื่น
ยุคฟื้นฟู
และหลังจากที่ พระอินตา ได้ย้ายไปจำวัดอื่นทำให้ ทำให้วัดร่องขุ่นได้ขาดเจ้าอาวาส คณะศรัทธาชาวบ้านจึงได้เดินทางไปวัดสันทรายน้อยอีกครั้ง เพื่อขออาราธนานิมนต์ พระไสว ชาคโร มาเป็นเจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ. 2499 พระไสว ชาคโร เป็นพระที่คณะศรัทธาในหมู่บ้านและต่างแดนเลื่อมใสมาก ท่านได้สร้างอุโบสถในปี พ.ศ. 2507
ต่อมา พระไสว กำนันเป็ง ไชยลังกา พร้อมคณะศรัทธาอาราธนาพระพุทธรูปหินโบราณ จากหมู่บ้านหนองสระ อำเภอแม่ใจ มาเป็นพระประธานในอุโบสถ ปี พ.ศ. 2520 ได้รับวิสุงคสีมา ปี พ.ศ. 2529 ได้บูรณะซ่อมแซมกำแพงวัด ปี พ.ศ. 2533 สร้างหอฉัน และซุ้มประตูวัดด้านข้าง
ขณะที่วัดร่องขุ่นเจริญรุ่งเรืองด้วยคณะศรัทธาชาวไทยและชาวจีนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน และบ้างก็แยกย้ายกันออกไปอยู่ต่างถิ่น เมื่อร่ำรวยแล้วก็หวนกลับมาช่วยกันทำนุบำรุงรักษาวัดตามอัตภาพ ทั้งยังมีคณะศรัทธาต่างถิ่นที่เลื่อมใสศรัทธาในพระไสวเป็นจำนวนมาก ได้เดินทางมาร่วมทำบุญ ในการก่อสร้างศาสนสถานจนแล้วเสร็จทั้งหมด ด้วยความเป็นพระนักพัฒนา ปี พ.ศ. 2537
พระไสวได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูชาคริยานุยุต ในปี พ.ศ. 2538 พระครูชาคริยานุยุต ได้ทำการก่อสร้างศาลาอบสมุนไพรขึ้น เพื่อหวังให้การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ซึ่งเป็นโครงการใหญ่ของวัดเพื่อสังคม แต่ท่านได้อาพาธด้วยโรคอัมพฤกษ์และอัมพาตเสียก่อน
จึงล้มเลิกโครงการไป ในปีเดียวกันนี้คณะศรัทธาวัดร่องขุ่นมีความเห็นว่าอุโบสถที่สร้างมาร่วม 38 ปี อยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก ใช้ทำสังฆกรรมไม่ได้ กลับเป็นที่อยู่ของค้างคาวฝูงใหญ่ จึงคิดจะสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้น ดังนั้น เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2538 จึงได้ทำพิธีรื้อถอนอุโบสถ และประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ในการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538
และในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 ได้เริ่มลงมือก่อสร้างอุโบสถหลังปัจจุบัน แต่เสร็จเพียงแค่โครงสร้างตัวอุโบสถองค์กลางเท่านั้น ปัจจัยของวัดเริ่มขาดแคลนเนื่องจากประเทศไทยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่แตกเกิดขึ้น กระทั้งเมื่อปี พ.ศ. 2540 ได้มีอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จิตรกรผู้มีชื่อเสียงระดับชาติ ซึ่งเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของคนบ้านร่องขุ่นโดยกำเนิด ได้ปวารณาตนเข้ามาสานต่อเพื่อสร้างอุโบสถถวายเป็นพุทธบูชาหวังให้เป็น “งานศิลป์เพื่อ แผ่นดิน”
ด้วยปัจจัยของท่านเอง โดยพระครูชาคริยานุยุต และคณะศรัทธา ชาวบ้านไม่ต้องลำบากในการหาเงินมาสร้างวัดในภาวะเศรษฐกิจของชาติ ที่กำลังตกต่ำ อาจารย์เฉลิมชัย ได้เข้ามาทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมแบบแปลนตามปรารถนาของท่าน จนทำให้วัดร่องขุ่นสวยงามประทับใจผู้คนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่ได้มาเยี่ยมชม สลากไทพลัส และ กองสลากไท ขอขอบคุณที่ อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ได้สารต่อวัดจนสำเร็จได้และทำให้วัดร่องขุนเป็นที่รู้จักทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
ยุคปัจจุบัน
จากวัดร่องขุ่นที่ไม่มีใครรู้จัก ปัจจุบันได้กลายเป็นวัดที่มีชื่อเสียงเป็นที่เชิดหน้าชูตาของจังหวัดและประเทศชาติ โครงการก่อสร้างวัดเมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วจะประกอบด้วยหมู่สถาปัตยกรรมทั้งสิ้น 4 หลัง มีอุโบสถ ปราสาทบรรจุพระธาตุ พิพิธภัณฑ์ศาลาราย เมรุ หมู่กุฏิ ศาลาการเปรียญ และศาลารับรองแขกที่มาเยี่ยมชมวัด อาจารย์เฉลิมชัย ได้ทำการซื้อที่ดินเพิ่มเพื่อขยายบริเวณวัดทางด้านทิศใต้ จำนวน 1 ไร่ 200 ตารางวา และคุณวันชัย วิชญชาคร จากกรุงเทพฯ บริจาคที่ดินเพิ่มต่อจากที่ซื้ออีก 5 ไร่ 300 ตารางวา
รวมที่วัดในปัจจุบันเป็น จำนวน 10 ไร่ 100 ตารางวา เพื่อจะสร้างหมู่สถาปัตยกรรมทั้ง 4 ให้เสร็จสิ้น ตามจินตนาการของท่าน และอาจารย์เฉลิมชัย ยังได้ตั้งจิตอธิษฐานขอถวายตนรับใช้พระพุทธศาสนา เพื่อสร้างวัดร่องขุ่นตั้งแต่อายุ 42 ปี (พ.ศ. 2540) เป็นต้นไป จวบจนกว่าจะสิ้นลมอีกด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติม
วัดร่องขุ่น อยู่ในท้องที่ตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของอาจารย์ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ผู้ที่ออกแบบและสร้างวัดร่องขุน ด้วยความปรารถนาจะสร้างวัดให้เหมือนเมืองสวรรค์ที่มนุษย์สัมผัสได้ จุดที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก คือ พระอุโบสถ สีขาวบริสุทธิ์ที่งดงามราวปราสาทบนสวรรค์ด้วยสถาปัตยกรรมทางศาสนาร่วมสมัยและสะพานที่ทอดยาวขึ้นไปยังพระอุโบสถที่มีปริศนาธรรมซ่อนอยู่ผ่านประติมากรรมของนรกและสวรรค์อีกด้วย
อีกทั้งในบริเวณวัดยังมีจุดที่น่าสนใจไม่แพ้พระอุโบสถ นั้นคือ ห้องน้ำสีทองอร่ามที่มีความงดงามด้วยการออกแบบสถาปัตยกรรมแนวเดียวกันจนหลายคนเผลอยกมือไหว้ก่อนเข้าใช้ห้องน้ำ นอกจากนี้ยังมีหอศิลป์ฯ และ ห้องแสดงภาพ สามารถเข้าชมภาพศิลปะของ อาจารย์ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และจำหน่ายของที่ระลึกต่างๆ และประติมากรรมที่งดงาม ที่ตั้งกะจายอยู่ทั่วบริเวณวัด
โฆษณา