Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Supawan’s Colorful World
•
ติดตาม
28 ก.ค. 2023 เวลา 04:30 • ท่องเที่ยว
Pura Besakih .. อลังการแห่งเทวาลัย บาหลี
ปูรา เบซากิห์ (Pura Besakih) อลังการแห่งเทวาลัย บาหลี
บาหลี เกาะสวรรค์ที่มากด้วยอารยะธรรม ความศรัทธาในศาสนาอันแรงกล้า ความเชื่อเรื่องทวยเทพ ธรรมชาติ และปีศาจ ที่ฝังลึกอยู่ในจิตวิญญาณ ผสานกับชีวิตที่เรียบง่ายทว่าน่าสนใจ
ชาวบาหลีนับถือศาสนาฮินดูอย่างเหนียวแน่นผสมผสานกับความเชื่อเรื่องวิญญาณ … การมีโอกาสได้เที่ยวชมวัดวาในบาหลีจึงเป็นสิ่งที่มากด้วยคุณค่า และสามารถสัมผัสกับวิถีชีวิตของคนบาหลีได้อย่างลึกซึ้ง
วัดเบซากิห์ หรือเบซากีฮ์ (Pura Besakih) .. เป็นสถานที่ไฮไลท์สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของบาหลี เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองที่ใหญ่ที่สุด สำคัญที่สุด และศักดิ์สิทธิ์ที่สุดบนบาหลี ที่หากใครไปเที่ยวบาหลีแล้วต้องไม่พลาดด้วยประการทั้งปวง
วัดเบซากิห์ เป็น กลุ่ม ปุราในหมู่บ้านเบซากิห์ บนเนินเขาอากุงทางตะวันออกของบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย .. เป็นวัดที่สำคัญที่สุด ใหญ่และศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของศาสนาฮินดูแบบบาหลี และเป็นหนึ่งในวัดแบบบาหลี ที่มีวัดหลายวัดในบริเวณเดียวกัน และเกี่ยวข้องกัน
ต้นกำเนิดที่แน่นอนของวัดนั้นไม่ชัดเจน .. แต่ความสำคัญในฐานะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แน่นอนว่ามีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ .. ฐานหินของ Pura Penataran Agung และวัดอื่นๆ อีกหลายแห่งมีลักษณะคล้ายปิรามิดขั้นบันไดหินใหญ่ ซึ่งมีอายุย้อนไปอย่างน้อย 2,000 ปี
ที่นี่ถูกใช้เป็นสถานที่สักการะของชาวฮินดูตั้งแต่ปี 1284 เมื่อผู้พิชิตชาวชวากลุ่มแรกเข้ามาตั้งรกรากในบาหลี ในช่วงศตวรรษที่ 14 ถึง 18 มีการสร้างวัดและแท่นบูชาเพิ่มเติมมากมาย และในศตวรรษที่ 15 ปูรา เบซาร์กิ ได้กลายเป็นวัดประจำอาณาจักรของราชวงศ์เกลเกล ที่ทรงอำนาจ
เล่าลือกันมากว่า วัดนี้ มีมาเฟียคุม
.. แม้ปัจจุบัน ปูรา เบซาร์กิ จะอยู่ในเขตการางาเซ็ม .. แต่ว่ากันว่า ผู้ที่จัดการวัด เป็นลูกหลานของราชวงศ์กลุงกุง ซึ่งเป็นทายาทโดยตรงของอาณาจักรเกลเกล ทั้งนี้ทางจังหวัดบาหลีก็ช่วยดูแลวัดและงานพิธีของวัด …
คราวนี้ก็รู้แล้วนะคะว่า ทำไมที่วัดนี้จึงมีมาเฟีย ที่ใครๆกังขานักหนาว่าทำไมทางการจึงไม่จัดการกับพวกมาเฟียเหล่านี้เสียที …
เจเีย์ป่าซีก สบเข้าหลักขอลวัด เบซาร์กิ
ปูรา เบซาร์กิ .. ตั้งอยู่บนลาดเขาชันของ กูนุง อากุง บนความสูงราว หนึ่งพันเมตร เหนือระดับน้ำทะเล … วัดแห่งนี้ถือเป็นมารดรแห่งมวลวิหาร (Mother Temple) เนื่องจากเป็นสถานที่สวดบูชาที่ใหญ่และสำคัญที่สุดประจำเกาะ สร้างขึ้นราว ค.ศ. 8 และได้รับการขยายให้มากขึ้นเรื่อยๆในศตวรรษต่อๆมา จนมีขนาดเท่าที่เห็นในปัจจุบัน
จารึกโบราณระบุถึงเหตุการณ์ที่สำคัญของวัดในปี 1007 ซึ่งเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมสำหรับพระมเหสีของกษัตริย์อุทานายา ราชินีมเหนทราทัตตา ผู้สิ้นพระชนม์หนึ่งปีก่อนหน้านั้น
Pura Besakih เป็นวัดที่ประกอบด้วยวัด 23 แห่งที่ตั้งอยู่บนสันเขาที่ขนานกัน มีลานขั้นบันไดและบันไดขึ้นสู่ลานและประตูอิฐซึ่งนำไปสู่ยอดแหลมหลักหรือโครงสร้างพระเมรุซึ่งเรียกว่า Pura Penataran Agung ทั้งหมดนี้เรียงตัวเป็นแกนเดียวและออกแบบมาเพื่อนำบุคคลทางวิญญาณขึ้นไปและเข้าใกล้ภูเขาซึ่งถือว่าศักดิ์สิทธิ์
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์หลักของกลุ่มคือ Pura Penataran Agung ศูนย์กลางเชิงสัญลักษณ์ของวิหารหลักคือบัลลังก์ดอกบัวหรือปัทมาสนะซึ่งเป็นจุดรวมพิธีกรรมของทั้งองค์ มีขึ้นในราวศตวรรษที่สิบเจ็ด
การปะทุของภูเขาอากุงเป็นชุดในปี พ.ศ. 2506 ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 1,700 คน ยังคุกคามปุราเบซากิห์อีกด้วย ลาวาไหลพลาดเขตวัดเพียงไม่กี่เมตร ชาวบาหลีถือว่าการกอบกู้วัดนี้เป็นสิ่งมหัศจรรย์ และเป็นสัญญาณจากเทพเจ้าว่าพวกเขาต้องการแสดงพลังของตน แต่ไม่ทำลายอนุสาวรีย์ที่ผู้ศรัทธาชาวบาหลีสร้างขึ้น
ก่อนเดินทางมาถึงทางเข้าวัด เราตองจ่ายค่าเข้าชมที่ด่านแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ไกลมากจากปากทางเข้าวัด … เรียงรายไปตลอดทางลาดขึ้นเขาตลอดทางราว 1 กิโลเมตร เป็นร้านขายของที่ระลึก ซึ่งมีตั้งแต่ผ้าพันคอ โสร่ง เสื้อ และภาพวาดสวยๆ .. เพื่อประหยัดเวลา เราจึงใช้บริการมอเตอร์”ซด์รับจ้างให้พาขึ้นไปจนถึงลานทางเข้าวัด
ในที่สุดเราก็มาถึงลานด้านหน้า ซึ่งมีขั้นบันไดยาวเป็นทางขึ้น นำไปสู่ จันตี เบินตาร์ หรือประตูผ่าซีกทำด้วยหินแกรนิตสีดำ อันเป็นหนทางสู่เมรูสูงมุงหลังคาด้วยหญ้าสีดำเป็นชั้นๆลดหลั่นกันลงมา
ปูรา เบซาร์กิ มีวัดมากมายอยู่รวมกันราว 23 วัด รวมทั้งแท่นบูชาบรรพบุรุษของชาวบาหลีที่นับถือศาสนาฮินดูอีกหลายร้อยแท่น … ภายในวัดหลักๆจะมีแท่นบูชาขนาดใหญ่ ที่มี 3 บัลลังก์สูงสำหรับเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระศิวะ สดาศิวะ และบรมศิวะ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน แต่ละแท่นมีผ้าสีต่างๆผูกล้อมเป็นการแสดงความเคารพสักการะทวยเทพเหล่านั้นด้วย
เมรุ และแท่นบูชาทุกแห่งของทุกวัด จะมีลักษณะทรงสอบคล้ายภูเขา ตามความเชื่อของชาวบาหลีที่ว่า ทวยเทพและบรรพชนผู้สูงส่งจะประทับอยู่ที่ภูเขา และสัญลักษณ์เหล่านี้ก็เสมือนตัวแทนแห่งขุนเขาหรือที่ประทับของทวยเทพนั่นเอง
ที่ ปูรา เบซากิห์นั้น ผู้ที่ไม่ได้นับถือศาสนาฮินดู จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในตัววัด โดยเฉพาะบริเวณลานศักดิ์สิทธิ์ของวัด .. แต่มองเข้าไปภายในวัดได้ผ่านประตูใหญ่ หรือเดินไปรอบๆบริเวณหลักแล้วชะเง้อผ่านกำแพงก็สามารถมองเห็นความอลังการได้เช่นกัน
วัดที่ถือว่าสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในกลุ่มวัดทั้งหมดของที่นี่ คือ ปูรา เปนาตารัน อากุง เบซาร์กิ ที่อยู่ตรงกลาง โดยมีบันไดยาวนำไปสู่ จันดี เบินตาร์ หรือประตูผ่าซีกอันเรียบง่ายทำจากหินแกรหิตสีดำที่เปิดทางสู่เมรุสูงที่หลังคามุงด้วยใยตาลสีดำและตั้งอยู่บนฐานทรงขั้นบันได
ในทุกปีช่วงเดือนจันทรคติที่สิบ ตามปฏิทินบาหลี หรือช่วงระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายนของทุกปี ที่ปูรา เบซากิห์ จะจัดพิธีทางศาสนาที่สำคัญคือ พิธี บาคารา ตูรุน กาเบะห์ ซึ่งแปลว่า ทวยเทพเสด็จมาพร้อมเพรียงกัน
… งานนี้ จะมีศาสนิกชน และผู้เลื่อมใส หลั่งไหลมาจากทั่วเกาะบาหลีพร้อมเครื่องสักการะบูชาที่ประดิษฐ์อย่างวิจิตรสวยงามที่เทินๆไว้บนศีรษะ เพื่อนำมาสักการะทวยเทพและบรรพบุรุษที่เขาเคารพนั่นเอง ในขณะที่เบียดเสียดแย่งกันเข้าไปสู่ลานวัดชั้นในเพื่อสวดบูชา
สำหรับเกร็ดเล็กน้อยที่เป็นประวัติศาสตร์ของที่นี่ คือ ในปี 1963 ขณะที่ผู้คนกำลังวุ่นวายอยู่กับการเตรียมพิธีอกา ดาซา รูดา ซึ่งเป็นการบวงสรวงที่ยิ่งใหญ่ที่จัดขึ้นเพียงครั้งเดียวใน 1 ศตวรรษ ..
.. จู่ๆ ก็มีเปลวไฟลุกวาบขึ้นมาจากปากปล่องภูเขาไฟ และไม่นานภูเขาไฟก็สั่นสะเทือนกึกก้อง ซึ่งนับว่าผิดปกติสำหรับภูเขาไฟที่สงบมากว่าหนึ่งร้อยปี เหล่านักบวชกลับเห็นว่าเป็นสิ่งดี ที่บ่งชี้ว่ามีทวยเทพสถิตอยู่ที่ อูนุง กากุงจริงๆ … ผู้คนก็เลยยังเตรียมงานกันต่อไป
เมื่อพิธีอันยิ่งใหญ่นี้เริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม ควันดำหนาทึบก็พวยพุ่งขึ้นจากยอดเขา … จากนั้นไม่นาน กูนุง อากุง ก็ระเบิดปะทุขึ้นด้วยพลังอันมหาศาล
.. ผู้คนเสียชีวิตกว่าหนึ่งพันคน และทำลายหมู่บ้านไปนับร้อย ชั้นหนาของลาวาทับถมผืนดินจนทำประโยชน์ไม่ได้อยู่นานหลายปี…
** แน่นอนค่ะ ชาวบาหลีส่วนใหญ่ไม่คิดว่านี่เป็นเพียงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ แต่เห็นว่านี่เป็นการลงโทษจากทวยเทพที่มนุษย์ลบหลู่โดยจัดพิธีนี้ผิดเวลา
บาหลีเคยอยู่ภายใต้การปกครองของดัชต์ ก่อนที่ชาวบาหลีสามารถเรียกร้องอิสรภาพคืนมาหมู่เกาะแห่งนี้ยังเคยถูกปกครองโดยประเทศต่าง ๆของยุโรป แต่อารยธรรมต่างๆของยุโรปกลับไม่สามารถลบล้างวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวบาหลีลงได้ โดยเฉพาะความศรัทธาในศาสนา
.. ผู้คนชาวบาหลียังคงดำรงวัฒนธรรมดั้งเดิม มีขนบประเพณีที่ดึงผู้คนเข้าวัดอยู่เนืองๆ ทำบุญไหว้พระ บวงสรวงเทพและวิญญาณ นิยมทำบุญทำทานเป็นประจำสม่ำเสมอ
