28 ก.ค. 2023 เวลา 11:48 • ประวัติศาสตร์
ผมรู้จักนิทานชาดกเรื่องหนึ่งในหนังสือรวบรวมนิทานชาดกด้วยสำนวนแบบชาวบ้านที่ชื่อว่า "พระเจ้า 500 ชาติ" โดย ปุ้ย แสงฉาย สำนักพิมพ์ ส. ธรรมภักดี (เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์อย่างหยาบที่สุด แต่ภูมิปัญญาในนั้นกลับเกินกว่าหน้าตาหนังสือมาก) ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงนิทานให้ภิกษุหนุ่มๆ ฟังเรื่องโทษของหญิง ในหนังสือเล่มนั้นอ้างชื่อชาดกเรื่องนี้ว่า "คุณชาดก" ใน "อสัตนิบาต"
2
ในนั้นเล่าถึง "มารยาหญิง 40 อย่าง" คือกิริยาต่างๆ ที่ผู้หญิงทำ เพื่อให้ตัวเองดูน่ารัก เป็นต้นว่า "ทำเอี้ยวกาย, ทำก้ม, ทำกรีดกราย(ก็อยากเห็นเหมือนกันว่าเป็นยังไง?), ทำอาย, เล่นกับเด็ก, ให้เด็กจูบ ฯลฯ" เยอะแยะไปหมด
1
แล้วก็มี "อาการของหญิงที่นอกใจสามี" อีก 25 อย่าง รวมกับ "อาการที่หญิงทำเพื่อนำความไม่ดีมาให้" อีก 9 อย่าง รวมทั้งหมดนี้ก็ยังไม่ได้ครบ 100 แต่ว่าหากรวมข้อเสียต่างๆ ของหญิงในนิทานเรื่องนั้นก็คงจะเกินร้อยเลยทีเดียว
แต่ที่ว่ามานี้ก็ไม่ได้ทำให้รู้ว่า "มารยาหญิงร้อยเล่มเกวียน" หมายถึงอะไร และมาจากไหน ฉะนั้น ผมเดาเองดีกว่า
จำนวนตัวเลขของโบราณนั้นมักไม่ได้หมายถึงจำนวนจริงๆ ซักเท่าไหร่ เหมือนคำว่า "โจรห้าร้อย" ซึ่งเป็นคำในชาดกอีกเหมือนกัน คือในนิทานนั้นจำนวน 500 บางทีดูหมายถึงจำนวนจริงๆ แต่บางทีหมายถึงเพียง "คณะหนึ่ง" โจรห้าร้อย ภิกษุห้าร้อย กองเกวียนห้าร้อย เหมือนจะบอกจำนวนจริงๆ แต่เมื่อพิจารณาจากบริบทสร้อย "ห้าร้อย" พวกนี้มักจะมีความหมายเพียงว่า "จำนวนมาก" แค่นั้นเอง
1
แต่ทีนี้เมื่อเรานำมาใช้โดยทั่วไป(คือนอกบริบทของนิทาน) เหมือนเวลาตัวละครซักตัวด่าตัวละครอีกตัวหนึ่งด้วยสำนวนโบราณๆ ว่า "อ้ายโจรห้าร้อย!" ห้าร้อยในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงจำนวนของโจรเสียแล้ว หากหมายถึงความป่าเถื่อนโหดร้ายของโจร (ซึ่งมีแค่ 1 โจรก็ได้ ไม่ต้อง 500 โจร)
ฉะนั้นอาจเป็นไปได้ที่ "ร้อยเล่มเกวียน" นั้นก็มีความหมายเดียวกันว่า "จำนวนมาก" แต่ก็ยังไม่รู้อยู่ดีว่าทำไมถึงเป็น "ร้อยเล่มเกวียน"
แต่ก็มีกจะมีนิทานที่เล่าถึงพ่อค้าเกวียน ที่อาศัย "คาราวาน" เกวียนไปทำการค้า และเมื่อจะพูดถึงจำนวนเกวียนเหล่านี้ก็มักจะใช้ว่า "ห้าร้อยเล่มเกวียน" คือเกวียน 500 คัน ไม่ใช่แค่ 100 คัน ทีนี้ "มารยาหญิง" อาจจะไม่ได้มีแค่ "100 เล่มเกวียน" แต่ถ้าจะพูดให้ถูกอาจจะมีถึง "500 เล่มเกวียน" เลยทีเดียว 😱
แต่ว่า "มารยา" นั้นก็ไม่ใช่สิ่งของ จะบรรทุกใส่เกวียนก็กระไรอยู่ ผมคิดว่าที่บรรทุกใส่เกวียนนั้นไม่ใช่ "มารยาหญิง" หรอก แต่เป็นตัว "หญิง" เอง
ทีนี้เมื่อใช้สำนวนนี้ ก็มักใช้ในความหมายที่ว่าหญิงนั้นกำลังล่อลวงชายอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยมารยาของตน แล้วก็ลองจินตนาการดูว่า หากชายคนหนึ่งกำลังถูกหญิงที่เพียบพร้อมด้วย "ร้อยเล่ห์มารยา" จำนวนถึง "ร้อยเล่มเกวียน" มาโอ้โลมปฏิโลมอยู่อย่างนั้น ชายใดก็ตาม เมื่อโดนอย่างนั้น ไม่หัวใจวายตายก็ให้มันรู้กันไป!
1
โฆษณา