31 ก.ค. 2023 เวลา 03:13 • ความคิดเห็น

ข้อสังเกตจากการเดินทางหลังโควิด

หลังจากโลกหยุดหมุนไปสองสามปีจากปัญหาโควิด หลายๆ คนเริ่มกลับมาเดินทางไปต่างประเทศได้อีกครั้ง ผมว่ามีหลายเรื่องที่น่าสังเกตว่าโลกหลังโควิดเปลี่ยนไปจริงๆ โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีมาช่วยกับปัญหาช่วงโควิด และปัญหาการขาดแรงงาน และค่าแรงในภาคบริการในหลายประเทศที่เพิ่มขึ้นเยอะจากปัญหาเงินเฟ้อ
3
จริงๆ โลกก็พัฒนาไปเรื่อยๆ แหละ แต่พอไม่ได้เดินทางนานๆ เลยเห็นความเปลี่ยนแปลง และความแตกต่างเมื่อเทียบกับบ้านเราค่อนข้างเยอะ
3
ผมมีข้อสังเกตจากการเดินทาง จดไว้คิดต่อเล่นๆ บางคนอาจจะไม่รู้สึกว่าแปลกอะไรมากนะครับ และคิดว่าอีกสักพักคงเห็นเทรนด์พวกนี้มากขึ้นในบ้านเรา
1. สังเกตได้ว่าร้านอาหารหลายแห่งบ่นว่ามีคนไม่พอ และค่าแรงแพง และเห็นการใช้เทคโนโลยี ในการเพิ่มประสิทธิภาพของแรงงานกันเยอะขึ้น และใช้คนวานน้อยลง แต่ลูกค้าไม่ต้องรู้สึกว่าต้องรอพนักงานว่าง
efficiency คือ key word สำคัญ
3
2. ร้านอาหารที่เป็น chain ใหญ่ๆ อย่าง McDonald’s หรือแม้แต่ร้านเล็กๆ เริ่มมีการติดตั้งเครื่องสั่งอาหารกันมากขึ้น เพื่อให้พนักงานหน้าร้าน เสียเวลากับลูกค้าในการเลือกอาหารน้อยลง และมีเวลามากขึ้นในการเตรียมอาหาร สังเกตได้ว่า เวลาเราไปยืนหน้าเค้าเตอร์สั่งอาหาร กว่าเราจะเลือก และสั่งอาหารจนเสร็จ ใช้เวลานานมาก พนักงานสามารถเอาเวลานั้นไปใช้ในการทำอย่างอื่นได้เยอะเลย หรือสามารถจ้างคนน้อยลง แต่รับลูกค้าได้เพิ่มขึ้น
จริงๆ อันนี้ ญี่ปุ่นก็ใช้ระบบตู้ขายตั๋วหน้าร้านมานานแล้ว เรียกว่ามาก่อนกาล
4
3. ร้านอาหารหลายร้านมี ipad ไว้ให้บริการสั่งอาหาร แต่ผมว่าไม่ค่อยจำเป็นแล้ว เพราะเกือบทุกคนมี smartphone หมดแล้ว หลายๆร้าน มีการแปะ QR code บนโต๊ะ ให้ลูกค้าสั่งอาหาร และจ่ายค่าอาหาร ก่อนกิน เพื่อลดเวลาในการสั่งอาหาร เช็คบิล (ลดงานของพนักงานอีกแล้ว) ลูกค้าไม่ต้องรอเรียกพนักงานให้หงุดหงิด พนักงานแค่ทำหน้าที่ตรวจสอบว่าอาหารส่งครบตามสั่ง และไม่ต้องคอยตามว่าลูกค้าที่เดินออกไปจ่ายเงินแล้วหรือยัง เพราะทุกคนต้องจ่ายก่อนได้รับอาหาร
4
แต่ไม่ค่อยเห็นการใช้ หุ่นยนต์ในการเสริฟอาหารแบบบ้านเราเท่าไรเลย สงสัยจำกัดที่สถานที่
Supermarket ไม่ต้องพูดถึงครับ รอบนี้ไม่เจอคนเก็บเงินเลย จ่ายเองกับเครื่องล้วนๆ ซึ่งแปลว่าระบบตรวจสอบและ honor system สำคัญมาก
1
4. สังเกตว่าบัตรปิ๊บ หรือบัตร contactless ของบัตรเครดิต/เดบิต ได้รับความนิยมขึ้นเยอะมาก (ทั้งๆที่มีมานานมากแล้ว) ไม่รู้เพราะโควิดหรือเปล่า แต่เห็นได้ชัดว่าในหลายๆ ประเทศ การแพร่หลายของบัตรปิ๊บ ทำให้การใช้จ่ายธุรกรรมขนาดเล็กอย่างซื้อกาแฟ กินข้าว ขึ้นรถไฟ เกิดขึ้นง่ายขึ้นเยอะ
2
แม้แต่การจ่ายค่ารถเมล์ รถไฟ ก็ไม่ต้องใช้บัตรเฉพาะของระบบ ทำให้ง่ายกับนักท่องเที่ยวขึ้นเยอะ ไม่ต้องซื้อหาบัตรเฉพาะของระบบเลย บ้านเรารถใต้ดินใช้ได้แล้ว ก็อยากให้ระบบอื่นๆใช้ได้ด้วย
2
5. อันนี้เป็นข้อสังเกตจากคนที่เพิ่งเคยเห็นระบบขนส่งแบบนี้เป็นครั้งแรก เขาอาจจะเป็นอย่างนี้กันมานานแล้ว แต่นึกยังไม่ออกเรื่องการแบ่งผลตอบแทนในการลงทุน และใครเป็นคนออกเงินในการลงทุนของระบบขนส่ง
1
การระบุตัวตนได้จากระบบที่ใช้บัตรร่วมกัน (interoperability) ทำให้การใช้ระบบขนส่งมวลชน ขึ้นรถไฟ ต่อรถราง ขึ้นรถเมล์ต่อเรือ จะขึ้นกี่รอบก็ไม่จำเป็นต้องเก็บต่อเที่ยว และไม่ต้องจ่าย “ค่าเข้าระบบ” ใหม่ เพราะระบบสามารถบอกได้เลยว่าคนนี้ขึ้นจากไหน ไปไหน ตอนกี่โมง
3
อย่างใน sydney ค่าเดินทางคิดตามระยะทาง ไม่ว่าเดินทางด้วยวิธีไหนก็เท่ากันหมด และถ้าลงและขึ้นต่อภายในระยะเวลา (เช่น หนึ่งชั่วโมง) ก็ไม่ต้องเริ่มจ่ายหมด จ่ายแค่ส่วนเพิ่มถ้าเกินจากระยะทางที่กำหนดไว้ ทำให้คิดราคาเริ่มต้นได้แพงขึ้น แต่คนเดินทางสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายต่อวันได้ ไม่ว่าจะเดินทางด้วยระบบไหนก็ตาม
6. ลองคิดถึงข้อมูลปริมาณมหาศาล ที่ระบบสามารถออกแบบได้เลยว่าคนส่วนใหญ่เดินทางจากไหนไปไหน (ไม่ใช่แค่จากสถานีรถไฟไหนไปสถานีไหน) ควรต้องปรับบริการของระบบอย่างไร
2
7. ระบบขนส่งมวลชนในหลายเมือง integrate ตัวเองกับ google maps ได้แบบ seamless สามารถหาวิธีเดินทางได้อย่างสะดวก เช็คเวลาเดินทางได้อย่างแม่นยำ และเช็คตำแหน่งของรถได้อย่าง real time รู้ได้เลยว่าอีกกี่ป้ายต้องลงแม้ไม่รู้ชื่อถนน ทุกป้ายรถเมล์มี QR code ที่สามารถบอกเบอร์รถเมล์ที่ผ่าน เส้นทางที่จะไป ตำแหน่งของรถเมล์ และเวลาที่ต้องรอได้ เรียกว่าไปถึงครั้งแรกก็ขึ้นรถเมล์เที่ยวได้แบบคนท้องถิ่นเลย
2
แต่ทำไมรถเมล์ไทยยังทำไม่ได้.....
4
ในหลายประเทศ ระบบรถไฟดั้งเดิม ที่เคยถูกใช้เพื่อการขนส่งระหว่างเมือง ถูกนำมาใช้เป็นระบบขนส่งมวลชนในเมือง เสริมกับระบบรถใต้ดินและรางเบาจนแยกไม่ออก
8. สังเกตได้ว่าในหลายประเทศ คนงานได้รับการดูแล ดีมาก คนงานไม่ว่างานอะไร เก็บขยะ ตัดหญ้า ปลูกต้นไม้ ก่อสร้าง มีอุปกรณ์และระบบความปลอดภัยเต็มที่ ทุกคนใส่รองเท้าที่เหมาะสม มีเครื่องป้องกันเสียง ถุงมือแว่นตาป้องกัน และสถานที่ก่อสร้างมีรั้วรอบขอบชิด มีเส้นทาง detour ชัดเจน ไม่ต้องกลัวไม้กั้นจะหล่นใส่คนเดิน หรือสะพานจะหล่นใส่รถวิ่ง
4
มองย้อนกล้บมาบ้านเรา….
ทั้งๆ ที่ผมว่าต้นทุนการก่อสร้าง และบริการสาธารณะพวกนี้อาจจะไม่ได้ต่างกันมาก แค่เราใช้คนเยอะไป ดูแลสภาพการทำงานและความปลอดภัยน้อยไป และใช้เครื่องจักรอุปกรณ์น้อยไปหรือเปล่า ทำให้เราดูแลคนงานได้ไม่ดี หรือ “ส่วนต่าง” มันเยอะไปหน่อย
โฆษณา