เมื่อไปเยือนวัดจึงมีโอกาสสูงที่นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับบรรยากาศที่ชาวบ้านจะรวมตัวกัน นำผลไม้ ดอกไม้ เครื่องสักการบูชาไปวัด เพื่อถวายแด่องค์เทพที่พวกเขาเคารพเชื่อถือ
ในระหว่างการเดินชมและถ่ายภาพ ปรากฏว่ามีขบวนบุญของชาวบ้านแห่ขึ้นมาพอดี ฉันชอบริ้วขบวนที่สวยงาม … โชคดีจัง คือสิ่งที่ฉันรำพึงกับตัวเอง ในขณะะที่ใช้กล้องเก็บภาพขบวนแห่ …
ชาวบ้านในเครื่องแต่งกายพื้นเมืองสีสันสดใสทั้งชายและหญิง ผู้หญิงประดับประดาเนื้อตัวด้วยเครื่องประดับตามฐานะ เดินทยอยไปทำบุญ เมื่อผสมกับการบรรเลงเครื่องดนตรีที่มีจังหวะไพเราะแต่แปลกหู ดูจะช่วยเพิ่มบรรยากาศของงานเฉลิมฉลองให้มีความสนุกสนาน กึ่งๆพิธีการอยู่ไม่น้อยในสายตาของคนต่างถิ่นอย่างพวกเรา ... จึงไม่มีใครลืมที่จะเก็บภาพบรรยากาศที่พิเศษนี้มาเป็นที่ระลึก
ชาวบาหลีมีชีวิตแนบแน่นอยู่กับขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ประเพณีหนึ่งที่น่าสนใจคือประเพณีบูชาเทพเจ้าและทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพชนที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งถือปฏิบัติปีละ 2 ครั้ง
ในวันที่มีประเพณีดังกล่าว หญิงชาวบาหลีจะเอาอาหารและขนมใส่พานเทินศีรษะเดินไปเทวาลัย เห็นแล้วน่าทึ่งว่าทำไมจึงเทินสิ่งของได้มากมายอย่างนั้นโดยไม่ตกหล่นเลย … ที่น่าแปลกก็คือ มีแต่ผู้หญิงเท่านั้นที่เทิน ไม่มีผู้ชายทำเช่นนั้นเลย
ใครบางคนบอกว่า … เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ให้ผู้หญิงเป็นฝ่ายเทิน สิ่งของบนศีรษะยิ่งมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งแสดงฐานะของผู้เทินเท่านั้น ผู้หญิงบาหลีจึงถูกหัดให้เทินของบนศีรษะตั้งแต่เด็กๆ และเทินไปจนแก่ .. ฉันเห็นผู้หญิงบาหลีทั่วๆไปรูปร่างดีมาก คนอ้วนไม่เจอเลยค่ะ และการที่รับการฝึกเรื่องเทินของบนศีรษะตั้งแต่เด็ก เลยทำให้หาคนหลังโกงยาก
ของบูชาที่ใส่พานเทินบนศีรษะนั้น ประกอบด้วยผลไม้ประจำถิ่นเป็นส่วนใหญ่ เช่น แอปเปิ้ล ชมพู่ กล้วย จัดใส่พานรวมกับขนมและดอกไม้ แต่งด้วยใบมะพร้าวและใบกล้วยสานเป็นรูปทรงต่างๆอย่างงดงาม … สำหรับขนมนั้นก็เป็นขนมซึ่งทำเป็นพิเศษสำหรับพิธีนี้ มีหลายชนิดที่คล้ายกับขนมทางปักษ์ใต้บ้านเราใช้ทำบุญเดือนสิบ เช่น ขนมท่อนใต้ ขนมลา ข้าวพอง ถั่วตัด งาตัด ซึ่งล้วนมีคามหมาย
สำหรับนักท่องเที่ยวอย่างเราที่ต้องการตามไปดูในสถานที่ที่เขาทำพิธี ก็ต้องนุ่งโสร่งและมีผ้าคาดเอว .. เราเตรียมมาด้วย จึงไม่มีปัญหาอะไร
https://en-m-wikipedia-org.translate.goog/wiki/Besakih_Temple?_x_tr_sl=en&_x_tr_tl=th&_x_tr_hl=th&_x_tr_pto=sc
บันทึก
1
1
3
1
1
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย