Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ช. ภูพินิจ
•
ติดตาม
28 ก.ค. 2023 เวลา 02:26 • ความคิดเห็น
การทำ” สิ่งที่ไม่ถูกต้อง” ในนามของ”ความถูกต้อง” เป็นเรื่องถูกต้องหรือไม่ถูกต้องอย่างไร ?
ผมมักใช้คำง่ายๆ ในการสื่อความ อย่าง ดี และ ชั่ว (แต่คนทั้งหลาย แม้พวกนักปราชญ์ก็ตามกลับพากันเห็นว่ามันไม่ใช่คำง่ายๆ นี่สิ) มันแสดงออกถึงสภาวะตรงข้ามกันได้ชัดเจน แม้คนจะบอกว่าโลกไม่ได้มีแค่ขาวกับดำ ผมเข้าใจสิ่งนั้นได้ แต่คนจะพูดอย่างนั้นให้มีความหมายก็ต้องแยกแยะขาวกับดำให้ออกก่อน
การทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ในนามของความถูกต้อง แล้วกลายเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ก็ต่อเมื่อ
การทำชั่ว ในนามของความดี แล้วกลายเป็นสิ่งที่ดี
(ให้ข้อความนี้เป็นสมการที่ 1)
แต่ใครบ้างจะเชื่อสมการนี้
และ ขณะเดียวกัน
การทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ในนามของความถูกต้อง แล้วกลายเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ก็ต่อเมื่อ
การทำชั่ว ในนามของความดี แล้วกลายเป็นสิ่งที่ชั่ว
(ให้ข้อความนี้เป็นสมการที่ 2)
สมการหลังนี้น่าเชื่อถือมากกว่า
แต่ว่าเราจะตรวจสอบมันได้อย่างไรล่ะ ว่ามันไม่ใช่แค่เราคิดไปเอง? มีสิ! วิธีการตรวจสอบความคิดของเรามีอยู่ มันก็คล้ายๆ กับการตรวจสอบสมการคณิตศาสตร์นั่นแหละ แต่ผมไม่เก่งคณิต จึงไม่สามารถอธิบายแบบนักคณิตศาสตร์ได้ อธิบายแบบผมล่ะดีกว่า
ตรวจสอบยังไง? เราก็ต้องอาศัยหลักการพื้นฐานบางอย่าง(เหมือนกันนักคณิตศาสตร์ใช้ในการแก้สมการของตนนั่นแหละ) แล้วหลักการอะไรล่ะที่เราจะใช้ในการแก้ปัญหาของเรา? ปัญหาของเราเกี่ยวข้องกับสองอย่างคือ 1) การกระทำ 2) คุณค่า (ซึ่งเป็นนามธรรมและมักจะทำให้เรางุนงง) ขอให้เราเริ่มที่ การกระทำก่อน
หลักการพื้นฐานของการกระทำคืออะไร? สิ่งนี้ต้องอาศัยความเชื่อพอๆ กับประสบการณ์ส่วนตัว คือ ก) การกระทำแบบใดๆ ก็ต้องได้รับผลในแบบนั้นๆ หรือไม่ก็ในทางตรงกันข้าม คือ ก") การกระทำแบบใดๆ จะได้รับผลแบบใดๆ ก็ได้ เราอาจยุบหลักการของการกระทำนี้ลงสู่หลักการที่เป็นพื้นฐานกว่าคือ "ความเป็นเหตุเป็นผล" กับ "ความไม่เป็นเหตุเป็นผล" ทีนี้ลองนำ ก) ไปแทนลงใน สมการทั้งสองของเรา จะพบว่า
สมการที่ 1 ไม่สามารถเป็นไปได้ เพราะ
เมื่อ มีการกระทำแบบใดๆ ก็ต้องได้รับผลแบบนั้นๆ แล้ว
การทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แล้วกลายเป็น(ได้รับ)สิ่งที่ถูกต้อง ย่อมเป็นไปไม่ได้
(เพราะมันขัดกับหลักการ)
สมการที่ 2 สามารถเป็นไปได้
และหากนำ ก") ไปแทนในสมการก็จะได้รับผลที่กลับกัน เพราะมันเป็นคำพูดที่แสดงถึงความตรงข้ามกันแค่นั้น
ทีนี้หันมาเรื่องของ 2) คุณค่า หลักการพื้นฐานของคุณค่าคืออะไร? ง่ายมาก คำถามพื้นฐานก็คือ "คุณค่า" สามารถเปลี่ยนแปลงตัวมันเองไปเป็นสิ่งที่ตรงข้ามมันได้หรือไม่? คำตอบของผมก็คือ "ไม่!" แต่คนอื่นอาจต้องไปหาคำตอบเอาเอง หมายความว่า ความดี จะไม่เปลี่ยนตัวเองเป็นความชั่ว ความชั่วก็จะไม่เปลี่ยนเป็นความดี ความงามก็จะไม่เปลี่ยนเป็นความอัปลักษณ์ ความอัปลักษณ์ก็จะไม่เปลี่ยนเป็นความงาม มันอาจเผยตัวออกมา และหลบหายไป แต่พวกมันไม่เคยเปลี่ยนเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับตน
ความคิดนี้คล้าย(เรียกได้ว่าความดิดเดียวกันเลยก็ได้)กับความคิดเรื่อง "ธาตุ" ในวิชาเคมี คือในระบบของเคมี "ทองแดง" ไม่เคยเปลี่ยนตัวเองเป็น "สำริด" แต่ว่าเมื่อทองแดงถูกนำไปผสมกับดีบุก สำริดจึงปรากฏออกมา
หากเรานำความคิดนี้ ไปแทนในสมการของเรา ก็จะได้ผลแบบ 1) การกระทำ คือ
เมื่อ คุณค่าไม่เปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นคุณค่าที่ตรงกันข้าม
ดังนั้น ความถูกต้อง จึงไม่เปลี่ยนเป็นความไม่ถูกต้อง
และ ความไม่ถูกต้อง ก็ไม่เปลี่ยนเป็นความถูกต้อง
ดังนั้น เมื่อ ความไม่ถูกต้อง จะไม่เปลี่ยนเป็นความถูกต้อง
ฉะนั้น การทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แล้วกลายเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
จึง เป็นไปไม่ได้
ทั้งหมดนี้คือการพิสูจน์ข้อความที่กำหนดมา แต่ว่า ปัญหาจริงๆ คือ ทำไมบางทีเรารู้สึกว่า "การทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ในนามของความถูกต้อง แล้วกลายเป็นสิ่งที่ถูกต้อง" จึงเป็นไปได้? หรือว่า จริงๆ แล้ว คุณค่าสามารถเปลี่ยนแปลงได้ และความถูกต้องสามารถเปลี่ยนเป็นความไม่ถูกต้อง และความไม่ถูกต้องก็สามารถเปลี่ยนเป็นความถูกต้องได้? รวมทั้งความยุติธรรมเป็นความอยุติธรรม? ความดีเป็นความชั่ว? ฯลฯ ใครจะคิดอย่างนั้นก็อาจจะได้ แต่ผมไม่เชื่ออย่างนั้น และคำอธิบายของผมมีอยู่ 2 อย่าง คือ
1) เราสับสนในชื่อของมัน (ในนามของความถูกต้อง) สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ไม่ใช่แค่กับสิ่งที่เป็นนามธรรม แม้สิ่งที่เป็นรูปธรรม ตัวอย่างเช่น "เงินเหรียญ" ที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ ความจริงมันไม่ใช่ "เงิน" แต่มันคือ "เหล็ก" แต่คิดว่าหลายคนยังคิดว่ามันคือ "เงินจริงๆ" หรืออย่างน้อยก็ต้องมีส่วนผสมของแร่เงินอยู่ในจำนวนมาก มันก็คงจะมีแหละ แต่คงไม่เท่ากับในสมัยก่อนที่เราใช้ "เงินจริงๆ" เป็นเงินตราในการแลกเปลี่ยน หากสมัยก่อนมีใครพูดว่าเราใช้เหล็กเป็นเงินตรา สมัยก่อนเราคงรู้สึกว่ากระจอกน่าดู
เรารู้ได้ว่ามันมีเหล็กมากกว่าเงินจากการเอาแม่เหล็กไปแตะมันดู ซึ่งมันจะติดกับแม่เหล็ก (ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เด่นชัดของเหล็ก) แต่หากจะอยากรู้ว่ามันมีส่วนผสมของธาตุอะไรบ้างในสัดส่วนเท่าไหร่นั้นเราก็คงต้องเอาไปถามนักเคมีที่มีความชำนาญในเรื่องนี้จริงๆ ผมคิดว่าการกระทำของมนุษย์ ก็คล้ายๆ กันนี่แหละ
2) สิ่งนั้นเป็นไปได้จริง (การทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ในนามของความถูกต้อง เป็นสิ่งที่ถูกต้อง) แต่ใช้คำไม่ถูกหมายความว่า ความสับสนไม่ได้อยู่ที่ "ในนามของความถูกต้อง" แต่อยู่ที่ "สิ่งที่ไม่ถูกต้อง" พูดให้เข้าใจง่ายที่สุดก็คือ สิ่งที่เราคิดว่า "ไม่ถูกต้อง" ในข้อความนี้ หากข้อความนี้เป็นจริง(ต้องย้ำตรงนี้หนักๆ) หมายความว่า สิ่งที่ไม่ถูกต้องนั้น "คือสิ่งที่ถูกต้อง" อยู่แล้วตั้งแต่ต้น
สิ่งสำคัญก็คือ เราจะต้องรู้อย่างแน่จัดด้วยตัวเราเองให้ได้ว่า อะไรคือถูกผิดชั่วดี? แน่นอนความรู้นี้ก็ต้องไม่ลืมความเปิดใจว่าความรู้เรื่องนี้ของเราอาจจะผิดด้วยเช่นกัน
1
ความคิดเห็น
ปรัชญา
การเมือง
บันทึก
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย