30 ก.ค. 2023 เวลา 23:00 • ประวัติศาสตร์

เเมวที่อยู่ระหว่างชีวิตเเละ....ความตาย?

The cat between life and dead
วันนี้สาระ?
จะหยิบยกเรื่องราวของเเมว สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมตัวเล็กๆนี้ที่ไม่ธรรมดา ว่าเพราะเหตุใดกันมันจึงถูกเรียกว่า "The cat between life and dead" เเละต้นกำเนิดของมันมาจากที่ใด
มาเริ่มด้วยต้นกำเนิดของมัน
หากจะเล่าต้องย้อนกลับไปในปี ค.ศ.1887
แอร์วีน ชเรอดิงเงอร์ มีชื่อเต็มว่า แอร์วีน รูด็อล์ฟ โยเซ็ฟ อเล็คซันเดอร์ ชเรอดิงเงอร์ เกิดที่ Erdberg ในกรุงเวียนนา (Vienna) ประเทศออสเตรีย (Austria) เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม เป็นบุตรชายเพียงคนเดียวของ Rudolf Schrödinger และ Georgine Emilia Brenda ซึ่งเป็นลูกสาวของ Alexander Bauer ศาสตราจารย์แห่งภาควิชาเคมีของ the Technical College of Vienna
ในช่วงวัยเยาว์ของเขานั้น
ความสนใจอันหลากหลายของชเรอดิงเงอร์ เริ่มต้นมาจากการศึกษา Akademisches Gymnasium เขาไม่เพียงแต่สนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ แต่ยังให้ความสนใจอย่างมากเกี่ยวกับ ศาสนาตะวันออก ไวยากรณ์โบราณและความสวยงามของบทประพันธ์ของเยอรมัน อีกทั้งเรียนภาษาอังกฤษกับยายของเขาซึ่งเป็นคนอังกฤษอีกด้วย และที่สำคัญคือเขาเป็นคนไม่ชอบการเรียนโดยใช้การจดจำข้อมูลและการเรียนจากหนังสือ
ในระหว่างปี ค.ศ. 1906 - 1910 ชเรอดิงเงอร์ เข้าศึกษาที่เวียนนา กับ Franz Serafin Exner (นักฟิสิกส์ชาวออสเตรีย : ค.ศ. 1849 - 1926) และ Friedrich Hasenöhrl (นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรีย : ค.ศ. 1874 - 1915) และฝึกงานกับ Karl Wilhelm Friedrich "Fritz" Kohlrausch เพื่อนของเขาด้วย จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1911 ชเรอดิงเงอร์กลายมาเป็นผู้ช่วยของ Franz Exner ใน University of Vienna ประเทศออสเตรีย
ในช่วงวัยกลางคนของเขานั้น
ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้นจึงทำให้การศึกษาวิทยาศาสตร์ของเขานั้นหยุดชะงักลง
หลังจาก ปี ค.ศ. 1920 ชเรอดิงเงอร์ได้เปลี่ยนไปเป็นผู้ช่วยเเละศาสตราจาร์ยในหลากหลายมหาวิทยาลัย
เเละย้ายไปยัง University of Zurich ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในปี ค.ศ. 1922
ชเรอดิงเงอร์ ตีพิมพ์ผลงานที่มีชื่อว่า "Quantisation as an Eigenvalue Problem" ในปี ค.ศ. 1926 ซึ่งถือเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ของเขา โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับกลศาสตร์คลื่น
ปี ค.ศ. 1927 เข้าร่วมงานกับมัคส์ พลังค์ ที่ Friedrich Wilhelm University ในกรุงเบอร์ลิน (Berlin) ประเทศเยอรมัน ซึ่งขณะนั้นกลายเป็นศูนย์กลางความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์
แต่อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 1933 เขาตัดสินใจย้ายออกจากเยอรมัน เนื่องจากมีความคิดต่อต้านในลัทธินาซี (Nazi) โดยเขาได้ย้ายไปเป็นครูที่ Magdalen College ใน University of Oxford ประเทศอังกฤษ ซึ่งต่อจากนั้นไม่นาน เขาก็ได้รับรางวัลโนเบลร่วมกับพอล ดิแรก (Paul Dirac) สำหรับผลงานเกี่ยวกับทฤษฎีอะตอมและกลศาสตร์ควอนตัม (quantum mechanics)
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาสมการคลื่นของกลศาสตร์ควอนตัม หรือสมการคลื่นของชเรอดิงเงอร์ (Schrödinger equation) นั่นเอง
ในปี ค.ศ. 1933 ชเรอดิงเงอร์ ได้รับเชิญให้ไปบรรยายที่ Princeton University ในนิวเจอร์ซี (New Jersey) ประเทศสหรัฐอเมริกา และถูกเสนอให้รับตำแหน่งประจำที่นี่ แต่เขาก็ปฏิเสธ ต่อมาในปี ค.ศ. 1934 เขาจึงตกลงรับตำแหน่งที่ University of Graz ในประเทศออสเตรีย และตำแหน่งในภาควิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยอัลลาฮาบาด (Allahabad University) ในอินเดีย
จนกระทั่งในปี 1935 หลังจากได้ติดต่อคบหาและเป็นเพื่อนกับอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
เขาจึงได้เสนอแนวคิดการทดลองในจินตนาการ เรื่อง แมวของชเรอดิงเงอร์
ใช่เเล้ว เเมวของชเรอดิงเงอร์ หรือ เเมวที่เราจะพูดถึงมัน ต้นกำเนิดมันมาจากการทดลองของนักฟิสิกส์อนุภาค
เหตุใดจึงถูกเรียกว่า " เเมวที่อยู่ระหว่างชีวิตเเละ....ความตาย? "
มันเกิดจากหลักการของการทดลองนี้นั่นเอง
การทดลองนี้ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อตีความกลศาสตร์ควอนตัม
โดยอธิบายการทดลองให้เข้าใจอย่างง่ายๆว่า
ในกล่องเเบบปิดจะมีเเมวอยู่ตัวหนึ่งกับของข้างใน คือ
อุปกรณ์วัดกัมมันตภาพรังสี สารกัมมันตภาพรังสี ขวดยาพิษ เเละฆ้อน ถ้าสารกัมมันตภาพรังสี เกิดการสลายตัว อุปกรณ์ตรวจจับได้ จะปล่อยฆ้อนลงมาทุบขวดยาพิษให้แตก เเละทำให้แมวตาย เเต่หากสารกัมมันตภาพรังสีไม่เกิดการสลายตัว เเมวจะมีชีวิตอยู่จึงทำให้สถานะของเเมวนี้นั้นเป็นดั่งซอมบี้ เเต่ถึงกระนั้นบทสรุปนี้ยังทำให้เกิดการถกเถียงกันของนักวิทยาศาตร์ทั่วโลก
เเต่ถึงกระนั้นมันยังทำให้เเมวตัวนี้นั้นถูกเรียกว่า
"เเมวที่อยู่ระหว่างชีวิตเเละ....ความตาย? " นั่นเอง
โฆษณา