28 ก.ค. 2023 เวลา 13:41 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ANAN

ท่านขึ้นมาเราดีใจ​ ท่านกลับลงไปเราคาดไม่ถึง...😅
1
การฟ้องร้องของโครงการแอชตัน อโศก
คดีที่ 1 : สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่มีการยื่นฟ้องผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กทม., ผู้อำนวยการเขตวัฒนา ที่มีการออกใบอนุญาตให้บริษัทอนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด ดำเนินโครงการสร้างคอนโดมิเนียมหรูแอชตัน อโศก โดยไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งเมื่อปลายปี 2565 ได้มีผลสรุปของคดีนี้ ที่มีการแนะนำให้ทางโครงการไปหาทางเข้าออกใหม่โดยไม่ต้องรื้อตึก หรืออาจจะรื้อแค่บางส่วน แต่ต้องไปรอฟังคำชี้ขาดของศาลปกครองสูงสุด
2
คดีที่ 2 : นายศรีสุวรรณ จรรยา จากสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน พร้อมด้วยพวกรวม 16 คน ได้ยื่นฟ้องต่อ ผู้อำนวยการเขตวัฒนาที่ 1, ผู้อำนวยการสำนักการโยธาที่ 2, ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ 3, ผู้ว่าการรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ที่ 4, และคณะกรรมการผู้ชำนาญการ พิจารณารายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านอาคาร จัดสรรที่ดิน และบริการชุมชน ที่ 5
2
ฐานละเลยต่อหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย โดยร่วมกันออกคำสั่งอนุมัติ หรือ อนุญาตให้ผู้ประกอบการเอกชน ให้ บริษัท อนันดา เอ็ม เอฟ เอเชีย อโศก จำกัด, บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ทู จำกัด ก่อสร้างคอนโด แอชตัน อโศก ซึ่งละเมิดสิทธิชุมชนและความเป็นอยู่ส่วนบุคคล ด้วยการปล่อยให้มีการปิดกั้น หรือ ใช้ประโยชน์ถนนสาธารณะนอกวัตถุประสงค์ของกฎหมาย
ซึ่งในคดีนี้ เป็นคดีที่ใหญ่กว่า และชี้เป็นชี้ตายถึงการอยู่รอดของอาคารแอชตัน อโศก โดยที่ในตอนแรก ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนใบรับหนังสือแจ้งความประสงค์ก่อสร้าง ดัดแปลงรื้อถอนและเคลื่อนย้ายอาคาร หรือเปลี่ยนแปลงการใช้อาคาร และมีผลย้อนหลังถึงวันออกหนังสือทุกฉบับ และทาง บ.อนันดา ก็ได้ฟ้องต่อจนไปถึงศาลปกครองสูงสุด
ซึ่งเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 ศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษายืนตามศาลปกครองกลาง ให้เพิกถอนใบแจ้งหรือใบอนุญาตคอนโดแอชตัน อโศก ทุกใบ มีผลย้อนหลังตั้งแต่ปี 2558 โดยศาลปกครองสูงสุด ได้วินิจฉัยว่า ที่ดินของ รฟม. ที่เวนคืนมา ไม่อาจนำมาให้บริษัทหรือเอกชนทำโครงการได้
6
โฆษณา